
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
รูปแบบการท่องเที่ยวสุขภาพเชิงสร้างสรรค์บนฐานองค์ความรู้การแพทย์พื้นบ้านและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนตำบลป่าเมี่ยง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
อาจารย์งามนิจ แสนนำพล
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
1560-65-HUSO-TSRI
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาศักยภาพและสถานการณ์ของแหล่งท่องเที่ยวสุขภาพเชิงสร้างสรรค์ของชุมชนตำบลป่าเมี่ยง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาองค์ความรู้การแพทย์พื้นบ้านและภูมิปัญญาท้องถิ่น 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวต่อการท่องเที่ยวสุขภาพเชิงสร้างสรรค์บนฐานองค์ความรู้การแพทย์พื้นบ้านและภูมิปัญญาท้องถิ่น 4) เพื่อสร้างรูปแบบการท่องเที่ยวสุขภาพเชิงสร้างสรรค์บนฐานองค์ความรู้การแพทย์พื้นบ้านและภูมิปัญญาท้องถิ่น การวิจัยนี้ใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างเก็บข้อมูลจากผู้นำชุมชน 6 คน แบบประเมินแหล่งท่องเที่ยวเก็บของมูลจากผู้เชี่ยวชาญ 6 คน ใช้แบบบันทึกการประชุมเก็บข้อมูลจากผู้นำชุมชน ผู้ประกอบการธุรกิจ ผู้บริหารแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ปราชญ์ท้องถิ่น และผู้รู้ด้านการแพทย์พื้นบ้าน 50 คน ใช้แบบประเมินโปรแกรมการท่องเที่ยวเก็บข้อมูลจากนักท่องเที่ยว 97 คน ใช้แบบบันทึกการประชุมเก็บข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญ ผู้ประกอบการธุรกิจ และผู้แทนจากแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชน 10 คน
ผลการวิจัยพบว่า 1) แหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่มีศักยภาพมากที่สุด คือ น้ำพุร้อนดอยสะเก็ด 2) ชุมชนมีภูมิปัญญาด้านการแพทย์พื้นบ้านด้านการใช้ยาสมุนไพรพื้นบ้าน ด้านการนวดแผนไทย และการรักษาตามความเชื่อ สำหรับภูมิปัญญาด้านการดูแลสุขภาพ และอาหารพื้นบ้าน พบว่า ชาวบ้านนิยมปลูกและรับประทานผักสมุนไพรหลากหลายชนิด 3)จุดเด่นของโปรแกรมการท่องเที่ยวคือมีกิจกรรมการท่องเที่ยวสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ ด้วยการเรียนรู้การดูแลสุขภาพด้วยธาตุเจ้าเรือน เรียนรู้การแช่ไข่และการทำยำไข่ออนเซ็น การเรียนรู้วิถีไทลื้อผ่านการรับประทานอาหารท้องถิ่นและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ การทำพวงกุญแจลูกประคบสมุนไพร 4) รูปแบบการท่องเที่ยวสุขภาพเชิงสร้างสรรค์ ประกอบด้วยชุมชนมีฐานทรัพยากรการท่องเที่ยวในท้องถิ่น กระบวนการเตรียมความพร้อมของชุมชน กระบวนการพัฒนาการท่องเที่ยวสุขภาพเชิงสร้างสรรค์ ตามแนวคิด (1) การบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน (2) การดูแลสุขภาพตามลักษณะบุคคล (3) การออกแบบกิจกรรมอย่างสร้างสรรค์
Abstract
The objectives of this research were 1) to study the potential and situation of the creative health tourism of Pa Miang, Doi Saket District, Chiang Mai. 2) to study the knowledge of folk medicine and local wisdom. 3) to study the opinions of tourists towards creative health tourism based on knowledge of folk medicine and local wisdom. 4) to create the creative health tourism model based on knowledge of folk medicine and local wisdom. This study was research and development. The research instruments were the semi- structure interviews with 6 local leaders, the health tourism attraction evaluation form with 6 experts; recorded meeting with 50 local leaders, community entrepreneurs, health tourism executive and local experts, or folk medicine experts; tour program evaluation questionnaires with 97 tourists; recorded meeting with 10 health tourism experts, business entrepreneurs and representatives from community-based tourism destinations.
The research results showed that 1) Doi Saket Hot Spring was the most potential health tourism destination in Pa Miang. 2) The community has folk medical wisdom on the use of traditional herbal medicines, Thai massage and faith healing. For health care wisdom and local food, the villagers grew and had a variety of herbs and vegetables. 3)The highlight of the tourism program was the tourism activities that created learning experiences by learning how to take care of your health based on the life elements, soaking onsen eggs, making onsen egg salad, learning local Tai Lue ethical way of life through eating local food and healthy beverages and making herbal compress keychains. 4) A creative health tourism management model consisting of local tourism resources base, community preparation process, the process of developing creative health tourism according to the concepts; (1) community-based tourism management, (2) health care according to individual characteristics (3) creative activity design.
ไฟล์งานวิจัย
รายงานฉบับสมบูรณ์ 15 เม.ย. 66 .pdf
ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์
8 19 ส.ค. 2565

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ชั้น 14 อาคาร เอส เอ็ม ทาวเวอร์ 979/17-21 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
02 278 8200
callcenter@trf.or.th, webmaster@trf.or.th