ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

การพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ ตามบริบทชุมชนเทศบาลตำบลท่าข้าม อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่


ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิมพ์ชนก สุวรรณศรี

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

เลขทะเบียน :

1544-65-SCI-TSRI

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลตามบริบทของชุมชน และ 2) วิเคราะห์ผลความพึงพอใจในการใช้งานนวัตกรรม กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 โรงเรียนบ้านกองหิน อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 43 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) นวัตกรรมการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลตามบริบทของชุมชน 2) แบบประเมินคุณภาพนวัตกรรม และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจนวัตกรรม ซึ่งมีผลการวิจัยดังนี้ 1) นวัตกรรมการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลตามบริบทของชุมชน คือ นวัตกรรมการเรียนรู้บนโลกเมตาเวิร์ส ชื่อรายวิชาวิทยาการคำนวณ ซึ่งพัฒนาจาก Spatial โดยการรวมสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ ได้แก่ สื่อมัลติมีเดีย การ์ตูนแอนิเมชัน นำเสนอเนื้อหารายวิชาวิทยาการคำนวณชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 และเกมฝึกทักษะ AR 2) นวัตกรรมมีคุณภาพโดยรวมเฉลี่ยเท่ากับ 4.75 (S.D.=0.30) ซึ่งอยู่ในระดับคุณภาพดีมาก 3) ความพึงพอใจในการใช้งานนวัตกรรม จากผู้ใช้ จำนวน 43 คน มีความพึงพอใจในภาพรวมโดยเฉลี่ยเท่ากับ 4.25 (S.D. = 0.60) ซึ่งอยู่ในระดับความพึงพอใจมาก

Abstract

This research aimed 1) to develop creative learning innovations with digital technology according to the community context, and 2) to analyze the results of satisfaction in using innovations. The sample group in this research was The sample consisted of 43 students in Prathom Suksa 4-6, Ban Kong Hin School, Hod District, Chiang Mai Province. The research instruments consisted of 1) creative learning innovation with digital technology according to the community context, 2) innovation quality assessment form, and 3) innovation satisfaction assessment form. The research found that 1) Creative learning innovation with digital technology based on community context is a learning innovation on the metaverse world. The course name is Computing Science, which is developed from Spatial by combining various forms of learning media, including multimedia, animation presented the contents of Computing Science courses for Prathom Suksa 4-6 and AR skill training games. 2) The overall quality of innovation was equal to 4.75 (S.D.=0.30), which was at a very good quality level. 3) The satisfaction of innovation from 43 users with an average overall satisfaction of 4.25 (S.D. = 0.60), which is in a high level of satisfaction.

ไฟล์งานวิจัย

FF65 พิมพ์ชนก ลายน้ำ.pdf

ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์

6 19 ส.ค. 2565

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ชั้น 14 อาคาร เอส เอ็ม ทาวเวอร์ 979/17-21 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400

https://www.tsri.or.th/

02 278 8200

callcenter@trf.or.th, webmaster@trf.or.th

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่