
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญในพื้นที่เขตการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่
นายเอนก ณะชัยวงค์
สำนักทะเบียนและประมวลผล
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
1500-64-ADM-CMRU
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในระะดับอุดมศึกษาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญในพื้นที่เขตการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญในพื้นที่เขตการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญ
ในพื้นที่เขตการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย สายสามัญในพื้นที่
เขตการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 29,108 คน ปีการศึกษา 2563 ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น 95% ค่าความคลาดเคลื่อนอยู่ที่ 5% ใช้สถิติเชิงพรรณนาประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อการเลือกศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา ได้แก่ การตัดสินใจศึกษาต่อด้วยตนเอง อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.38) รองลงมาการตัดสินใจศึกษาต่อเพราะถ้าจบแล้วหางานทำได้อยู่ในระดับมาก(ค่าเฉลี่ย 4.30)ปัจจัยภายในส่วนของสถาบันอุดมศึกษาที่ส่งผลต่อการเลือกศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา ได้แก่ มหาวิทยาลัยมีสื่อ อุปกรณ์การเรียนการสอนที่ครบครันทันสมัยอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.33) รองลงมามหาวิทยาลัยมีอาคารสถานที่กว้างขวางสามารถรองรับนักศึกษาได้จำนวนอยู่ในระดับมาก(ค่าเฉลี่ย 4.28)ปัจจัยด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมืองและการแข่งขันที่ส่งผลต่อการเลือกศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา ได้แก่ เมื่อเรียนจบ จะมีโอกาสได้งานทำและมีรายได้สูงอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.37) รองลงมาเมื่อเรียนจบจะได้ปรับวิทยฐานะของตนเองอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.75) ปัญหาเกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคลจากข้อมูลที่ได้จากผู้ตอบแบบสอบถามที่มีปัญหาในการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ประกอบด้วย ความไม่รู้เกี่ยวกับความชอบ
ความถนัด หรือศักยภาพของตนเอง ดังนั้น จึงเกิดความสับสนในการเลือกถ้ารู้ถึงความต้องการ รู้ถึงความสามารถของตนเอง การเลือกสถาบันและสาขาที่ตนเองชอบคงเป็นเรื่องที่ง่าย ประการต่อมาคือ ความสำคัญของอาจารย์แนะแนว ซึ่งเป็นผู้ให้ข้อมูลที่ดีที่สุดในการแนะนำนักเรียนในการเลือกสถาบันอุดมศึกษา การเลือกสาขาวิชาโดยเฉพาะนักเรียนที่มีเกรดเฉลี่ยไม่สูงมากนัก ปัญหาที่พบคือระดับความสำคัญของนักเรียนที่อาจารย์แนะแนวจะให้ความสำคัญกับนักเรียนที่เก่งและมีเกรดเฉลี่ยสูง ๆ ที่จะสามารถเข้ามหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงสร้างชื่อเสียงให้กับโรงเรียนได้ อาจจะละเลยนักเรียนที่เกรดเฉลี่ยไม่สูงทำให้นักเรียนกลุ่มนี้ได้ข้อมูลจากอาจารย์แนะแนวไม่ชัดเจน หรือมากเท่าที่ควร ปัญหาต่อมาคือ เรื่องของการไม่มีข้อมูลในการเข้าศึกษาต่อ เพราะไม่ศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดเพื่อใช้ข้อมูลเหล่านั้นในการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อ ปัญหาในเรื่องของความกังวลในเรื่องการเรียน ค่าใช้จ่ายในการศึกษา ความมีชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยและการมีงานทำในอนาคตมีส่วนสำคัญ
ปัญหาเกี่ยวกับปัจจัยในส่วนของสถาบันอุดมศึกษาจากข้อมูลที่ได้จากผู้ตอบแบบสอบถามที่มีปัญหาในการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาประกอบด้วย มหาวิทยาลัยจะเป็นที่ยอมรับได้นั้นจะมาจากการเรียนการสอนและหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษาแต่ปัญหาสถาบันอุดมศึกษาคือ บางหลักสูตรบางคณะไม่เป็นที่ยอมรับของนักเรียนจึงมีนักเรียนเข้ามาศึกษาน้อย ดังนั้น จึงเป็นส่วนสำคัญในการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อเพราะจะส่งผลในอนาคตได้คุณภาพของการเรียนการสอนขึ้นอยู่กับคุณภาพของอาจารย์เป็นส่วนสำคัญที่จะสะท้อนไปให้สังคมรับรู้ และเป็นส่วนช่วยในการสร้างภาพลักษณ์ที่สำคัญให้ผู้ที่จะเข้าศึกษาต่อรับรู้และตัดสินใจ
เข้าศึกษาต่อ การประชาสัมพันธ์การแนะแนวการสื่อสารให้บุคคลภายนอกได้รู้จัก รับรู้ถึงกิจกรรมการเรียนการสอนหรือคุณภาพอาจารย์ หลักสูตร ศิษย์เก่า จะทำให้ภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยชัดเจนและเป็นทางเลือกสำคัญให้กับผู้ที่จะเข้าศึกษาต่อ ดังนั้น ปัญหาคือการเข้าไม่ถึงข้อมูลของมหาวิทยาลัย การประชาสัมพันธ์อย่างทั่วถึงและสม่ำเสมอนั่นเองปัญหาด้านสังคม เศรษฐกิจ และการแข่งขันจากข้อมูลที่ได้จากผู้ตอบแบบสอบถามที่มีปัญหาในการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ประกอบด้วย ปัจจุบันเป็นสถานการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่งมีผลกระทบไปถึงเศรษฐกิจ สังคมการปรับตัวและการศึกษา ผลกระทบที่เกิดจากเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่มีต่อเศรษฐกิจ ทำให้รายได้มีไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิตเนื่องจากระบบเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากมาตรการต่าง ๆ เพื่อป้องกันการระบาดของเชื้อโรค ทำให้เศรษฐกิจได้รับความเสียหายอย่างมาก โดยเฉพาะธุรกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยวที่เป็นส่วนสำคัญ เพราะถ้าเศรษฐกิจไม่ดีจะทำให้รายได้ของประชาชนหรือผู้ปกครองที่จะส่งบุตรหลานเข้าศึกษาต่อต้องให้ความสำคัญกับเรื่องค่าใช้จ่ายที่จะมีตามมาอีกประการหนึ่ง ซึ่งจะกระทบกับการตัดสินใจในการศึกษาต่อ และค่านิยมของสังคมการรับรู้ และชื่อเสียงภาพลักษณ์ ในอดีตของมหาวิทยาลัยเป็นอีกส่วนที่มีต่อการตัดสินใจที่จะเลือกให้บุตรหลานเข้าศึกษาต่อในสถาบันการศึกษาใด ๆ ซึ่งมีความเฉพาะเจาะจงมากขึ้น เช่น สถาบันอุดมศึกษาที่ผลิตครูซึ่งมีชื่อเสียงมานานจะได้รับการยอมรับจากผู้ปกครองนักเรียนที่อยากเรียนต่อสาขาวิชาชีพนี้
ข้อเสนอแนะที่มีต่อการตัดสินใจศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญในพื้นที่เขตการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่จากข้อมูลที่ได้จากผู้ตอบแบบสอบถามที่มีข้อเสนอแนะในการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ประกอบด้วยข้อเสนอแนะเรื่อง หลักสูตร ควรปรับปรุงให้ทันสมัยเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันรองรับตลาดแรงงาน และควรสร้างหลักสูตรร่วมกับเอกเชนให้เป็นที่ยอมรับ หรือควรมีการฝึกงานเป็นระยะยาวหรือเพิ่มระยะเวลาการฝึกงานมากขึ้น
ข้อเสนอแนะเรื่อง การกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา ควรมีการเพิ่มวงเงินกู้ให้เป็นไปตาม
ภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันและการคัดเลือกผู้ที่จะได้รับทุน ควรเป็นผู้ที่มีฐานะยากจนอย่างแท้จริงและใช้เงินที่กู้ยืมเป็นประโยชน์กับการเรียน
ข้อเสนอแนะเรื่อง คุณภาพการเรียนการสอนมหาวิทยาลัยควรมีการพัฒนาให้ทันสมัย เป็นปัจจุบัน เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
การทำวิจัยในครั้งต่อไปควรจะมีการทำวิจัยกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในระดับภูมิภาค เช่น ภาคเหนือ เพื่อให้ทราบความคิดเห็นของนักเรียนที่ยังไม่ได้ตัดสินใจเลือกสถาบันอุดมศึกษา
การทำวิจัยในครั้งต่อไปควรจะมีการทำวิจัยควรมีการเจาะลึกในด้านต่าง ๆ โดยการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างที่มาจากนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนเป้าหมาย
Abstract
This research aimed to study factors, problems, and suggestions that affected the decisions to study in the Higher Education of the Ordinary High School Students in Chiang Mai Educational Area.
The sample was 29,108 ordinary high school students in Chiang Mai Educational Area in academic year 2020. The researcher used stratified random sampling and collected data from 399 students by questionnaire. The results revealed 95% reliability and 5% deviation with descriptive statistic including percentage, mean and standard deviation.
The Results of the Study were as follows:
The personal factors were as follows: the students decided to study by themselves in high level with the mean score of 4.38, and the students could find job after they graduated in high level with the mean score of 4.30 relatively.
The factors of higher educational institute were as follows: the universe has all modern media, equipment, and teaching and learning in high level with the mean score of 4.33, and the university has wide buildings to support a large amount of students in high level with the mean score of 4.28.
The factors of society, economy, politic and competition were as follows: when they graduated, they would have opportunity to get job and high income in high level with the mean score of 4.37, and when they graduated, they would upgrade their academic rank in high level with the mean score of 3.75.
The important problems of personal factors were as follows: the students did not know their preferences or aptitudes or potential, so they were confused to choose higher education institute and study major. The next problem was the important level towards the students of the school advisers who gave the best information and suggestion for the students to choose higher education institute and study major were as follows: their advisers would pay attention to smart and high GPA students who could study at well-known university and made school famous. But the students with no high GPA, they could receive unclear information and less attention from their advisers. Then, the problems were as follows: the students had no information for their study because they did not find or read through information for their decision. Problems in their worry and expenses for study, the university’s famousness, and their future job.
The important problems in the factors of higher educational institute were as follows: the university will be acceptable from university’s teaching and learning, and study curriculum of higher education institution, but the problem is some study curriculums and some faculties that are not acceptable from students and there are less students. So, this importance in their decision because it will affect their future. The quality of teaching and learning depending on the importance of the lecturer quality that reflected the society’s perceive and helping to create an important image to students perceive and decide to study, publicize, advice, communication to outside people know, perceive activities, teaching and learning or lecturer quality, study curriculums, alumni that will make university’s image clearly and will be important choice to students who will study. So, the problems is unapproachable university’s information and dispublicize thoroughly and consistently.
The problems in the factors of society, economy, politic and competition were as follows: the important factors of the Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) Outbreak Situation that affected towards economy, society, adaptation and education. The effect from Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) to economy made people’s income not enough for their living because of Preventive action the spread of Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) that made economy damage especially tourism businesses. If economy was not good, people or guardians’ income would have problem in their expenses, their children’s study, and finally, it would effect to the decision to study. For social value, university’s recognition, publicity and image in the past were one of the guardians’ decision to choose their children to study in any specific institution for example, long well-known higher educational institution which produces teachers, will receive acceptable to send their children to study in this area.
The Suggestions for the students’ decisions to study in the Higher Education are as follows:
The suggestions for the study curriculum that should adjust to be modern, suitable for present situation and supporting for labor market, and should create recognized study curriculum with private organizations or should have long-term internship or increase the duration of the internship.
The suggestions for study loan that should increase amount of loan as recent economy, and select the grated scholarship students who are truly poor and use the borrowed money to benefit for their study.
The suggestions for the quality of teaching and learning, university should have modern and up-to-date development for responding student’s requirement effectively.
The Suggestions for next research
The Next research should do with high school students in the regional level such as, the Northern Region, for receiving students’ opinion who do not choose their higher educational institution.
The Next research should specific in many aspects by sample interview with high school students from expected school.
ไฟล์งานวิจัย
เล่มสมบูรณ์ เอนก ณะชัยวงค์ ลายน้ำ.pdf
ข้อมูลการตีพิมพ์
ชื่อบทความ :
แหล่งที่ตีพิมพ์ :วารสาร Community and Social Development Journal ปีที่ 25 ฉบับที่ 3 (กันยายน - ธันวาคม 2567)
ปีที่ตีพิมพ์ :2567
3 06 ต.ค. 2564

กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 503000
053-88-5555