
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
การประยุกต์เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศในการประเมินความเปราะบางเชิงพื้นที่และจัดการปัญหาไฟป่าอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในพื้นที่ระบบนิเวศเกษตรลุ่มน้ำแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุโข เสมมหาศักดิ์
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
1523-65-HUSO-TSRI
บทคัดย่อ
โครงการวิจัยเรื่องการประยุกต์เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศในการประเมินความเปราะบางเชิงพื้นที่และจัดการปัญหาไฟป่าอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในพื้นที่ระบบนิเวศเกษตรลุ่มน้ำแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์สำคัญ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาแนวโน้มและรูปแบบการกระจายตัวเชิงพื้นที่ของการเกิดไฟป่ากับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในพื้นที่ระบบนิเวศเกษตรลุ่มน้ำแม่วาง 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดไฟป่าและสร้างแบบจำลองความเปราะบางเชิงพื้นที่ต่อการเกิดไฟป่าในพื้นที่ระบบนิเวศเกษตรลุ่มน้ำแม่วาง และ 3) เพื่อจัดทำแผนและข้อเสนอแนะแนวทางการบริหารจัดการพื้นที่เปราะบางต่อการเกิดไฟป่าอย่างยั่งยืนในพื้นที่ระบบนิเวศเกษตรลุ่มน้ำแม่วาง กระบวนการวิจัยเริ่มต้นจากการเก็บรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ มาดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติร่วมกับการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ผลการศึกษาแนวโน้มของการเกิดไฟป่าในช่วง 5 ปี (พ.ศ. 2560 – 2564) พบว่า การเกิดไฟป่ามีแนวโน้มเพิ่มสูงในช่วงฤดูเผาป่า (เดือนมกราคม - พฤษภาคม) ขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีค่า p-value = 0.037 ผลจากการทดสอบสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ทำให้ทราบว่าอุณหภูมิอากาศสูงสุดมีความสัมพันธ์เชิงเส้นตรงกับการเกิดไฟป่า ในขณะที่ปริมาณฝนรายเดือนมีความสัมพันธ์แบบไม่เป็นเส้นตรงเชิงลบกับจำนวนไฟป่า
ในการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อสร้างแบบจำลองความเปราะบางเชิงพื้นที่ต่อไฟป่าภายในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่วาง ได้อาศัยปัจจัยด้านมนุษย์มาวิเคราะห์ร่วมกับแบบจำลองพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดไฟป่า ทำให้สามารถระบุได้ว่า เขตนิเวศเกษตรบนที่ดอน เป็นพื้นที่ที่มีความเปราะบางต่อการเกิดไฟป่าในระดับสูงที่สุดและเด่นชัดมาก เมื่อเทียบกับเขตนิเวศเกษตรที่สูงและนิเวศเกษตรที่ลุ่ม โดยมีเป็นพื้นที่เปราะบางระดับสูงมากครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 106 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ร้อยละ 19 ของพื้นที่ลุ่มน้ำ และนอกจากนี้ยังพบอีกด้วยว่า ชุมชนทุกหมู่บ้านของตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง ที่อยู่ในพื้นที่ดอนตกอยู่ในพื้นที่เปราะบางในระดับสูงสุดต่อไฟป่าทั้งหมด ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่ชุมชนเปราะบางดังกล่าว ควรต้องเตรียมการรับมือกับไฟป่าให้ดีและมีประสิทธิภาพ โดยการมีส่วนร่วมในการกำหนดวางแผนทั้งระยะสั้นและระยะยาวกับหน่วยงานภาครัฐในท้องถิ่น
Abstract
This research project has three main objectives. The first is to study trends and spatial distribution patterns of wildfires under climatic change in agroecological zones of Mae Wang Watershed (MWW). The second is to study factors affecting the wildfires and produce a spatial vulnerability model for assessing wildfires in the MWW. The last is to propose proper plan and recommendations for management of areas vulnerable to wildfire in the MWW. The research method begins with collecting preliminary data from various sources and proceeding with statistical analysis along with the application of geographic information systems (GIS). The result of the study of trends in wildfires during the 5-year period (2017 - 2021) was found that the wildfires tend to increase with statistical significance, with a p-value = 0.037. Moreover, results from the correlation coefficient test revealed that maximum temperatures have a linear relationship with wildfire occurrences. In contrast, monthly rainfalls have a negative non-linear relationship with the number of wildfires.
In regards to application of GIS to create a spatial wildfire vulnerability model, anthropogenic factors were employed to analyse together with a model of spatial wildfire risk. The results allow us to conclude that ‘upland agroecological zone’ is a highest vulnerable land of wildfires in the MWW. Within highest vulnerable land covering around 106 square kilometres (19 % of the watershed area), all upland villages have been found to be in such areas as well. As a result, it is extremely necessary for preparing to deal with wildfires carefully and efficiently, in particular to the concerned villages. Participation in both short-term and long-term planning for wildfire management between villages and local government agencies is the best way.
ไฟล์งานวิจัย
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์_สกสว66.pdf
ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์
5 19 ส.ค. 2565

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ชั้น 14 อาคาร เอส เอ็ม ทาวเวอร์ 979/17-21 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
02 278 8200
callcenter@trf.or.th, webmaster@trf.or.th