
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
ชุดโครงการ การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงอนุรักษ์สู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของชุมชน ในชุมชนเทศบาลตำบลท่าข้าม อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ ด้วยเทคโนโลยีสร้างสรรค์เพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิมพ์ชนก สุวรรณศรี
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
1542-65-SCI-TSRI
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพเยาวชนชุมชนเทศบาลตาบลท่าข้ามด้วยนวัตกรรมเทคโนโลยีดิจิทัลที่สร้างสรรค์ 2) พัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ตามบริบทชุมชน และ 3) พัฒนาสื่อสารานุกรมบทเรียนวัฒนธรรมชุมชนท่าข้ามผ่านตัวการ์ตูนเล่าเรื่อง 2 ภาษา ไทย อังกฤษ และพัฒนาแอปพลิเคชันละอ่อนน้อยเฮียนฮู้ฮักวัฒนธรรมชุมชนเทศบาลตาบลท่าข้าม เพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ด้านการเรียนรู้ทักษะชีวิตและวิชาชีพผ่านวัฒนธรรมชุมชน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียน เยาวชน ปราชญ์ภูมิปัญญาชุมชนท่าข้าม ตาบลท่าข้าม อาเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบประเมินคุณภาพนวัตกรรมระบบส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพเยาวชนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล 2) แบบประเมินความพึงพอใจการจัดกิจกรรมและทดลองใช้นวัตกรรมระบบส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพเยาวชนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล 3) แบบประเมินคุณภาพนวัตกรรมการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล 4) แบบประเมินความพึงพอใจนวัตกรรมการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล 5) แบบบันทึกองค์ความรู้ และ 6) แบบประเมินคุณภาพของแอปพลิเคชัน การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นใช้สถิติบรรยาย การวิเคราะห์เนื้อหาใช้วิธีการสังเคราะห์เชิงคุณภาพเพื่อนาไปสู่การสกัดองค์ความรู้
ผลการวิจัยดังนี้ 1) นวัตกรรมการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพเยาวชนชุมชนท่าข้าม ตาบลท่าข้าม อาเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ด้วยนวัตกรรมเทคโนโลยีดิจิทัล คือ นวัตกรรมบริหารจัดการระบบส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพเยาวชนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล และเทคโนโลยี Line Bot น้องฮอด ที่นาเสนอเนื้อหาบนเว็บไซต์และแพลตฟอร์มเทคโนโลยี Line Bot โดยการมีส่วนร่วมของเยาวชนเทศบาลตาบลท่าข้าม นวัตกรรมมีคุณภาพโดยรวมเฉลี่ยเท่ากับ 4.93 อยู่ในระดับคุณภาพดีมาก ความพึงพอใจในการใช้งานนวัตกรรมจากผู้ใช้ มีความพึงพอใจในภาพรวมโดยเฉลี่ยเท่ากับ 4.51 อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด และมีความพึงพอใจในกิจกรรมค่ายพัฒนาศักยภาพเยาวชนชุมชนท่าข้ามด้วยนวัตกรรมเทคโนโลยีดิจิทัลและทักษะที่จาเป็นในศตวรรษที่ 21 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้วยค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.57 2) นวัตกรรมการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลตาม บริบทของชุมชน คือ นวัตกรรมการเรียนรู้บนโลกเมตาเวิร์ส ชื่อรายวิชาวิทยาการคานวณ ซึ่งพัฒนาจาก Spatial โดยการรวมสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ ได้แก่ สื่อมัลติมีเดีย การ์ตูนแอนิเมชัน นาเสนอเนื้อหารายวิชาวิทยาการคานวณชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 และเกมฝึกทักษะ AR นวัตกรรมมีคุณภาพโดยรวมเฉลี่ยเท่ากับ 4.75 อยู่ในระดับคุณภาพดีมาก และ ความพึงพอใจในการใช้งานนวัตกรรม จากผู้ใช้มีความพึงพอใจในภาพรวมโดยเฉลี่ยเท่ากับ 4.25 อยู่ในระดับความพึงพอใจมาก 3) สื่อการเรียนรู้วัฒนธรรมชุมชนท่าข้ามที่ได้จากการสังเคราะห์และสกัดองค์ความรู้จากภูมิปัญญาชุมชน มีจานวน 10 เรื่อง นาไปจัดทา Infographic ในรูปแบบ E-book และ Clip นาเนื้อหาที่ได้ไปพัฒนาแอปพลิเคชันแบบไฮบริแอปพลิเคชัน ด้วย Ionic Framework ผลการทดลองใช้และหาคุณภาพของแอปพลิเคชัน พบว่า ผู้เชี่ยวชาญและผู้ทดลองใช้มีความคิดเห็นต่อแอปพลิเคชันในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด โดย มีค่าเฉลี่ย 4.61 และ 4.60 ตามลาดับ และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการใช้ประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความถูกต้อง และความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด
Abstract
This research aimed 1) promote and develop the potential of Tha Kham Municipality by innovating digital technology 2) develop creative learning innovation using digital technology to enhance learning skills in the 21st century according to the context of the community, and 3) develop an encyclopedia of Tha Kham Community culture through Thai-English storytelling. And developing an Kids Learn to Love Tha Kham Community Culture Application to Enhance Learning Skills in the 21st Century in the Learning of Life and Professional Skills Through Community Culture. Examples of this study are students, youth, wisdom, and knowledge of the Tha Kham community, Tha Kham sub-district, Hod district, Chiang Mai province. The research tools include: 1) Digital Technology Innovation Quality Evaluation, 2) Digital Technology Satisfaction Evaluation, 3) Quality assessment form for creative learning innovation with digital technology, 4) Satisfaction assessment form for creative learning innovation with digital technology, 5) Knowledge Record, and 6) Application Quality Evaluation. Preliminary data analysis uses descriptive statistics. The content analysis uses qualitative synthesis methods to lead to knowledge extraction.
The research results are as follows: 1) Innovation in Tha Kham Community, Tha Kham Subdistrict, Hod District, Chiang Mai Province, is an innovation in digital technology promotion and development system and line bot technology. The participation of Tha Kham municipality youth in innovation was 4.93, which was very good quality. The satisfaction of using innovation from users was the same as overall satisfaction. 4.51 is the highest level of satisfaction and the highest level of satisfaction and satisfaction in the activities of the Tha Kham Community Youth Competency Camp with digital technology innovation and skills needed in the 21st century. Overall, the average is 4.57 2) Creative learning innovation with digital technology based on community context is a learning innovation on the metaverse world. The course name is Computing Science, which is developed from Spatial by combining various forms of learning media, including multimedia, animation presented the contents of Computing Science courses for Prathom Suksa 4--6 and AR skill training games. The overall quality of innovation was equal to 4.75 which was at a very good quality level. The satisfaction of innovation from users with an average overall satisfaction of 4.25 which is in a high level of satisfaction 3) The research results showed that there were 10 topics of Tha Kham community cultural learning media derived from the synthesis and extraction of knowledge from the community wisdom, Use the extracted knowledge to design cartoon characters and logos to produce infographics in the form of E-books and Clips. Take the information to design a single-page web browser as another channel for ease of use. Use the content to develop hybrid applications with the Ionic Framework. The trial results and the application's quality found that experts and testers have their opinions on the application as a whole. was at the highest level with mean values of 4.61 and 4.60, respectively, and when considering each side, it was found that the utilization of Feasibility, Accuracy, and Suitability at the highest level.
ไฟล์งานวิจัย
4

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ชั้น 14 อาคาร เอส เอ็ม ทาวเวอร์ 979/17-21 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
02 278 8200
callcenter@trf.or.th, webmaster@trf.or.th