ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพผู้สูงอายุตามแนวชีวิตวิถีใหม่ โดยบูรณาการศักยภาพ ของชุมชนและภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนา


อาจารย์จันจิราภรณ์ สท้านไตรภพ

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

เลขทะเบียน :

1567-65-SCI-TSRI

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (R&D) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพของชุมชน ผู้สูงอายุและภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนา เพื่อวิเคราะห์และเตรียมความพร้อมของชุมชน ผู้สูงอายุ และนำไปสู่พัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพผู้สูงอายุโดยบูรณาการศักยภาพของชุมชนและภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้สูงอายุ จำนวน 300 คน ตัวแทนผู้สูงอายุ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 20 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง ใช้กระบวนการสนทนากลุ่มและสัมมนาเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการหากระบวนทัศน์ วิเคราะห์เชิงเนื้อหา เปรียบเทียบความต่างของข้อมูลและตีความในประเด็นที่ค้นพบเพื่อตรวจสอบยืนยันความตรงของผลการศึกษา

ผลการศึกษา พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 68 ปี มีความต้องการในการพัฒนาพื้นที่ชุมชนเวียงท่ากานเป็นพื้นที่นำร่องการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (ร้อยละ 80.00) ด้วยเหตุผลว่าเป็นชุมชนที่มีพื้นที่ของหมู่บ้านอยู่ในบริเวณโบราณสถานเวียงท่ากาน 1,300 ปี ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของอำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ และมีชุมชนอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น มีการจัดตั้งกลุ่มต่าง ๆ อย่างเข้มแข็ง และมีความหลากหลายของความน่าสนใจในการดึงดูดนักท่องเที่ยว อาทิ ภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนา ผลิตภัณฑ์ชุมชน ผลผลิตจากธรรมชาติ ผักปลอดสารพิษ กิจกรรมทำบุญทุกวันพระตลอดปี การฟ้อนยอง กลุ่มมองเซิง ตลอดจนมีสิ่งแวดล้อมที่ดีและ
มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น ได้แก่ ภาษายองและการแต่งกายชาวไทยองดั้งเดิม รวมถึงพิธีกรรมล้านนาที่สืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ที่สะท้อนถึงความเชื่อความศรัทธาในพิธีกรรมต่าง ๆ อันจะนำไปสู่การขับเคลื่อนการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพผู้สูงอายุโดยการเชื่อมโยงทุนชุมชนในทุกมิติและคงอนุรักษ์ไว้ซึ่งวิถีชุมชนยองดั้งเดิมควบคู่ไปกับการพัฒนา

          ผลจากการพัฒนา Community Business Model: Wiang Thakan เพื่อขับเคลื่อนการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพผู้สูงอายุโดยบูรณาการศักยภาพของชุมชนและภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนา ในพื้นที่อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ผ่านกิจกรรมโซนคนเตว..“กาดหมั้ว ครัวอุ๊ย” พบว่า ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.98) โดยให้เหตุผลที่หลากหลาย อาทิ รู้สึกมีความสุขในการเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมเนื่องจากไม่ต้องเหงาอยู่บ้านคนเดียว ทำให้มีกิจกรรมทำยามว่างและได้ฝึกบริหารสมองจากการคิดค้นเมนูชูสุขภาพหรือสร้างสรรค์กิจกรรมใหม่ ๆ ให้แก่ผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มนักท่องเที่ยว ทำให้สนุกและผ่อนคลายเนื่องจากมีกิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกายตลอดเวลา ทำให้จิตใจแจ่มใสจากการได้พบปะพูดคุยกับเพื่อน ๆ ผู้สูงอายุ และกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างถิ่น ตลอดจนผลพลอยได้จากการนัดฝึกซ้อมฟ้อนและเต้นรำกับกลุ่มเพื่อน ๆ ในทุก ๆ สัปดาห์ส่งผลทำให้สุขภาพกายและจิตดีอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนช่วยลดผลกระทบและความวิตกกังวลที่ได้รับจากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้มีรายได้ในครัวเรือนเพิ่มมากขึ้น ฯลฯ และผลจากการประเมินความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว (กลุ่มผู้สูงอายุและนักท่องเที่ยวทั่วไป) หลังจากนำต้นแบบที่ผ่านการปรับปรุงและพัฒนาครั้งที่ 2 มาทดสอบกับนักท่องเที่ยว พบว่า ความพึงพอใจโดยภาพรวมเพิ่มขึ้นจากเดิมระดับดี (ค่าเฉลี่ย 4.28) เป็นระดับดีมาก (ค่าเฉลี่ย 4.86) มีข้อเสนอแนะที่ต้องปรับปรุงและพัฒนาต่อไป คือ ควรเพิ่มอาหารทางสุขภาพที่หลากหลายตามกลุ่มวัย เพิ่มร้านค้าให้หลากหลาย เพิ่มจุดนั่งรับประทานอาหารหรือจุดนั่งชิวบริเวณลานกิจกรรม และมีการติดป้ายประชาสัมพันธ์ตลาดบริเวณประตูทางเข้าให้มองเห็นได้อย่างชัดเจน ตลอดจนเสนอแนะให้มีการพัฒนากิจกรรมเด่นในท้องถิ่นเพื่อจัดเป็นโปรแกรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพแบบครบวงจร ทั้งในรูปแบบเต็มวันหรือหลายวันเพื่อเป็นทางเลือกให้กับกลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มคนรักสุขภาพสำหรับการสร้างเสริมสุขภาพมิติใหม่ในระยะยาวต่อไป

Abstract

The purposes of this research and development were: To study the potential of the community and elderly including Lanna folk wisdom. To analyze and prepare the elderly community and lead to the development of health tourism for the elderly by integrating the potential of the community and Lanna folk wisdom. The sample group used in this study consisted of 300 elderly people, 20 elderly representatives and stakeholders. Data were collected using questionnaires. and a semi-structured in-depth interview form. Implemented group discussion processes and participatory workshops. Quantitative data were analyzed using descriptive statistics, mean, percentage, and qualitative data were analyzed by paradigm. content analysis Compare the differences in the data and interpret the findings to verify the validity of the study results.

          The results of the study revealed that the majority of the elderly were female. The average age is 68 years. There is a need to develop the Wiang Tha Kan community area as a pilot area for health tourism (80.00 percent) because the community has a village area in the 1300-year-old Wiang Thakan archaeological area, which is Important tourist attractions of San Pa Tong District Chiang Mai Province and has a dense community Strong groups have been established. And there are a variety of interesting things to attract tourists such as Lanna folk wisdom. community products natural products organic vegetables activities to make merit every Buddhist monk's day throughout the year, fooning, Mong Seng group, as well as having a good environment and distinctive identity such as Yong language and traditional Thai dress. including Lanna rituals that have been passed down from generation to generation that reflects the beliefs and beliefs in various rituals This will lead to driving health tourism for the elderly by connecting community capital in all dimensions and preserving the traditional Yong community way along with development.

          The result of the development of Community Business Model: Wiang Thakan to drive health tourism for the elderly by integrating the potential of the community and Lanna folk wisdom. in the area of ​​San Pa Tong District Chiang Mai Province Through activities in the Khon Toew zone.. “Kad Mua Krua Ui”, it was found that the elderly who participated in the activities had the highest level of satisfaction (average of 4.98), given various reasons such as feeling happy. To participate in activities because you do not have to be lonely at home alone. This allows for leisure activities and brain training by inventing healthy menus or creating new activities for the elderly who are tourists. Make it fun and relaxing as there are always physical activities. Make your mind clear from meeting with friends, elderly people and foreign tourists. As well as by-products of weekly dance and dance practice sessions with a group of friends, continually improving physical and mental health. as well as to reduce the impact and anxiety received from the Covid-19 situation. resulting in increased household incomes, etc., and the results of the satisfaction assessment of tourists (Elderly group and general tourists) After taking the model that has been renovated and developed the second time to test with tourists, it was found that overall satisfaction increased from good (mean 4.28) to very good (mean). 4.86) There are suggestions that need to be improved and further developed, namely, a variety of healthy foods should be added according to age groups. Add a variety of stores Add a dining spot or a chilling spot in the activity area. And there is a sign to publicize the market at the entrance door to be clearly visible. as well as suggesting the development of prominent local activities in order to form a comprehensive health tourism program Either full-day or multi-day as an alternative for the elderly and health lovers for long-term health promotion in a new dimension.

ไฟล์งานวิจัย

เล่มสมบูรณ์ ลายน้ำ.pdf

ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์

5 19 ส.ค. 2565

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ชั้น 14 อาคาร เอส เอ็ม ทาวเวอร์ 979/17-21 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400

https://www.tsri.or.th/

02 278 8200

callcenter@trf.or.th, webmaster@trf.or.th

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่