ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

การบริหารจัดการการยกระดับผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของจังหวัดเชียงใหม่


ผู้ช่วยศาสตราจารย์เพียงตะวัน พลอาจ

คณะวิทยาการจัดการ

เลขทะเบียน :

1509-65-MGT-TSRI

บทคัดย่อ

การบริหารจัดการการยกระดับผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของจังหวัดเชียงใหม่ พบว่า การพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมชุมชนตาม 4 แนวทาง ได้แก่ การเปลี่ยนสีสันสู่สีธรรมชาติ การออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ การนำลวดลายเก่ามาสร้างสีสันใหม่ และการออกแบบลวดลายใหม่ สำหรับการสร้างเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน พบว่า มีความเชื่อมโยงผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง 6 องค์ประกอบหลัก ประกอบด้วย ธุรกิจหลัก อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง อุตสาหกรรมสนับสนุน สถานบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐ และ องค์กรที่สนับสนุนการดำเนินการ ที่มีศักยภาพการแข่งขันของเครือข่ายในระดับปานกลาง และได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกในระดับมาก ดังนั้นเพื่อให้หน่วยงานในเครือข่ายสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่องในการปฏิบัติงาน จึงได้รูปแบบเครือข่ายของวิสาหกิจชุมชนประเภทอาหารและหัตถกรรมในจังหวัดเชียงใหม่ ด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ การจัดตั้งช่องทางการสื่อสาร การประสานกิจกรรมที่ดำเนินการโดยสมาชิก การสร้างความสัมพันธ์ที่ยั่งยืน การจัดการความแตกต่างด้านวัฒนธรรม และการจัดระบบความรับผิดชอบของเครือข่าย รวมถึงแนวทางการพัฒนาการจัดการต้นแบบเครือข่ายพันธมิตร 5 ด้าน ได้แก่ ด้านปัจจัยการผลิต ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านส่งเสริมการตลาด และด้านการบริหารจัดการ

 

จากผลการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการสร้างต้นแบบเครือข่ายของวิสาหกิจชุมชนประเภทอาหารและหัตถกรรมสามารถให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนจังหวัดเชียงใหม่เพื่อให้เกิดความยั่งยืน คือ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีรูปแบบการพัฒนาให้เหมาะสมกับแต่ละกลุ่ม โดยมีนโยบายในการผลักดันยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนอย่างจริงจัง ให้มีการพัฒนาสินค้า พัฒนาแบรนด์ รวมไปถึงสร้างความรับรู้ต่อผู้บริโภคในสังคมในมุมมองใหม่ ๆ ให้สอดรับกับรูปแบบสังคมที่กำลังเปลี่ยนแปลง และรูปแบบการทำธุรกิจที่มีนวัตกรรมใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา กอปรกับการนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่เชื่อมกับภูมิปัญญาท้องถิ่นผลิตสินค้าและสร้างมาตรฐานสินค้า การพัฒนาเครือข่ายให้ตอบโจทย์ปัญหาหรือเป้าหมายของกลุ่ม รวมไปถึงวิธีบริหารจัดการเครือข่ายที่สร้างการมีส่วนร่วม และมีทิศทางที่ชัดเจน และมีระบบการติดตามการดำเนินงานของเครือข่าย เพื่อให้สามารถนำผลที่ได้ไปประกอบการวางแผนพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนให้มีศักยภาพมากขึ้น

Abstract

According to the Product Enhancement and Community Enterprise Network Establishment for Supporting Sustainable Development of Chiang Mai Province. There are 4 paths of handcraft product enhancement which includes changing to natural dyes, new product design, adapt old pattern with the new colour, and new pattern design. In terms of Community Enterprise Network Establishment, it appears that there are linkages between 6 main elements consisting main businesses, relevant industries, supportive industries, educational institutes, government agencies, and assisting organisations, that have mid-level competitive potentials and massively affected by the external factors. Therefore, for network partners to efficiently and continuously operate, the 5-elements of food and handcraft relevant community enterprise network pattern is formed consisting of Establishing Communication Channel, Coordinating Activities, Building Relationships, Handling Cultural Difference, and Accountability Framework for Network. Moreover, there are 5 approaches to improve model management of the network partners, which are the approaches of productional factors, products, contributions channel, marketing promotion, and business administration.

Based on the result of the product enhancement and the original model of food and handcraft relevant community enterprises, it is suggested that in terms of policy implication, improving the products to be suitable for each target group should be done for product enhancement and community enterprise network establishment to supporting sustainable development of Chiang Mai province. The improvement of the products should be seriously considered from the policy point of view to enhance the product status, branding, and consumer perceptions to be compatible with changing society and dynamic changing innovation. Besides, there should be an encouragement in merging new technology with the local wisdom in production and enhancing the network establishment, to meet the needs of customers. Moreover, the establishment of the coordinating network framework direction should be clarified and followed up to use the tracking results for planning further community enterprise network more efficiently.

ไฟล์งานวิจัย

sme65แผน_Full.pdf

ข้อมูลการตีพิมพ์

ชื่อบทความ :

แหล่งที่ตีพิมพ์ :Studies in Systems, Decision and Control Volume 429

ปีที่ตีพิมพ์ :2565

ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์

4 19 ส.ค. 2565

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ชั้น 14 อาคาร เอส เอ็ม ทาวเวอร์ 979/17-21 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400

https://www.tsri.or.th/

02 278 8200

callcenter@trf.or.th, webmaster@trf.or.th

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่