
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาการใช้สมุนไพรในการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อการพึ่งพา ตนเองในวิถีชีวิตใหม่ของผู้สูงอายุ
อาจารย์ ดร.รพีพร เทียมจันทร์
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
1566-65-SCI-TSRI
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจและรวบรวมข้อมูลภูมิปัญญาการใช้สมุนไพรในการสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ 2) เพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาการใช้สมุนไพรในการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อการพึ่งพาตนเองในวิถีชีวิตใหม่ของผู้สูงอายุ และ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจต่อแหล่งเรียนรู้ของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือผู้สูงอายุและประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเวียงท่ากาน อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ข้อมูลเชิงปริมาณเก็บรวบรวมโดยใช้แบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและการวิเคราะห์แก่นสาระ
ผลการศึกษาพบว่า ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเวียงท่ากานมีภูมิปัญญาการใช้สมุนไพรเดี่ยวและสมุนไพรตำรับเพื่อการรักษาหรือบำบัดอาการเจ็บป่วยเบื้องต้น ผู้สูงอายุมีความต้องการแหล่งเรียนรู้ที่เป็นเอกสาร คู่มือ หรือสื่อสิ่งพิมพ์ และต้องการให้หน่วยงานในชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาการใช้สมุนไพรให้กับประชาชน ดังนั้น จึงมีการพัฒนาแหล่งเรียนรู้โดยจัดทำสื่อสิ่งพิมพ์ภูมิปัญญาการใช้สมุนไพรในการสร้างเสริมสุขภาพให้ผู้สูงอายุได้ใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ในครัวเรือนและมีการใช้สื่อสิ่งพิมพ์ดังกล่าวในองค์การบริหารส่วนตำบลและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เพื่อใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น ผลการศึกษาความพึงพอใจต่อแหล่งเรียนรู้ของผู้สูงอายุในภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.64±0.45)
Abstract
This study was participatory action research. The purposes of this study were 1) to survey and collect the wisdom of herbal medicine utilization for health promotion of the elderly, 2) to develop learning resources of herbal medicine utilization wisdom for health promotion toward self-sufficiency in the new normal era among the elderly, and 3) to assess satisfaction with learning resources of the elderly. The sample used in this study were the elderly and people aged 20 years and over in Wiang Thakan Subdistrict Administrative Organization, San Pa Tong District, Chiang Mai Province. Quantitative data was collected by using questionnaires and analyzed by using descriptive statistics. The qualitative data was analyzed by content analysis and thematic analysis.
The results found that, both of single herbs and an herbal recipe are used as herbal medicine wisdom for treatment or medication of common illnesses in Wiang Thakan Subdistrict Administrative Organization Area. The elderly need learning resources, which are documents, manuals or print media, and also need support from community organizations to be learning resources. Therefore, learning resources have been developed by making print media on herbal medicine utilization wisdom for health promotion of the elderly to be used as a learning resource in the household and the print media are also used in Subdistrict Administrative Organization and Health Promoting Hospital as local learning resources. The results of the satisfaction on learning resources of the elderly in overview was at the highest level ( =4.64±0.45).
ไฟล์งานวิจัย
ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์
15 19 ส.ค. 2565

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ชั้น 14 อาคาร เอส เอ็ม ทาวเวอร์ 979/17-21 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
02 278 8200
callcenter@trf.or.th, webmaster@trf.or.th