
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
การพัฒนารูปแบบการป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่เท้าสำหรับผู้สูงอายุที่เป็นผู้ป่วยเบาหวานด้วยนวัตกรรม (อุปกรณ์สำรวจเท้าด้วยตนเองสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน) และการมีส่วนร่วมของชุมชน
อาจารย์ศิวาพร มหาทำนุโชค
วิทยาลัยแม่ฮ่องสอน
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
1548-65-MAE-TSRI
บทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนา (The Research and Development) ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการดูแลเท้าของผู้สูงอายุที่เป็นผู้ป่วยเบาหวาน 2) พัฒนารูปแบบการป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่เท้าสำหรับผู้สูงอายุที่เป็นผู้ป่วยเบาหวานด้วยนวัตกรรมและการมีส่วนร่วมของชุมชน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่เป็นผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 160 คน ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่เป็นผู้ป่วยเบาหวาน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จำนวน 30 คน ดำเนินการวิจัยในพื้นที่ตำบลปางหมู อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างเป็นระบบ (Systematic Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกทวิ (Binary logistic regression)
ผลการศึกษา มีดังนี้ 1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดูแลเท้า คือ (1) ปัจจัยส่วนบุคคล เรื่อง ความสัมพันธ์กับผู้ดูแลหลัก โดยเป็นญาติที่อาศัยอยู่ในครัวเรือนเดียวกัน (χ2 = 6.462, P-value = 0.012) (2) ความรู้เกี่ยวกับการดูแลเท้า เรื่อง ควรออกกำลังกายข้อเท้าเพื่อเพิ่มการไหลเวียนเลือด (χ2 = 7.371, P-value = 0.006) (3) ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานและภาวะแทรกซ้อนที่เท้า เรื่อง แผลที่หายยากใช้เวลารักษานานเกิดจากหลอดเลือดส่วนปลายมีปัญหา (c 2= 6.142, P-value= 0.007) 2) รูปแบบนวัตกรรม 4P: Participation, Pangmoo, Patients, Prevention ป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่เท้าของผู้สูงอายุที่เป็นผู้ป่วยเบาหวาน ได้ประยุกต์ใช้นวัตกรรมเครื่องถ่ายภาพ-สำรวจเท้าผู้ป่วยเบาหวานด้วยตนเองเพื่อสนับสนุนการดูแลเท้าของผู้สูงอายุที่เป็นผู้ป่วยเบาหวาน ดำเนินงานในตำบลปางหมูภายใต้การมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุที่เป็นผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ดูแล เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และ อสม. รวมถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เท้าของผู้สูงอายุที่เป็นผู้ป่วยเบาหวานในชุมชน ผลการประเมินรูปแบบ พบว่า ความคิดเห็นต่อความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์ ความเหมาะสม และความถูกต้องครอบคลุมมีระดับมากในทุกรายการ
Abstract
This Research and Development aimed to studies: 1) the factors that affected foot care among elderly diabetic patients 2) to develop a model for DM foot complication prevention by an innovation and community participation. The samples were 160 elderly with DM, and 30 of their caregivers, healthcare worker, and village health volunteers. The research had conducted in Pangmoo Subdistric, Mueang Mae Hong Son District, Mae Hong Son Province. They were chosen by Systematic Random Sampling. The instruments were the questionnaires. The gathered data were analyzed by using frequency, means, standard deviation, and Binary logistic regression.
The results were as follows: 1) Factors that affected foot care were (1) personal factors: the relationship with their caregiver, living together in a household (χ2 = 6.462, P-value = 0.012); (2) Knowledge about foot care: ankle exercises to promote blood circulation (χ2 = 7.371, P-value = 0.006) (3) knowledge about diabetes mellitus and complications: foot diabetic ulcer that are difficult to heal, due to peripheral artery problems (χ2= 6.142, P-value= 0.007) 2) the 4P: Participation, Pangmoo, Patients, Prevention innovation DM foot complication prevention had applied self-foot examination device to support foot care of the elderly with DM. Implement in Pangmoo Sub District, with the participation among elderly with DM, caregivers, healthcare worker, and village health volunteer, etc. The result of model evaluation found that the opinions on the feasibility, the utility, the propriety, and the accuracy of model were at a high level of all categories.
ไฟล์งานวิจัย
รายงานฉบับสมบูรณ์ พัฒนารูปแบบการป้องกันฯ.pdf
ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์
4 19 ส.ค. 2565

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ชั้น 14 อาคาร เอส เอ็ม ทาวเวอร์ 979/17-21 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
02 278 8200
callcenter@trf.or.th, webmaster@trf.or.th