
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
การพัฒนาวิธีการมาตรฐานในห้องปฏิบัติการสำหรับการวิเคราะห์หาปริมาณโลหะในตัวอย่างฝุ่น PM2.5 ด้วยเทคนิค ICP-OES
พิชิต พรมเสนใจ
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
1495-64-SCI-CMRU
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนางานปฏิบัติทดลองที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์หาปริมาณโลหะในตัวอย่างฝุ่น ประกอบด้วยขั้นตอนการย่อยตัวอย่าง การตรวจวัดด้วยเทคนิค ICP-OES และการตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีวิเคราะห์ จากการเปรียบเทียบวิธีการย่อย 5 วิธีที่แตกต่างกันพบว่า การย่อยตัวอย่างพื้นที่ขนาด 17.43 cm2 ด้วยกรดผสม 16.75% กรดไฮโดรคลอริกและ 5.55% กรดไนตริก ปริมาตร 20 มิลลิลิตร และให้ความร้อนด้วยเครื่องให้ความร้อนแบบหลุม และปรับปริมาตรสุดท้ายเป็น 10 มิลลิลิตร เป็นวิธีการย่อยที่เหมาะสมที่สุด สำหรับการตรวจสอบความใช้ได้ของการวิเคราะห์หาปริมาณโลหะจำนวน 17 ธาตุ พบว่า ช่วงความเป็นเส้นตรงอยู่ระหว่าง 0.001-10 ppm มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r2) อยู่ในช่วง 0.9966-0.9998 ค่าขีดจำกัดของการตรวจพบ (LOD) อยู่ในช่วง 0.012-0.154 ppm และขีดจำกัดของการวัดเชิงปริมาณ (LOQ) อยู่ในช่วง 0.041-0.494 ppm ยกเว้นธาตุ Na ค่าความแม่นแสดงด้วยค่าร้อยละของการกลับคืน (%Recovery) อยู่ในช่วง 91-110% ยกเว้นธาตุ Al, Ca, K, Mg และ Na ค่าความเที่ยงแสดงด้วยค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสัมพันธ์ (%RSD) อยู่ในช่วง 1.98-13.03% ยกเว้น Ca, K, Na และ Pb วิธีที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นวิธีการมาตรฐานในห้องปฏิบัติการสำหรับการวิเคราะห์หาปริมาณโลหะในตัวอย่างฝุ่น PM2.5 ด้วยเทคนิค ICP-OES ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Abstract
This research aimed to develop a method for determination of metals in PM2.5 samples, including digestion method, ICP-OES measurement and method validations. Five different digestion methods were compared. It was found that 17.43 cm2 of sample area digested with 20 ml of mixture acid (16.75% hydrochloric acid and 5.55% nitric acid) at temperature 95 °C by heated with block digestion system and adjusted final volume to 10 ml prior to ICP-OES analysis is the most suitable and applicable. Method validation of 17 metals analysis were performed. The linearity range was 0.001-10 ppm. The correlation coefficient (r2) was in the range of 0.9966-0.9998. The limit of detection (LOD) was in the range of 0.012-0.154 ppm and the limit of quantitation (LOQ) was in the range of 0.041-0.494 ppm except for Na. The accuracy expressed in team of percentage recovery (%Recovery) was in the range of 91-110% except for elements Al, Ca, K, Mg and Na. The precision expressed in team of relative standard deviations (%RSD) in the range of 1.98-13.03% except for Ca, K, Na and Pb. The developed methods can be used as effective standard method for metals analysis laboratory.
ไฟล์งานวิจัย
ข้อมูลการตีพิมพ์
ชื่อบทความ :
แหล่งที่ตีพิมพ์ :วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา ปีที่ 29 (ฉบับที่ 3) กันยายน – ธันวาคม พ.ศ. 2567 หน้า 1033-1046
ปีที่ตีพิมพ์ :2567
13 06 ต.ค. 2564

กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 503000
053-88-5555