ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

การประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อพัฒนาโปรแกรมการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุที่เป็นผู้ป่วยเบาหวาน


อาจารย์ทัศน์กร อินทจักร์

วิทยาลัยแม่ฮ่องสอน

เลขทะเบียน :

1550-65-MAE-TSRI

บทคัดย่อ

  ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นความรู้ ความสามารถประสบการณ์ที่สั่งสมและสืบทอดกันมา บ่งบอกความสามารถและศักยภาพการแก้ปัญหา การปรับตัว เรียนรู้และสืบทอดสู่คนรุ่นใหม่ นับเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติเผ่าพันธุ์ ซึ่งโรคเบาหวานปัญหาที่เป็นผลกระทบจากประชากรที่ป่วย และก่อให้เกิดภาระต่อระบบบริการสุขภาพและตัวผู้ป่วย การวิจัยนี้การวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) เพื่อศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นในการออกกำลังกายที่เหมาะสม พัฒนาโปรแกรมการออกกำลังกายโดยประยุกต์จากภูมิปัญญาท้องถิ่น และศึกษาผลของโปรแกรมการออกกำลังกายโดยประยุกต์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับผู้สูงอายุที่เป็นผู้ป่วยเบาหวาน จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 30 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยสถิติเชิงพรรณนา หาจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน วิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Linear Regression) และสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ (repeated-measures analysis of variance: RANOVA) ข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการพัฒนาประยุกต์ใช้ในการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุที่เป็นผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 11 ท่า และการประยุกต์ใช้ผ้าทอชาติพันธุ์ จำนวน 22 ท่า และ วิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนสมรรถนะทางกาย ครั้งที่ 1-5 โดยใช้ สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ พบว่าค่าเฉลี่ยคะแนน ความทนทานและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ ความทนทานของปอดและหัวใจ มีความแตกต่างกันทุกกลุ่มอย่างน้อย 1 คู่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาในกลุ่มตัวอย่างกลุ่ม ดังนั้นการวิจัยครั้งต่อไปควรกำหนดให้มีกลุ่มควบคุม กลุ่มทดลอง แยกกันอย่างชัดเจน เพื่อทดสอบผลการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มและควบคุมปัจจัยที่อาจจะส่งผลต่อผลที่เกิดขึ้นที่ดีกับกลุ่มตัวอย่าง

Abstract

Local wisdom is the accumulated and inherited knowledge, ability, and experience, indicating the ability and potential to solve problems. Learning and inheriting to the new generation is considered as a national cultural heritage. diabetes is a problem affected by the affected population. Mixed Methods Research Learn local wisdom in proper exercise. Develop exercise plan according to local wisdom. And study the effect of exercise plan for elderly diabetes patients based on local wisdom. Sample size 30 people used questionnaires to collect data and analyzed quantitative data with descriptive statistical data to find out the percentage, average value, and standard deviation. And inference statistics, multiple linear regression, and repeated measurement. Variable analysis: RANOVA: content analysis and develop sports applications suitable for the elderly with diabetes, including 11 postures and national weaving applications. Comparison of 22 postures and average scores of 1-5 individuals the average score is muscle endurance and strength, muscle elasticity, lung, and heart endurance. At the level of 0.05, all groups have at least one pair of differences. This study is a study of group samples. Therefore, the next study should be clearly defined as a separate control group and experimental group. Compare the results between the test groups and control the factors that may have a positive impact on the sample.

ไฟล์งานวิจัย

e3-รูปเล่มรายงานฉบับสมบูรณ์-สกสว-65-ทัศน์กร-ฉบับเข้าเล่ม.pdf

ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์

3 19 ส.ค. 2565

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ชั้น 14 อาคาร เอส เอ็ม ทาวเวอร์ 979/17-21 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400

https://www.tsri.or.th/

02 278 8200

callcenter@trf.or.th, webmaster@trf.or.th

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่