ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

ต้นแบบชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ในยุค NEW NORMAL & NEXT NORMAL


อาจารย์วรพล วัฒนเหลืองอรุณ

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

เลขทะเบียน :

1514-65-HUSO-TSRI

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่อง ต้นแบบชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ในยุค NEW NORMAL & NEXT NORMAL โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพด้านการท่องเที่ยวของชุมชนบ้านแม่กำปอง ตำบลห้วยแก้ว อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ บ้านป่าตาล ตำบลบวกค้าง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ และบ้านโป่งกวาว ตำบลสะเมิงเหนือ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อจัดทำแผนและรูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวที่เหมาะสมกับชุมชนเพื่อตอบรับวิถีชีวิตในยุค NEW NORMAL & NEXT NORMAL และเพื่อให้เกิดการยกระดับเศรษฐกิจต้นแบบชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ในยุค NEW NORMAL & NEXT NORMAL เป็นการศึกษาด้วยการใช้ศาสตร์ของการวิจัยโดยมีชุมชนเป็นพื้นฐาน (Community Based Research) สำหรับระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology) เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research)

ผลการวิจัย พบว่า บ้านแม่กำปอง ตั้งแต่เปิดชุมชนเพื่อการท่องเที่ยวในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ.2543 จนถึงปัจจุบันยังคงรักษาความเข้มแข็งไว้ด้วยแนวทางดังนี้ พัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนให้ดีขึ้นสามารถอยู่กับธรรมชาติอย่างเกื้อกูล โดยบ้านแม่กำปองเริ่มต้นจากการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ วิถีชีวิตชุมชนและวัฒนธรรมปัจจุบันปรับสู่การท่องเที่ยวโดยชุมชน (CBT) เพื่อให้ทันภายใต้พลวัตของการเปลี่ยนแปลงโดยมีต้นทุนธรรมชาติเป็นปัจจัยสำคัญของบ้านแม่กำปอง การสร้างความเข้าใจร่วมกันและการขอความร่วมมือกับชุมชน การท่องเที่ยวเข้าสู่หมู่บ้านต้นทุนแรกที่มีคือ ดิน น้ำ ป่า และอากาศ จากการเดินทางท่องเที่ยวใช้บริการโฮมสเตย์ สู่การส่งเสริมการขายสินค้าและผลิตภัณฑ์ชุมชน ดังนั้นความสำเร็จของชุมชนบ้านแม่กำปองมาจาก “ความร่วมมือของคนในชุมชน” บ้านป่าตาล ปี พ.ศ. 2562 และได้รับรางวัลเป็นชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี 1 ใน 50 ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีของประเทศไทย โครงการของกระทรวงมหาดไทย จากรางวัลดังกล่าวส่งผลให้บ้านป่าตาลเริ่มเป็นที่รู้จักของบุคคลโดยทั่วไป โดยเฉพาะหมู่บ้านต่าง ๆ ที่ต้องการพัฒนาชุมชนทางด้านการท่องเที่ยว ส่งผลให้หมู่บ้านแห่งนี้เป็นที่ศึกษาดูงานของชุมชน หน่วยงาน และองค์กรอื่นๆ บ้านโป่งกวาว ถูกเลือกให้เข้าโครงการ OTOP นวัตวิถี โดยกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทยเมื่อปี พ.ศ. 2562 เป็นชุมชนท่องเที่ยวที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็น 1 ใน 110 ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีของจังหวัดเชียงใหม่ จากการได้รับคัดเลือกดังกล่าวจึงทำให้บ้านโป่งกวาวเริ่มเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบแหล่งท่องเที่ยวใหม่

การยกระดับเศรษฐกิจต้นแบบชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี จำเป็นต้องพัฒนาในด้านบุคลากรผู้นำชุมชน งานวิจัยนี้ทำให้เกิดหลักสูตร “การพัฒนาผู้นำแถวสองสำหรับหมู่บ้านท่องเที่ยวโดยชุมชน” ขึ้นเพื่อช่วยพัฒนาความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความมั่นใจให้ผู้นำรุ่นต่อไป โดยให้บ้านแม่กำปองเป็นชุมชนต้นแบบ และสร้างเครือข่ายชุมชนท่องเที่ยวรวมกันตามหลักศาสตร์พระราชาด้านหลักการทรงงานข้อที่ 19 เศรษฐกิจพอเพียงขั้นสูงสุด แผนการจัดการการท่องเที่ยวบ้านแม่กำปอง เพิ่มกิจกรรมในด้านการทำขนม และทำกับข้าวพื้นเมือง, ปรับปรุงศูนย์การเรียนรู้เพื่อนักท่องเที่ยวสามารถศึกษาดูงานในรูปแบบนวัตกรรมใหม่, จัดทำแผนพัฒนาพื้นที่ทางเข้าหมู่บ้านเพื่อเป็นแหล่งร้านค้าของชุมชน, ฟื้นฟูถนนคนเดินบริเวณด้านนอกของหมู่บ้าน (บริเวณปางนอก), มีกิจกรรมการนวดแผนไทยเชื่อมเครือข่ายการนวดแผนไทยในระดับตำบล และจัดรายการนำเที่ยวและเส้นทางการท่องเที่ยวเชื่อมต่อระหว่างแม่กำปอง ไปสู่แหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียงทั้งระดับตำบลและอำเภอ แผนการท่องเที่ยวบ้านป่าตาล เสนอการปรับปรุงบริเวณรอบๆ พื้นที่เพื่อรองรับนักท่องเที่ยว, เชื่อต่อการขายสินค้ากับ Smart City ของเทศบาลตำบลบวกค้าง และการเปิดให้บริการที่พักประเภทโฮมสเตย์ นำเสนอการท่องเที่ยวจากความเข้มแข็งของวิถีชีวิต วัฒนธรรม และประเพณีของชุมชนชาวยอง แผนการท่องเที่ยวบ้านโป่งกวาว ใช้ความสามัคคีของวิถีชีวิตคนเมืองแบบดั่งเดิมขับเคลื่อนนำจุดเด่นของสถานที่ท่องเที่ยวในชุมชนกับผลิตภัณฑ์ชุมชนที่หลากหลายสู่เส้นทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน  

Abstract

Research on The Prototypes of the OTOP Inno-Life Tourism Communities in the Era of the NEW NORMAL & the NEXT NORMAL. The objective was to study the tourism potential of Ban Mae Kampong Community, Huay Kaew Subdistrict, Mae On District, Chiang Mai Province. Ban Pa Tan, Buak Khang Subdistrict, San Kamphaeng District Chiang Mai Province and Ban Pong Kwao, Samoeng Nuea Subdistrict, Samoeng District, Chiang Mai Province. To prepare plans and forms of tourism activities that are suitable for the community in response to the way of life in the NEW NORMAL & NEXT NORMAL era.  In order to raise the economy as a model of OTOP innovative tourism community in the NEW NORMAL & NEXT NORMAL era, it is a study by using the science of community-based research. Research Methodology is a Participatory Action Research.

The results of the research showed that Ban Mae Kampong since the community opened for tourism on December 10, 2000 until now has maintained its strength with the following guidelines. Improve the quality of life of people in the community to be able to live in harmony with nature. Ban Mae Kampong started with conservative tourism and ecotourism. It is the conservation of natural resources. The way of life of the community and the current culture has changed to community-based tourism (CBT). To keep up with the dynamics of change with natural costs being an important factor for Ban Mae Kampong. Building mutual understanding and seeking cooperation with the community. The first costs of tourism to the village are soil, water, forest and air. From travelling, use homestay services. to promote product sales and community products. Therefore, the success of Ban Mae Kampong community comes from “Cooperation of people in the community”. Baan Pa Tan in 2019 and was awarded as one of the 50 OTOP Inno-Life tourism communities in Thailand. Project of the Ministry of Interior as a result of such awards, Ban Pa Tan became known to people in general. Especially villages that want to develop communities in tourism. Resulting in this village being a study visit for communities, agencies and other organizations. Ban Pong Kwao has been selected for the OTOP Inno-LIfe project by the Department of Community Development. Ministry of Interior in 2019, is a tourism community that has been selected as one of the 110 OTOP Inno-Life tourism communities in Chiang Mai. As a result of such selection Ban Pong Kwao became known to tourists who love new attractions.

To Raise the economy as a prototype of the OTOP Inno-Life tourism community, it is necessary to develop personnel in the area of ​​community leaders. This research has created a curriculum “Development of second-line leaders for community-based tourism villages” to help develop knowledge, competence, experience, and confidence for the next generation of leaders. Ban Mae Kampong a model community. and build a network of tourism communities together according to the King's philosophy on the 19th principle of the King's work, the ultimate sufficiency economy. Ban Mae Kampong Tourism Management Plan Increase activities in the field of baking. and cook local food, improve the learning center so that tourists can study visits in innovative ways, prepare a plan to develop the village entrance area to be a source of community shops, revitalize a pedestrian street outside the village (Pang Nok Area), there is a Thai massage activity connecting the Thai massage network at the sub-district level. and organize tour programs and travel routes connecting Mae Kampong to nearby tourist attractions at both subdistrict and district levels. Ban Pa Tan Tourism Plan Propose improvements around the area. Area to accommodate tourists, connecting to sell products with the Smart City of Buakhang Subdistrict Municipality. and the opening of homestay accommodation Presenting tourism from the strength of the way of life, culture and traditions of the Yong community. Ban Pong Kwao Tourism Plan use the unity of the traditional urban lifestyle to drive the outstanding points of community attractions and a variety of community products into the path of community-based tourism development.

ไฟล์งานวิจัย

00. ต้นแบบ ทท. New&Next Normal.pdf

ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์

9 19 ส.ค. 2565

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ชั้น 14 อาคาร เอส เอ็ม ทาวเวอร์ 979/17-21 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400

https://www.tsri.or.th/

02 278 8200

callcenter@trf.or.th, webmaster@trf.or.th

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่