
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
รูปแบบการออกกำลังกายด้วยการใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ล้านนา
อาจารย์กานต์ชัญญา แก้วแดง
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
1569-65-SCI-TSRI
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุด้วยอุปกรณ์ออกกาลังกายจากภูมิปัญญาพื้นบ้าน ผลของการออกกาลังกายโดยด้วยอุปกรณ์ออกกาลังกายจากภูมิปัญญาพื้นบ้าน พัฒนาและเพิ่มมูลค่าอุปกรณ์ออกกาลังกายจากภูมิปัญญาพื้นบ้านเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุของผู้สูงอายุ องค์การบริหารส่วนตาบลเวียงท่ากาน อาเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตาบลเวียงท่ากาน ใช้วิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ที่มีอายุระหว่าง 60-75 ปี มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ไม่ป่วยเป็นโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการออกกาลังกาย จานวน 30 คน โดยใช้รูปแบบการออกกาลังกายด้วยการใช้ผ้าขาวม้าและไม้พลองโดยทาการออกกาลังกายอย่างต่อเนื่อง สัปดาห์ละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 12 สัปดาห์ สถิติที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างก่อนและหลังการเข้าร่วมโครงการ โดยใช้ paired sample t-test ที่ระดับความมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ผลการวิจัย พบว่า ความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อและข้อต่อ เพิ่มขึ้นหลังการออกกาลังกายด้วยผ้าขาวม้าและไม้พลอง และความปวดเมื่อยกล้ามเนื้อเมื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังการออกกาลังกาย มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Abstract
This research were to study Elderly health promotion with Exercise equipment from folk wisdom, effect of exercising with exercise equipment from folk wisdom and Increase the value of exercise equipment from folk wisdom for health promotion of the elderly in Wianthakan Subdistrict Administrative Organization, Sunpathong District, Chiang mai Province. Use a method to select a specific sample group. who are between 60-75 years old are in good health, free from disease-fighting obstacles to exercise, using a stick exercise pattern and stretching exercises by pakamar continuous exercise 3 times a week for 12 weeks. The statistics used in this research were percentage, average, standard deviation (S.D.) and also compared the physical fitness of the elderly before and after joining the program by paired sample t-test with the statistical significance level at 0.05
The result showed that flexibility of muscles and joints Increased after exercising with pakamar and stick and muscle pain and aches compared before and after exercise. There was significant at the P-value 0.05
ไฟล์งานวิจัย
ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์
6 19 มิ.ย. 2566

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ชั้น 14 อาคาร เอส เอ็ม ทาวเวอร์ 979/17-21 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
02 278 8200
callcenter@trf.or.th, webmaster@trf.or.th