ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

การพัฒนาศักยภาพเพื่อยกระดับวิสาหกิจชุมชนกาแฟต้นนํ้า ตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่


อาจารย์นภมินทร์ ศักดิ์สง่า

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

เลขทะเบียน :

1541-65-SCI-TSRI

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง “การพัฒนาศักยภาพเพื่อยกระดับวิสาหกิจชุมชนกาแฟต้นน้ำ ตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่” มีจุดมุ่งหมายเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลความคิดเห็น และบทบาทของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างมีส่วนร่วม ได้แก่ วิสาหกิจชุมชน นักท่องเที่ยว และชุมชนในพื้นที่ต้นน้ำป่าแป๋ ตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่สังเคราะห์ข้อมูลด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์กาแฟ
ด้านการการบริหารจัดการ ด้านการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาชุมชนในพื้นที่ต้นน้ำป่าแป๋ ตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ และเสนอแนะ ถ่ายทอดองค์ความรู้ เกี่ยวกับผลการวิจัยสู่ผู้ใช้ประโยชน์กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ วิสาหกิจชุมชน นักท่องเที่ยว และชุมชนในพื้นที่ต้นน้ำ ตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ในการทำแบบสอบถาม จำนวน 400 ตัวอย่าง โดยผลการศึกษาสำคัญ ๆ พบว่า ความสำคัญของที่มาของกาแฟ มีผลกับความรู้สึกว่าอยากดื่มกาแฟท้องถิ่นมากที่สุด จำนวน 221 คน รองลงมามีผลกับความรู้สึกว่าที่มาของกาแฟท้องถิ่นทำให้เพลิดเพลิน จำนวน 128 คน และรู้สึกอยากดื่มกาแฟท้องถิ่น จำนวน 31 คน

ดังนั้นเพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับวิสาหกิจชมชนต้นน้ำป่าแป๋ ในด้านการยกระดับการท่องเที่ยว ให้กับชุมชนได้เกิดประโยชน์ สามารถนำไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม โดยนำรูปแบบการพัฒนาต่าง ๆ จากการวิจัยไปใช้ประโยชน์ ทำให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ผลในระยะสั้น วิสาหกิจชุมชนได้แนวคิดในการพัฒนาศักยภาพเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากชุมชน ส่วนผลกระทบ (impact) โดยตรง ในระยะยาวคือ คุณภาพชีวิตในการค้าขายดีขึ้น จากการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงบริเวณพื้นที่ชุมชน และที่ทำการวิสาหกิจชุมชน บรรยากาศ ความน่าเชื่อถือ และเป็นที่ที่ประชาชนและนักท่องเที่ยวให้ความสนใจ ส่วนผลทางอ้อม ได้แก่ การกระตุ้นให้ชุมชนต้นน้ำป่าแป๋ นั้น มีส่วนร่วม ในการพัฒนาตลาดของตนเอง

Abstract

subject research “Developing Potential to Elevate Upstream Coffee Community Enterprise, Pa Pae Sub-district, Mae Taeng District, Chiang Mai Province” aims to collect information and opinions. and the role of stakeholders with participation, namely community enterprises tourist and communities in the Pa Pae watershed area, Pa Pae Sub-district, Mae Taeng District, Chiang Mai Province synthesized data on coffee product processing.            Management Product design and development and packaging To lead to community development in the Pa Pae upstream area, Pa Pae Sub-district, Mae Taeng District, Chiang Mai Province, and to suggest and transfer knowledge About research results to target users, including community enterprises tourist And communities in the watershed area, Pa Pae Sub-district, Mae Taeng District, Chiang Mai Province in a questionnaire totaling 400 samples. It had the most effect on feeling that they wanted to drink local coffee, 221 people, followed by the feeling that the source of local coffee made them enjoy, 128 people, and that they wanted to drink local coffee, 31 people.            Therefore, in order to increase the potential of Pa Pae watershed community enterprises in terms of upgrading tourism for the benefit of the community can lead to concrete solutions By bringing various development models from research to use. Making people have a better quality of life Short-term results Community enterprises have the concept of developing potential to raise products produced by the community, while the direct impact (impact) in the long term is a better quality of life in trade. From the renovation of the community area and community enterprise offices, atmosphere, credibility And it is where people and tourists pay attention. The indirect effect is to encourage the Pa Pae watershed community to participate in the development of their own market.

ไฟล์งานวิจัย

เล่มสมบูรณ์1 ลายน้ำ.pdf

ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์

7 19 ส.ค. 2565

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ชั้น 14 อาคาร เอส เอ็ม ทาวเวอร์ 979/17-21 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400

https://www.tsri.or.th/

02 278 8200

callcenter@trf.or.th, webmaster@trf.or.th

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่