ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

Digital Storytelling : ยกระดับอัตลักษณ์ชุมชนท่องเที่ยวนวัตวิถีต้นแบบผ่านพลังนวัตกรชุมชนนักเล่าเรื่อง


ดร.ฆนธรส ไชยสุต

สถาบันวิจัยและพัฒนา

เลขทะเบียน :

1517-65-IRD-TSRI

บทคัดย่อ

การพัฒนา Digital Storytelling : ยกระดับอัตลักษณ์ชุมชนท่องเที่ยวนวัตวิถีต้นแบบผ่านพลัง นวัตกรชุมชนนักเล่า มีวัตถุประสงค์เพื่อสกัดองค์ความรู้ภูมิปัญญาชุมชนท่องเที่ยว เพื่อนำมาทำ Story Telling เรื่องเล่าชุมชนท่องเที่ยว พัฒนาศักยภาพความเป็นนวัตกรชุมชนนักเล่าเรื่องสื่อสารอัตลักษณ์ชุมชนท่องเที่ยว และพัฒนา Digital Storytelling ถ่ายทอดเรื่องราวของชุมชนผ่านนวัตกรชุมชนนักเล่าเรื่อง  วิธีดำเนินการวิจัย มี 3 ระยะ ตามวัตถุประสงค์การวิจัย ประชากร ได้แก่ ปราชญ์ภูมิปัญญาและชุมชนท่องเที่ยวบ้านแม่กำปอง บ้านป่าตาล และบ้านโป่งกวาว จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ตัวแทนปราชญ์ภูมิปัญญาและตัวแทนชุมชนท่องเที่ยวบ้านแม่กำปอง บ้านป่าตาล และบ้านโป่งกวาว จังหวัดเชียงใหม่ ขอบเขตด้านเนื้อหา ได้แก่  องค์ความรู้จากภูมิปัญญาชุมชนอัตลักษณ์ชุมชนท่องเที่ยว เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกองค์ความรู้

ผลการวิจัย พบว่า ชุมชนท่องเที่ยวบ้านป่าตาล บ้านแม่กำปอง และบ้านโป่งกวาว มีองค์ความรู้เรื่องเล่าของชุมชนท่องเที่ยวที่โดดเด่นด้านการท่องเที่ยวที่หลากหลาย ชุมชนได้รับการพัฒนาศักยภาพความเป็น นวัตกรชุมชนนักเล่าเรื่องสื่อสารอัตลักษณ์ชุมชนท่องเที่ยว โดยมีความพึงพอใจในการได้รับการพัฒนาศักยภาพในระดับมากที่สุด มีความต้องการให้มีการจัดโครงการเพื่อพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่อง มีความสามารถในการถ่ายทอดเรื่องราวของชุมชนท่องเที่ยวทั้ง 3 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่บ้านป่าตาล หมู่บ้านแม่กำปอง และหมู่บ้านโป่งกวาว  ผ่านสื่อ Digital Storytelling ทั้งในรูปแบบ E-Book Clip และเวปไซด์  https://digitalstorytelling.lllskill.com เพื่อช่วยเพิ่มมูลค่าให้การท่องเที่ยว ยกระดับอัตลักษณ์ชุมชนท่องเที่ยว และเพิ่มมูลค่าทรัพยากรท้องถิ่นผ่านกระบวนการชูคุณค่าอัตลักษณ์ของชุมชนผ่านการถ่ายทอดเรื่องราวของชุมชนที่จะช่วยสร้างประสบการณ์และความประทับใจให้นักท่องเที่ยวได้รู้จักชุมชนอย่างลึกซึ้ง

Abstract

Developing Digital Storytelling : Uplifting the identity of an innovative tourism community through the power of community innovator. The objective is to extract knowledge of tourism community wisdom for making story telling, stories about tourism communities. Develop the potential of being a storyteller community innovator, communicating the identity of the tourism community and developing digital storytelling, conveying the stories of the community through storytelling community innovators. There are 3 phases of research methodology according to the research objectives. Population wisdom sages and Ban Mae Kampong tourism communities, Pa Tan villages and Ban Pong Kwao villages. Chiang Mai Province. The sample group were representatives of Wisdom philosophers and representatives of Ban Mae Kampong, Ban Pa Tan and Ban Pong Kwao villages. Chiang Mai Province. The scope of content is knowledge from community wisdom, community identity, tourism. The research tools were knowledge record forms.

The results of the research showed that Ban Pa Tan, Ban Mae Kampong and Ban Pong Kwao villages. There is knowledge and stories of outstanding tourism communities in diverse tourism. The community has developed the potential of being a community innovator, a storyteller, communicating the identity of the tourism community. Satisfaction with the potential development at the highest level. There is a need for a project to develop the potential continuously. Has the ability to convey the stories of the 3 tourism communities, namely Pa Tan Village Mae Kampong Village and Pong Kwao Village through Digital Storytelling media both in the form of E-Book Clip and website 

https://digitalstorytelling.lllskill.com

 . It’s to help add value to tourism Raise the identity of the tourism community. Increase the value of local resources through the process of upholding the community's identity through telling stories of the community that will help create experiences and impress tourists to get to know the community deeply

ไฟล์งานวิจัย

รายงานฉบับสมบูรณ์ Digital Storytelling.pdf

ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์

8 19 ส.ค. 2565

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ชั้น 14 อาคาร เอส เอ็ม ทาวเวอร์ 979/17-21 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400

https://www.tsri.or.th/

02 278 8200

callcenter@trf.or.th, webmaster@trf.or.th

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่