
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
การพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรตะไคร้ภูเขาบนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชุติมันต์ สะสอง
คณะวิทยาการจัดการ
เลขทะเบียน :
1520-65-MAE-TSRI
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นแบบผสมผสานทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรตะไคร้ภูเขาบนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ และเพื่อส่งเสริมอาชีพและสร้างรายได้ให้แก่กลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ กลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณ จำนวน 1,000 คน และกลุ่มตัวอย่างเชิงคุณภาพ จำนวน 6 คน ใช้เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์
ไม่มีโครงสร้าง โดยผลการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง LGPC Model มีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ผลการวิจัย พบว่า 1) ผู้ประกอบการกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอได้นำองค์ความรู้
ภูมิปัญญาดั้งเดิมผสมผสานกับองค์ความรู้สมัยใหม่ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วม ด้วยการร่วมแลกเปลี่ยนแนวความคิด ร่วมระดมสมอง และร่วมวิเคราะห์ศักยภาพผู้ประกอบการ มีการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน มีการจัดตั้งเครือข่ายผู้ประกอบการสมุนไพรตะไคร้ภูเขา รวมถึงร่วมจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ ด้วยกระบวนการ 5 ขั้นตอน ได้แก่ การออกแบบต้นแบบผลิตภัณฑ์
การทดสอบต้นแบบ การตั้งชื่อตราสินค้า การพัฒนาหีบห่อ และการให้บริการ และ 2) ผลิตภัณฑ์จากตะไคร้ภูเขาที่ได้รับการพัฒนาจำนวน 4 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ (1) ครีมอาบน้ำตะไคร้ภูเขา (2) ซีรั่มบำรุงผิวหน้าตะไคร้ภูเขา (3) เจลล้างมือตะไคร้ภูเขา และ (4) ชาดอกตะไคร้ภูเขา ซึ่งผู้ประกอบการได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้มีส่วนได้เสียเพิ่มเติม โดยการนำผลิตภัณฑ์ไปจัดจำหน่ายในงานเทศกาลหรือโครงการต่าง ๆ ที่ภาครัฐจัดขึ้น อีกทั้งยังมีการต่อยอดศักยภาพด้านทักษะความรู้ การตลาด การออกแบบโลโก้และบรรจุภัณฑ์ เกิดการเชื่อมร้อยเครือข่ายผู้ประกอบการ ทำให้มีอาชีพ เพิ่มรายได้ในครัวเรือน และถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์สู่ชุมชนอื่น ๆ จนสามารถสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนได้
Abstract
This study is a mixed-methods-research which aims to 1) develop Litsea Cubeba herbal product based on Karen ethnic’s local wisdom. 2) Promote career and generate income to Karen ethnic people. The quantitative sample consisted of 1,000 people and the qualitative sample consisted of 6 people. The research instruments were questionnaires and unstructured informal interviews. The analysis results of the LGPC model are consistent with the empirical data. The results of the research revealed that 1) Karen ethnic group entrepreneurs have combined traditional wisdom with modern knowledge through a participatory process by exchanging ideas, brainstorming, and analyzing entrepreneurial potential. A community enterprise group was established. There is the establishment of an entrepreneurial network of Litsea Cubeba products and an action plan for the development of prototype products. The 5-step process includes product prototype design, prototype testing, brand naming, packaging development, and service. 2) Four Litsea Cubeba products have been developed: (1) Litsea Cubeba shower cream, (2) Litsea Cubeba facial serum, (3) Litsea Cubeba hand sanitizer, and (4) Litsea Cubeba flower tea. Entrepreneurs receive support from government agencies, the private sector, and stakeholders by bringing their products to be sold at festivals or events organized by the government. There is empowerment in skills, knowledge, marketing, logo design, and packaging. There is a network of entrepreneurs that creates job opportunities, increases household income, and transfers knowledge of product development to other communities in order to strengthen the community.
ไฟล์งานวิจัย
ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์
4 08 ก.พ. 2566

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ชั้น 14 อาคาร เอส เอ็ม ทาวเวอร์ 979/17-21 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
02 278 8200
callcenter@trf.or.th, webmaster@trf.or.th