
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
ชุดโครงการ การพัฒนาระบบการดูแลและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุที่เป็นผู้ป่วยเบาหวานโดยผสานนวัตกรรมและภูมิปัญญาของชุมชน จังหวัดแม่ฮ่องสอน
อาจารย์ศิวาพร มหาทำนุโชค
วิทยาลัยแม่ฮ่องสอน
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
1546-65-MAE-TSRI
บทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนา (The Research and Development) ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่เป็นผู้ป่วยเบาหวาน ในด้านการดูแลสุขภาพ การป้องกันภาวะแทรกซอน การบริโภคอาหาร/ภาวะโภชนาการ และการออกกาลังกาย 2) พัฒนาระบบสนับสนุนการดูแล และติดตามภาวะสุขภาพสาหรับผู้สูงอายุที่เป็นผู้ป่วยเบาหวานในชุมชนโดยประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ 3) พัฒนารูปแบบการป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่เท้าสาหรับผู้สูงอายุที่เป็นผู้ป่วยเบาหวานด้วยนวัตกรรม และการมีส่วนร่วมของชุมชน 4) พัฒนาแนวทางชุมชนต้นแบบสุขภาวะอาหารและโภชนาการที่เหมาะสมของผู้สูงอายุที่เป็นผู้ป่วยเบาหวาน 5) ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นในการออกกาลังกายที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุที่เป็นผู้ป่วยเบาหวาน 6) พัฒนาโปรแกรมการออกกาลังกายโดยประยุกต์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นสาหรับผู้สูงอายุที่เป็นผู้ป่วยเบาหวานกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่เป็นผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่เป็นผู้ป่วยเบาหวาน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และอาสาสมัครสาธารณสุขประจาหมู่บ้าน (อสม.) ดาเนินการวิจัยในพื้นที่ตาบลปางหมู อาเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างเป็นระบบ (Systematic Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ที (t-test) การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกทวิ (Binary logistic regression) การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Linear Regression) สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้า (repeated-measures analysis of variance: RANOVA) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงประเด็น (Thematic analysis) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)
ผลการศึกษา สรุปเป็นรายโครงการย่อย ดังนี้
1. การพัฒนาระบบสนับสนุนการดูแล และติดตามภาวะสุขภาพสาหรับผู้สูงอายุที่เป็นผู้ป่วยเบาหวานโดยประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ ผลพบว่า 1) การสนับสนุนการดูแลและติดตามภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุที่เป็นผู้ป่วยเบาหวานดาเนินการแบบบูรณาการระหว่างเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้ดูแล ครอบครัว เครือข่าย อสม. ในชุมชนสนับสนุนส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การไปเยี่ยมบ้าน และการดูแลในระยะยาว โดยที่ อสม. มีบทบาทสาคัญต่อการกระตุ้นเตือนให้ดูแลเท้า ลดอาหารหวานมันเค็ม การออกกาลังกาย การไปพบแพทย์ตามนัดหมาย 2) ได้แผนที่แสดงพิกัดและเส้นทางเข้าถึงที่พักอาศัยของผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวาน ผลการวิเคราะห์ค่าดัชนีเพื่อนบ้านใกล้ที่สุด สรุปว่า มีการกระจายตัวแบบเกาะกลุ่มใกล้กับ รพ.สต. และส่วนใหญ่มีระดับน้าตาลในเลือดปกติ การพัฒนา Web Application ฐานข้อมูลผู้สูงอายุที่เป็นผู้ป่วยเบาหวาน สามารถแปลผลค่าน้าตาลในเลือด ค้นหาข้อมูลและแสดงผลได้อย่างเฉพาะเจาะจง จึงมีส่วนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเข้าถึงข้อมูลและติดตามดูแลเป็นรายบุคคลและภาพรวมเชิงพื้นที่
2. การพัฒนารูปแบบการป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่เท้าสาหรับผู้สูงอายุที่เป็นผู้ป่วยเบาหวานด้วยนวัตกรรม (อุปกรณ์สารวจเท้าด้วยตนเองสาหรับผู้ป่วยเบาหวาน) และการมีส่วนร่วมของชุมชน ผลพบว่า 1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดูแลเท้า คือ (1) ปัจจัยส่วนบุคคล เรื่อง ความสัมพันธ์กับผู้ดูแลหลัก โดยเป็นญาติที่อาศัยอยู่ในครัวเรือนเดียวกัน (χ2 = 6.462, P-value = 0.012) (2) ความรู้เกี่ยวกับการดูแลเท้า เรื่อง ควรออกกาลังกายข้อเท้าเพื่อเพิ่มการไหลเวียนเลือด (χ2 = 7.371, P-value = 0.006) (3) ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานและภาวะแทรกซ้อนที่เท้า เรื่อง แผลที่หายยากใช้เวลารักษานานเกิดจากหลอดเลือดส่วนปลายมีปัญหา (χ2 2= 6.142, P-value= 0.007) 2) รูปแบบนวัตกรรม 4P: Participation, Pangmoo, Patients, Prevention ป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่เท้าของผู้สูงอายุที่เป็นผู้ป่วยเบาหวาน ได้ประยุกต์ใช้นวัตกรรมเครื่องถ่ายภาพ-สารวจเท้าผู้ป่วยเบาหวานด้วยตนเองเพื่อสนับสนุนการดูแลเท้าของผู้สูงอายุที่เป็นผู้ป่วยเบาหวาน ดาเนินงานในตาบลปางหมูภายใต้การมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุที่เป็นผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ดูแล เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และ อสม. รวมถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เท้าของผู้สูงอายุที่เป็นผู้ป่วยเบาหวานในชุมชน ผลการประเมินรูปแบบ พบว่า ความคิดเห็นต่อความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์ ความเหมาะสม และความถูกต้องครอบคลุมมีระดับมากในทุกรายการ
3. รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมบริโภคอาหารของผู้สูงอายุที่เป็นผู้ป่วยเบาหวาน ผลพบว่า พฤติกรรมการบริโภคอาหาร ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 36.7 ปัจจัยที่สามารถทานายการมีส่วนร่วมในการดูแลตนเองด้านพฤติกรรมการบริโภคอาหารต่อตัวแปรที่มีอิทธิพลในการมีส่วนร่วมของชุมชน คือ ด้านการพึ่งพาตนเอง ด้านสัมพันธภาพครอบครัวและชุมชน ด้านการกิจกรรมทางกาย ด้านกิจกรรมในชุมชน ด้านวัฒนธรรมประเพณีความเชื่อในการบริโภค เพศ และการเป็นสมาชิก มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของชุมชน ด้านพฤติกรรมการบริโภคอาหาร (P < .05) และรูปแบบการมีส่วนร่วม แบ่งเป็น 5 ขั้นตอน 1. การมีส่วนร่วมในการวางแผน 2. การมีส่วนร่วมในการดาเนินกิจกรรมและ 3. การมีส่วนร่วมในการใช้ประโยชน์ 4. การมีส่วนร่วมในการร่วมรับผลประโยชน์ 5.การมีส่วนร่วมในการประเมินผล กระบวนการมีส่วนร่วมระหว่างชุมชนกับผู้สูงอายุที่ป่วยโรคเบาหวาน ควรมีการพัฒนาเครือข่ายเพื่อพัฒนาการดูแลสุขภาพ ในระดับทุติยภูมิ ตติยภูมิในเครือข่ายของพื้นที่เพิ่มเติม
4. การประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อพัฒนาโปรแกรมการออกกาลังกายสาหรับผู้สูงอายุที่เป็นผู้ป่วยเบาหวาน ผลพบว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่นและการพัฒนาประยุกต์ใช้ในการออกกาลังกายที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุที่เป็นผู้ป่วยเบาหวาน จานวน 11 ท่า และการประยุกต์ใช้ผ้าทอชาติพันธุ์ จานวน 22 ท่า และวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนสมรรถนะทางกาย ครั้งที่ 1-5 โดยใช้ สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้า พบว่าค่าเฉลี่ยคะแนน ความทนทานและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ ความทนทานของปอดและหัวใจ มีความแตกต่างกันทุกกลุ่มอย่างน้อย 1 คู่ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาในกลุ่มตัวอย่างกลุ่ม ดังนั้นการวิจัยครั้งต่อไปควรกาหนดให้มีกลุ่มควบคุม กลุ่มทดลอง แยกกันอย่างชัดเจน เพื่อทดสอบผลการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มและควบคุมปัจจัยที่อาจจะส่งผลต่อผลที่เกิดขึ้นที่ดีกับกลุ่มตัวอย่าง
Abstract
ไฟล์งานวิจัย
3

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ชั้น 14 อาคาร เอส เอ็ม ทาวเวอร์ 979/17-21 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
02 278 8200
callcenter@trf.or.th, webmaster@trf.or.th