ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

การพัฒนาผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ร่วมสมัยบนฐานอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม เพื่อการยกระดับชุมชนท่องเที่ยวนวัตวิถี ในยุค New Normal


อาจารย์จารุวรรณ เพ็งศิริ

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

เลขทะเบียน :

1515-65-HUSO-TSRI

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่อง การพัฒนาผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ร่วมสมัยบนฐานอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม เพื่อการยกระดับชุมชนท่องเที่ยวนวัตวิถีในยุค New Normal มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยคือ (1) เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ร่วมสมัย และสร้างอัตลักษณ์องค์กร สื่อเพื่อการส่งเสริมการขายใน Digital Marketing ของผลิตภัณฑ์ชุมชนนวัตวิถี บ้านแม่กำปอง บ้านป่าตาล และบ้านโป่งกวาว จังหวัดเชียงใหม่ (2) เพื่อวัดผลความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ร่วมสมัยของชุมชนนวัตวิถี บ้านแม่กำปอง บ้านป่าตาล และบ้านโป่งกวาว จังหวัดเชียงใหม่ มีประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประกอบการชุมชนนวัตวิถี ในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 3 กลุ่ม และ ประชาชน นักท่องเที่ยว ผู้สนใจทั่วไปในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 100 คน เครื่องมือในการดำเนินการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (in-depth Interview) และแบบสอบถามวัดผลความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ร่วมสมัยของชุมชนนวัตวิถี วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา นำเสนอข้อมูลในรูปตารางแจกแจงความถี่ (Frequency) และหาค่าอัตราส่วนร้อยละ (Percentage)

           ผลการวิจัย พบว่า ความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ร่วมสมัยของชุมชนนวัตวิถี บ้านแม่กำปอง บ้านป่าตาล บ้านโป่งกวาว จังหวัดเชียงใหม่    ในภาพรวม พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจมากที่สุดในประเด็น การนำเอาองค์ความรู้   ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาต่อยอดเพื่อพัฒนาเป็นสินค้า เพิ่มมูลค่า เพิ่มรายได้ให้กับคนในชุมชน ค่าเฉลี่ย 4.6 รองลงมาคือ ความพึงพอใจต่อรูปแบบบรรจุภัณฑ์ในภาพรวม และความพึงพอใจต่อภาพลักษณ์ของสินค้าชุมชนที่ปรากฏผ่านสื่อส่งเสริมการขาย ค่าเฉลี่ยเท่ากัน คือ 4.3 รองลงมาได้แก่ ความพึงพอใจต่อรูปแบบผลิตภัณฑ์ในภาพรวม ค่าเฉลี่ย 4.1 และความพึงพอใจต่อชุดอัตลักษณ์องค์กรของผู้ประกอบการในภาพรวม ค่าเฉลี่ย 4.0 ตามลำดับ

Abstract

Research on Development of Creative Products based on Cultural Identity for Communities Tourism in the New Normal era. The research objective is to: (1) to develop contemporary creative products, packaging, corporate identity. Promotional media in digital marketing of Nawatwithi community products Ban Mae Kampong, Ban Pa Tan and Ban Pong Kwao Chiang Mai Province. (2) Measure consumer satisfaction with contemporary creative products and packaging from the Nawatwithi community products Ban Mae Kampong, Ban Pa Tan and Ban Pong Kwao Chiang Mai Province. The population and the sample group were Nawattavithi community entrepreneurs. in Chiang Mai, 3 groups and 100 people, tourists, and the public in Chiang Mai. Research tools include: In-depth interviews and consumer satisfaction surveys. Use descriptive statistical data analysis to present the data in the form of frequency and percentage tables.

           The results of the research showed that the satisfaction of consumers toward contemporary creative products and packaging of Nawatwithi community, Ban Mae Kampong, Ban Pa Tan, Ban Pong Kwao, Chiang Mai Province as a whole, found that the Respondents were most satisfied with the issue. bringing knowledge local wisdom to develop into products that add value and increase income for people in the community with an average of 4.6, followed by satisfaction with overall packaging design and satisfaction with the image of community products that appear through promotional media. The mean is the same, 4.3, the satisfaction with the overall product design average 4.1 and satisfaction with the corporate identity set of entrepreneurs as a whole average 4.0 respectively.

ไฟล์งานวิจัย

เล่มสมบูรณ์ อ.จารุวรรณ ลายน้ำ.pdf

ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์

4 19 ส.ค. 2565

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ชั้น 14 อาคาร เอส เอ็ม ทาวเวอร์ 979/17-21 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400

https://www.tsri.or.th/

02 278 8200

callcenter@trf.or.th, webmaster@trf.or.th

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่