
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพและการฟื้นฟูความจำของผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน
อาจารย์พิชชาพร โอภาศ
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
1533-65-HUSO-TSRI
บทคัดย่อ
อาการสมองเสื่อม (Dementia) เป็นกลุ่มอาการทางระบบประสาทอันเป็นผลจากเซลล์สมองที่ถูกทำลายอย่างช้าๆและต่อเนื่องส่งผลให้บุคคลนั้นๆมีความผิดปกติทางด้านการรู้คิดทำให้เกิดการสูญเสียความจำระยะสั้นและความจำระยะยาว สำหรับประเทศไทยอัตราความชุกของจำนวนผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากอดีตจนถึงปัจจุบัน เพราะโครงสร้างทางด้านประชากรของประเทศมีการเปลี่ยนแปลง สังคมไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์เนื่องจากจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในแต่ละปี ทำให้โรคสมองเสื่อมกลายเป็นโรคเรื้อรังที่ติดอันดับ 1 ใน 5 ของโรคที่เกิดกับผู้สูงอายุในปัจจุบัน ดังนั้นการศึกษาในครั้งนี้จึงมุ่งสร้างแอปพลิเคชันฝึกความจำเพื่อฟื้นฟูความจำของผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงในการเกิดภาวะสมองเสื่อมโดยใช้กิจกรรมตามหลักปรัชญามอนเตสซอรี่ผ่านช่องทางมือถือซึ่งทำให้เกิดความสะดวกสบายและสามารถตอบสนองความต้องการไม่เฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุหรือกลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อมยังรวมไปถึงกลุ่มคนทุกเพศทุกวัยได้อย่างเป็นรูปธรรมซึ่งจะเป็นประโยชน์โดยตรงต่อผู้สูงอายุและผู้ป่วยที่จะสามารถฟื้นฟูความจำของผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อมในระยะแรกและยังช่วยฝึกความจำของผู้สูงอายุซึ่งจะทำให้ลดภาระผู้ดูแลครอบครัวบุคลากรทางการแพทย์รวมทั้งตัวผู้สูงอายุเองที่จะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น นอกจากนี้การกำหนดให้เครือข่ายชุมชนเข้ามามีบทบาทในการมีส่วนร่วมให้การช่วยเหลือดูแลเกื้อกูล รวมไปถึงการสร้างรูปแบบการสนับสนุนทางสังคมที่เน้นชุมชนเป็นฐานในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม จะเป็นการนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีทั้งในผู้สูงอายุ ครอบครัวและชุมชนต่อไป
ผู้วิจัยได้พัฒนาแอปพลิเคชันบนอุปกรณ์พกพา “Brain Booster” บนระบบปฏิบัติการณ์แอนดรอยด์ โดยมีกระบวนการวิจัย 9 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาข้อมูลเอกสารทางด้านอาการภาวะสมองเสื่อม หลักปรัชญามอนเตสซอรี่ ทฤษฎีทางภาษาศาสตร์ รวมไปถึงศึกษาข้อมูลของอาการภาวะสมองเสื่อมจากบุคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่ 2) ลงพื้นที่วินิจฉัยชุมชนอย่างมีส่วนร่วมในการศึกษาถึงบริบทสถานการณ์ภาวะสมองเสื่อมภายในพื้นที่ตำบลหนองผึ้ง ตำบลยางเนิ้งและตำบลสารภี 3) ลงพื้นที่คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนด คือผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปทั้งเพศชายและเพศหญิง มีภูมิลำเนาอยู่ในตำบลหนองผึ้ง ตำบลยางเนิ้งและตำบลสารภี อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่และผ่านการประเมินภาวะสมองเสื่อมโดยใช้แบบตรวจสภาพสมองของคนไทย (TMSE) โดยมีระดับคะแนนต่ำกว่า 23 คะแนน ซึ่งจัดได้ว่าเป็นบุคคลที่มีภาวะสมองเสื่อม จำนวน 200 คนโดยในการประเมินภาวะสมองเสื่อมดังกล่าวจะดำเนินการโดยบุคลากรทางการแพทย์ 4) ลงพื้นที่เพื่อพูดคุยกับกลุ่มตัวอย่างที่ได้จากการประเมิน โดยจัดกิจกรรมสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) 5) รวบรวมข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิที่ได้ทั้งหมดมาใช้เพื่อออกแบบกิจกรรมตามหลักปรัชญามอนเตสซอรี่ที่ใช้ฝึกความจำของผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงในการเกิดภาวะสมองเสื่อมที่มีความสอดคล้องกับบริบทแวดล้อม โดยจะแบ่งออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ด้านประสบการณ์ชีวิตและการเคลื่อนไหว ด้านประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว และด้านวิชาการและการเคลื่อนไหว 6) ออกแบบระบบและสร้างแอปพลิเคชันโดยมีบุคลากรทางการแพทย์ทางด้านจิตเวช ผู้สูงอายุและนักกิจกรรมบำบัดปฏิบัติการให้คำปรึกษา 7) ทดสอบการทำงานของแอปพลิเคชันและปรับปรุงแอปพลิเคชัน 8) จัดทำคู่มือการใช้ และ 9)เผยแพร่และให้บริการแอปพลิเคชัน
แอปพลิเคชันฝึกความจำเพื่อฟื้นฟูความจำของผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงในการเกิดภาวะสมองเสื่อมโดยใช้กิจกรรมตามหลักปรัชญามอนเตสซอรี่ เป็นแอปพลิเคชันที่อยู่ในรูปแบบของเกมสำหรับฝึกความจำเพื่อฟื้นฟูความจำของผู้สูงอายุ โดยเกมที่พัฒนาขึ้นเป็นเกมที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานในชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุ ได้แก่ เกมทำอาหารแบบง่าย เกมจัดยาในรอบสัปดาห์ และเกมการคิดเงินจากการจ่ายตลาดตลาด โดยแต่ละเกมจะมีการแยกระดับความยากง่าย ออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับง่าย ระดับปานกลาง และระดับยาก นอกจากนั้นการนำเสนอข้อมูลจะเน้นการใช้รูปภาพและข้อความสั้นๆเป็นหลัก เพราะรูปภาพสามารถถ่ายทอดเรื่องราวต่างๆ ให้ผู้ใช้งานเข้าใจรายละเอียดได้ง่ายและยังสามารถดึงดูดความสนใจของผู้ใช้งานได้ ส่วนองค์ประกอบอื่นๆ ที่นำมาใช้ออกแบบแอปพลิเคชันให้มีประสิทธิภาพและดึงดูดผู้ใช้งานได้แก่ องค์ประกอบของสี ตัวอักษร ลักษณะการเชื่อมโยง และการโต้ตอบกับผู้ใช้ นอกจากนั้นยังมีตัวช่วยที่เป็นส่วนของเสียงที่ช่วยอธิบายการทำงานให้กับผู้ใช้งานที่อาจไม่ถนัดการอ่านได้ด้วย รวมทั้งระหว่างการเล่นเกมจะมีเสียงดนตรีประกอบเพื่อให้เกิดความผ่อนคลานในขณะที่เล่นได้ด้วย หลังจากที่ได้พัฒนาแอปพลิเคชัน “Brain Booster” พร้อมกับการจัดทำและแบบประเมินความเที่ยงตรงของเนื้อหาผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญ รวมไปถึงการตรวจสอบคุณภาพของแอปพลิเคชันทางด้านเทคนิคเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผู้วิจัยได้ทดลองใช้แอปพลิเคชันดังกล่าวกับกลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้สูงอายุภายในเทศบาลตำบลหนองผึ้ง ตำบลยางเนิ้ง ตำบลสารภี จำนวน 100 คนเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างคะแนนความจำก่อนและหลังการทดลองใช้แอปพลิเคชันฯ พบว่า คะแนนความจำของผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงในการเกิดภาวะสมองเสื่อมหลังการทดลองโดยใช้แอปพลิเคชันฝึกความจำเพื่อฟื้นฟูความจำของผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงในการเกิดภาวะสมองเสื่อมโดยใช้กิจกรรมตามหลักปรัชญามอนเตสซอรี่สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับ .01 และผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มีต่อแอปพลิเคชันพบว่าผู้สูงอายุมีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก คิดเป็นค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.44 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.53 และรูปแบบการดูแลสุขภาพและการฟื้นฟูความจำของผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงในการเกิดภาวะสมองเสื่อมโดยใช้ชุมชนเป็นฐานที่ได้พัฒนาขึ้นประกอบด้วยขั้นตอน 3 ขั้นตอน ได้แก่ การเตรียมชุมชน ระยะการวิจัย และขั้นตอนหลังการวิจัย และผลการประเมินความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงในการเกิดภาวะสมองเสื่อมต่อรูปแบบการดูแลสุขภาพและการฟื้นฟูความจำของผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงในการเกิดภาวะสมองเสื่อมโดยใช้ชุมชนเป็นฐานในภาพรวมมีความพึงพอใจในระดับมากคิดเป็นค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.46 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.52
แอปพลิเคชัน “Brain Booster” ได้มีการเผยแพร่แอปพลิเคชันดังกล่าวบน Play Store เพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าไปเลือกดาวน์โหลดและติดตั้งแอปพลิเคชั่นได้ในวงกว้าง อันส่งผลให้เกิดคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ในด้านการสร้างเสริมสุขภาพและสุขภาวะโดยรวมของผู้สูงอายุภายในพื้นที่อำเภอสารภีให้ดีขึ้นก่อให้เกิดรากฐานในการพัฒนาประเทศสู่ความยั่งยืนต่อไป
Abstract
Dementia is a neurological condition resulting from slow and progressive destruction of brain cells which causes one to have cognitive dysfunction and to lose short-term and long-term memory. In Thailand, the prevalence rate of the number of patients with dementia has been increasing steadily from the past to the present because the demographic structure of the country has changed. Thai society is entering a completely aging society as the number of elderly people continues to increase each year. This causes dementia to become a chronic disease that ranks among the top 5 diseases affecting the elderly today. As a result, this study aims to create a memory training application to rehabilitate memory of elderly with dementia by using the Montessori Philosophy activity. This application can be utilized through the mobile channel which makes it convenient. It is also able to meet the needs of not only the elderly or patients with dementia, but also people of all genders and all ages concretely. This is directly beneficial to the elderly and patients with early dementia who can restore their memories. It also helps train the memory of the elderly which results in the reduction of the load of carers, families, medical personnel and the elderly themselves in order for them to have a better quality of life. Furthermore, assigning community networks to play a role in participating in providing supportive care and to create a community-based social support model for caring for the elderly with dementia can lead to a better quality of life for the elderly, their families and the community.
An application on a mobile device called “Brain Booster” was developed on the Android operating system. The research process consisted of 9 steps as follows. 1) The researcher studied documentary information on dementia symptoms, the Montessori philosophy, and linguistic theory as well as examined about dementia symptoms from the medical staffs of Chiangmai Neurological Hospital. 2) The researcher visited and diagnosed the community area with participation to investigate the context of dementia situation in Nong Phueng, Yang Noeng, and Saraphi sub-districts. 3) The researcher visited the area to select the sample group according to the specified qualifications including people aged 60 years and over, both male and female, domiciled in Nong Phueng, Yang Noeng and Saraphi Subdistrict, Saraphi sub-districts, Chiang Mai province. They also had to pass the dementia assessment using Thai Mental State Examination (TMSE) with a score of less than 23 points, which were classified as elderly with dementia, totaling 200 people. This assessment was performed by medical professionals. 4) The researchers visited the area to talk to the sample group obtained from the assessment by organizing focus group discussion. 5) All obtained primary and secondary data were used to design a memory training activity for elderly with dementia according to the Montessori philosophy that was consistent with the context. The activity was divided into 3 aspects including life experience and movement, sensory and movement, and academic and movement. 6)
The system and application were designed and created with the counsels of geriatric psychiatric medical personnels and occupational therapists. 7) The functionality of the application was tested and improved. 8) The instruction manual was made. 9.) The application was published and served.
The memory training application to rehabilitate memory of elderly with dementia using activities based on the Montessori philosophy is an application in the form of a memory training game to rehabilitate the memory of the elderly. This developed game is related to the daily life of the elderly including an easy cooking game, a weekly medicine preparation game and a money calculation for shopping game. Each game is divided into 3 levels of difficulty: easy, medium and difficult. Moreover, the presentation of information mainly focuses on the use of images and short texts because images can convey various stories for users to easily understand the details and can also attract the users’ attention. Other components used to design the application to be efficient and attractive to users are composition of colors, texts, transitions and users’ interaction. In addition, there are also voice assistants that help explain the operation to users who may not be good at reading. During playing game, there is also a background music to make users feel relax. After developing the “Brain Booster” application, along with conducting and evaluating the validity of the content through the evaluation of qualified people and experts, as well as verifying the quality of the application; the researchers tried out the application on the sample group. The sample group consisted of 100 elderly people in Nong Phueng, Yang Noeng, and Saraphi Subdistrict Municipalities. The tryout was conducted to compare the difference between the memory scores before and after the application trial. It was found that memory score of the elderly with dementia after using the memory training application to rehabilitate memory of elderly with dementia using activities based on the Montessori philosophy was significantly higher than before the experiment at the .01 level. Besides, the overall satisfaction of the elderly was at a high level with a mean of 4.44 and a standard deviation of 0.53. The developed healthcare model and memory rehabilitation of elderly with dementia by using community-based participation consisted of three steps which were community preparation, research phase, and post-research phase. Additionally, overall satisfaction of the elderly with dementia towards healthcare model and memory rehabilitation of elderly with dementia by using community-based participation revealed that there was a high level of satisfaction with a mean of 4.46 and a standard deviation of 0.52.
The “Brain Booster” application was published on Play Store as another channel for users to download and install the application in a wide range. This resulted in improving the quality of life and well-being in terms of creating the overall health and well-being of the elderly in Saraphi district as well as forming a foundation for further sustainable development of the country.
ไฟล์งานวิจัย
ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์
6 19 ส.ค. 2565

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ชั้น 14 อาคาร เอส เอ็ม ทาวเวอร์ 979/17-21 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
02 278 8200
callcenter@trf.or.th, webmaster@trf.or.th