
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
การวิจัยเพื่อหาแนวทางในการต่อยอดผลิตภัณฑ์จากพืชเศรษฐกิจของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรต้นน้ำตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ให้เกิดประโยชน์เชิงพาณิชย์และสาธารณะ ภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภีมภณ มณีธร
คณะวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
1540-65-MGT-TSRI
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางในการต่อยอดผลิตภัณฑ์กาแฟของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรต้นน้ำตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ให้เกิดประโยชน์เชิงพาณิชย์ โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการประชุมกลุ่มย่อยจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ไปสู่ประโยชน์เชิงพาณิชย์ ได้แก่ ผู้แทนจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรต้นน้ำตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 5 ราย, ผู้แทนจากบริษัท เกรเทอร์ฟู้ด จำกัด จำนวน 1 ราย, ผู้แทนจากบริษัท เชียงใหม่เจเนติกส์แลบอราทอรี่ จำกัด จำนวน 1 ราย, ผู้แทนจากหลักสูตรการเป็นผู้ประกอบการ ภาควิชาบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จำนวน 2 ราย และ ผู้แทนจากบริษัท โอกาส ฟาร์ม จำกัด จำนวน 1 ราย รวมเป็น 10 ราย วิเคราะห์ผลการวิจัยด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ มีศักยภาพในการพัฒนาผลิตภัณฑ์กาแฟคั่วบดชนิดซองแบบพกพาที่ได้มาตรฐาน ลดข้อจำกัดทางด้านงบประมาณที่ต้องใช้ไปในการพัฒนากระบวนการผลิตด้วยการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก สามารถเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์จากผลิตภัณฑ์กาแฟคั่วบดที่จำหน่ายกรัมละ 1.2 บาท ให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์กาแฟคั่วบดในรูปแบบซองดริบที่สามารถจำหน่ายได้ถึงกรัมละ 3.5 บาท การต่อยอดไปสู่ประโยชน์เชิงพาณิชย์นั้น กลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ ควรสร้างตัวตน เรื่องราวที่น่าสนใจ และเอกลักษณ์ของกลุ่มลงบนสื่อสังคมออนไลน์ โดยเฉพาะกลุ่มผู้รักกาแฟ โดยศึกษาต้นแบบจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกาแฟที่ประสบความสำเร็จ เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความสนใจและการรู้จักในผลิตภัณฑ์ ร่วมกับการสร้างช่องทางจำหน่ายสินค้าบนตลาดกลางออนไลน์เพื่อให้ผู้บริโภครับรู้และสามารถสั่งซื้อสินค้าได้อย่างต่อเนื่อง
Abstract
The objective of this qualitative research is to find out ways to commercialize coffee products of Pa Pae upstream agriculture community enterprise group, Mae Tang District, Chiang Mai Province. Using purposive sampling technique, the sample was selected from conducting in-depth interviews and focus groups with those who were involved in the process of commercializing products. The sample group consisted of 10 people namely 5 representatives of Pa Pae upstream agriculture community enterprises, 1 representative of Greater Food Company Limited, 1 representative of Chiang Mai Genetics Laboratory Co., LTD., 1 representative of Okrd Farm Limited Partnership and 2 representatives of Bachelor of Business Administration Program (Entrepreneurship) in the faculty of Management Sciences, Chiang Mai Rajabhat University. Content analysis method was used to analyze the data and the result revealed that the community enterprise group had the potential to develop roasting coffee products in the form of a portable bag that meet high-quality standards. With supports from external organizations, the limitations of budgets required in the development of production process can be minimized. Furthermore, there is a possibility of maximizing the value of roasting coffee products by turning those that were previously sold at 1.2 baht per kilogram into drip bag coffee which can be sold at 3.5 baht per kilogram. In order to commercialize the community enterprise group’s products, it was recommended that they create their own character, content and identity on social media platforms designed specifically for coffee lovers and learn from other coffee community enterprise groups’ success stories. By doing this, they could attract more customers and raise awareness of their coffee products. In addition, they should also create a distribution channel in the online marketplaces so that customers could able to find and continuously order their coffee products.
ไฟล์งานวิจัย
ข้อมูลการตีพิมพ์
ชื่อบทความ :
แหล่งที่ตีพิมพ์ :วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น ปีที่ 16 ฉบับที่ 1 มกราคม 2565 – เมษายน 2565
ปีที่ตีพิมพ์ :2565
ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์
4 19 ส.ค. 2565

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ชั้น 14 อาคาร เอส เอ็ม ทาวเวอร์ 979/17-21 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
02 278 8200
callcenter@trf.or.th, webmaster@trf.or.th