ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

การพัฒนารูปแบบชุดการประเมินภาวะสุขภาวะ ความรอบรู้ทางสุขภาพ และการประเมินพฤติกรรมสุขภาพจากภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนาในยุค Next normal


อาจารย์มุจลินท์ แปงศิริ

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

เลขทะเบียน :

1564-65-SCI-TSRI

บทคัดย่อ

           การศึกษาการพัฒนารูปแบบชุดการประเมินภาวะสุขภาวะ ความรอบรู้ทางสุขภาพ และการประเมินพฤติกรรมสุขภาพจากภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนาในยุควิถีชีวิตถัดไป ใช้การวิจัยเชิงผสมผสานขั้นสูง (Advanced mixed methods research designs) ระยะการวิจัยเชิงผสมผสาน (Mixed methods research design) แบบคู่ขนาน (Convergent parallel design) ระยะการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ดำเนินการวิจัยในผู้สูงอายุ ชายและหญิงที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ภูมิลำเนาชุมชนเวียงท่ากาน-ยุหว่า อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 295 คน เก็บข้อมูลโดยแบบสอบถาม การอภิปรายกลุ่มโดยการเสริมสร้างพลังอำนาจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา สถิติความถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Multiple Regression Analysis : Stepwise)

           ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการเสริมสร้างเสริมสุขภาพจากภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนา โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง  (x= 2.59 ± 0.16)  โดยปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเสริมสร้างเสริมสุขภาพจากภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนา โดยบูรณาการด้านสุขภาพและสังคมภายใต้วิถีชีวิตใหม่ ได้แก่ การรับรู้ด้านความรอบรู้ด้านสุขภาพ, การรับรู้ความสามารถของตนเองการรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติ, การศึกษา และรายได้ โดยสารถร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 46.8 รูปแบบชุดการประเมินภาวะสุขภาวะ ความรอบรู้ทางสุขภาพ และการประเมินพฤติกรรมสุขภาพจากภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนาในยุควิถีชีวิตถัดไป มีองค์ประกอบ 4 ด้าน ได้แก่ ระบบคัดกรองภาวะสุขภาพ การเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ ภาคีเครือข่าย และการส่งเสริมภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนา

Abstract

           This advanced mixed method research design with explanatory sequential design with convergent parallel design by qualitative research aimed to development of a health assessment model , health literacy and health behavior assessment from Lanna folk wisdom in the next normal era in the 100 elderly people aged 60 years at Sanpatong Sub-district Administrative organization Sanpatong district Chiangmai province , collected data by questionnaire, group discussion. The empowerment group data were analyzed using descriptive statistics with multiple regression analysis : Stepwise.

           The results showed that the health promotion behaviors from Lanna folk wisdom overall was at a moderate level (x= 2.59 ± 0.16). The Factors affecting health promotion behaviors from Lanna folk wisdom by integrating health and society under the next normal life were health literacy perception, self-efficacy perception, practical benefit perception, education, and income and they were predicted for 46.8 percent. The development of a health assessment model , health literacy and health behavior assessment from Lanna folk wisdom in the next normal era were fore components: The health screening system, The promoting health literacy, Network partners and The Lanna folk wisdom health promoting.

ไฟล์งานวิจัย

ไฟล์สมบูรณ์รวมเล่ม.pdf

ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์

4 19 ส.ค. 2565

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ชั้น 14 อาคาร เอส เอ็ม ทาวเวอร์ 979/17-21 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400

https://www.tsri.or.th/

02 278 8200

callcenter@trf.or.th, webmaster@trf.or.th

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่