
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างพฤฒิพลังผู้สูงอายุพื้นที่ห่างไกล โดยบูรณาการด้านสุขภาพและสังคมภายใต้วิถีชีวิตใหม่
อาจารย์มุจลินท์ แปงศิริ
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
1496-64-SCI-CMRU
บทคัดย่อ
การศึกษาการพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างพฤฒิพลังผู้สูงอายุพื้นที่ห่างไกล โดยบูรณาการด้านสุขภาพและสังคมภายใต้วิถีชีวิตใหม่ ใช้การวิจัยเชิงผสมผสานขั้นสูง (Advanced mixed methods research designs) ระยะการวิจัยเชิงผสมผสาน (Mixed methods research design) แบบคู่ขนาน (Convergent parallel design) ระยะการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ดำเนินการวิจัยในผู้สูงอายุ ชายและหญิงที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป เป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุแม่นะ พื้นที่เทศบาลตำบลแม่นะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 100 คน เก็บข้อมูลโดยแบบสอบถาม การอภิปรายกลุ่มโดยการเสริมสร้างพลังอำนาจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา สถิติความถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Multiple Regression Analysis : Stepwise) ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการเสริมสร้างพฤฒิพลังผู้สูงอายุพื้นที่ห่างไกล โดยบูรณาการด้านสุขภาพและสังคมภายใต้วิถีชีวิตใหม่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x = 2.75 +/- 0.16) ปัจจัยที่มีผลต่อการเสริมสร้างพฤฒิพลังผู้สูงอายุพื้นที่ห่างไกล โดยบูรณาการด้านสุขภาพและสังคมภายใต้วิถีชีวิตใหม่ ได้แก่ แรงสนับสนุนทางครอบครัว, การรับรู้ความสามารถของตนเอง, แรงสนับสนุนทางสังคม, การศึกษา, การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติ, และรายได้ โดยสารถร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 26.5 รูปแบบการเสริมสร้างพฤฒิพลังผู้สูงอายุพื้นที่ห่างไกล โดยบูรณาการด้านสุขภาพและสังคมภายใต้วิถีชีวิตใหม่ มีองค์ประกอบ 5 ด้าน ได้แก่ การตระหนักถึงความรุนแรงของโรคและการป้องกันตนเอง แรงสนับสนุนจากครอบครัว และชุมชน ภาคีเครือข่าย มาตรการทางสังคมของรัฐบาล และ การพัฒนาเครือข่ายผู้ดูแล
Abstract
This advanced mixed method research design with explanatory sequential design with convergent parallel design by qualitative research aimed to develop the behavioral empowerment models for the elderly in remote areas by integrating health and society under a new normal life in the elderly aged 60 years and Mae-na subdistrict municipality Chiang Dao district Chiangmai province 100 people collected data by questionnaire, group discussion. The empowerment group data were analyzed using descriptive statistics with multiple regression analysis : Stepwise.
The results showed that behavioral enhancing behaviors of the elderly in remote areas by integrating health and society under a new normal life overall was at a moderate level (x = 2.75 +/- 0.16). Factors affecting the capacity building of the elderly in remote areas by integrating health and society under a new normal life, family support, self-efficacy, social support, education, practice utilization, and income were predicted for 26.5 percent. The development of model for active aging in remote area by integrating health and society under a new normal life were five components: awareness of disease severity and self-defense, family support and community support, government partners network, social measures and the development of a network of caregivers
ไฟล์งานวิจัย
3.บทคัดย่อไทย,อังกฤษ,กิตติกรรมประกาศ (มุจลินท์).pdf
5.บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (มุจลินท์).pdf
6.บทที่ 3 วิธีการดำเนินวิจัย (มุจลินท์).pdf
7.บทที่ 4 ผลการวิจัย (มุจลินท์).pdf
8.บทที่ 5 สรุปและอภิปรายผล (มุจลินท์).pdf
3 06 ต.ค. 2564

กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 503000
053-88-5555