ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

การบูรณาการความหลากหลายของภูมิปัญญาท้องถิ่นในการบริหารจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กรณีศึกษา ลุ่มน้ำแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่


อาจารย์ ดร.ชุติวลัญชน์ เสมมหาศักดิ์

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

เลขทะเบียน :

1526-65-HUSO-TSRI

บทคัดย่อ

           การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย 3 ประการ คือ 1) เพื่อสำรวจปัญหาสิ่งแวดล้อมบริเวณลุ่มน้ำแม่วาง ที่เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 2) เพื่อศึกษาความหลากหลายของภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม และ 3) เพื่อบูรณาการความหลากหลายของภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เป็นองค์ความรู้ชุดเดียวกันเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ อย่างเป็นระบบท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยใช้วิธีการสำรวจ การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม ในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนชุมชนในแต่ละเขตนิเวศเกษตร บริเวณลุ่มน้ำแม่วาง

ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดในลุ่มน้ำแม่วางเป็นประจำทุกปีในแต่ละเขตนิเวศเกษตร ได้แก่ ปัญหาไฟป่า ปัญหาภัยแล้ง และปัญหาน้ำท่วม โดยภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ใช้การบริหารจัดการนั้น ประกอบไปด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นดั้งเดิม ภูมิปัญญาท้องถิ่นประยุกต์ และภูมิปัญญาท้องถิ่นผสมผสานระหว่างพื้นที่หรือภูมิปัญญาข้ามเขตนิเวศเกษตร ทั้งนี้ เครือข่ายลุ่มน้ำแม่วาง และวิทยาลัยจาวบ้านลุ่มน้ำแม่วาง เป็นองค์กรที่มีบทบาทในการบูรณาการ (Integrator) ความหลากหลายของภูมิปัญญาท้องถิ่นที่กระจายในแต่ละเขตนิเวศเกษตรให้เป็นองค์ความรู้ชุดเดียวกันตลอดลุ่มน้ำ ฉะนั้นจึงควรมีการจัดทำระบบที่จะช่วยเอื้ออำนวยให้ทั้ง 2 องค์กรดำเนินงานด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมของลุ่มน้ำแม่วางได้อย่างราบรื่น เป็นรูปธรรม  

Abstract

This qualitative research aims to 1) explore environmental problems in the Mae Wang Watershed that result from climate change 2) study the diversity of local wisdom used in solving environmental problems and 3)  integrate that diversity of local wisdom into a mutual knowledge to solve environmental problems in the Mae Wang Watershed systematically amid climate change. The research applied the survey method, non-participant observation, in-depth interview and group discussion with a sample group that was representatives of the communities in each agroecological zone.

The results reveal that environmental problems that occur in the Mae Wang Watershed every year in each agroecological zone include forest fires, droughts, and floods. Therefore, the local wisdom used in management contains traditional local wisdom, applied local wisdom, and local wisdom combined between areas or wisdom across agroecological zones. The Mae Wang Watershed Network and Mae Wang Local College, then, are organisations that play as integrators in integrating the diversity of local wisdom. Thus, a system should be created to facilitate them to carry out their natural resources management as well as environmental problems management smoothly and concretely.

ไฟล์งานวิจัย

เล่มวิจัยสมบูรณ์แบบมีลายน้ำ.pdf

ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์

5 19 ส.ค. 2565

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ชั้น 14 อาคาร เอส เอ็ม ทาวเวอร์ 979/17-21 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400

https://www.tsri.or.th/

02 278 8200

callcenter@trf.or.th, webmaster@trf.or.th

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่