
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
การพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการธุรกิจชุมชนและเครือข่ายชุมชนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ชุมชนอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่
อาจารย์ ดร.อาชวิน ใจแก้ว
คณะวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
1571-65-MGT-TSRI
บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและวิเคราะห์ศักยภาพของบุคลากรในการจัดการการท่องเที่ยวอย่างมีส่วนร่วมของผู้ประกอบการการท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ชุมชน 2) พัฒนาผู้ประกอบการท่องเที่ยวและเครือข่ายการท่องเที่ยวของชุมชน 3) เสริมสร้างศักยภาพการแข่งขัน ของผู้ประกอบการการท่องเที่ยว และเครือข่ายการท่องเที่ยวในชุมชน อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ การวิจัยใช้วิธีการศึกษาแบบมีส่วนร่วมเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และเอกสารที่เกี่ยวข้อง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า อำเภอพร้าวมีจุดขายที่น่าสนใจหลายจุด มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์และวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทั้งด้านศิลปวัฒนธรรม ประเพณี ทรัพยากรธรรมชาติ เกษตร และสิ่งแวดล้อมที่ดี ความเป็นอยู่ร่วมกันฉันญาติพี่น้อง มีมิตรภาพ สินค้าและบริการที่หลากหลายของชุมชน ผู้นำกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจชุมชน วิสาหกิจชุมชนเป็นผู้ที่มีความมุ่งมั่น อดทน พยายาม ใฝ่รู้ต่อการพัฒนาเพื่อต่อยอดสู่ ความยั่งยืน แต่ยังมีปัญหาของการดำเนินงานเนื่องด้วยกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจชุมชน วิสาหกิจชุมชน มักจะถนัดในการผลิตสินค้าและบริการตามแบบฉบับของตนเอง วิสัยทัศน์ทางการตลาดยังไม่ชัดเจน ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงวัยซึ่งทำให้เกิดปัญหาทางด้านสมรรถนะในการใช้เทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้กับการดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขาดความคิดสร้างสรรค์ที่จะสร้างความน่าดึงดูดของสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน ดังนั้นเพื่อให้เกิดการยกระดับศักยภาพของผู้ประกอบการจึงได้จัดให้มีการอบรม และการอบรมเชิงปฏิบัติการทางด้านการพัฒนาศักยภาพ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ ตามแนวคิดผู้ประกอบการธุรกิจชุมชน วิสาหกิจชุมชนยุคใหม่ให้มีองค์ความรู้ ประสบการณ์ รับเอาคำแนะนำจากวิทยากรไปประยุกต์ใช้กับการดำเนินงานให้เหมาะสมกับสภาพการณ์และบริบท โดยเมื่อได้เข้าร่วมการอบรม กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจชุมชนเริ่มเกิดการตื่นตัวทั้งด้านของแนวคิด วิสัยทัศน์ของการมองเห็นโอกาสในสภาวะการที่เปลี่ยนแปลงไปของสภาพแวดล้อม เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนให้มีความสร้างสรรค์ แปลกใหม่ ออกสู่ตลาดมากยิ่งขึ้น โดยคำนึงถึงกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมาย เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน เกิดความคิดพัฒนาช่องทางการขาย การสร้างสรรค์บรรจุภัณฑ์ที่มีความเหมาะสมและดึงดูดกลุ่มผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มบ้านหนองครก ตำบลสันทราย มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์จักสานในรูปแบบที่ทันสมัยมากขึ้น ไม่เน้นเฉพาะการใช้งานในชีวิตประจำวัน ได้ประยุกต์ใช้สำหรับการประดับตกแต่งเพิ่มขึ้น พัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์หรือสินค้า ให้มีความหลากหลายของความต้องการ เพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายผ่านทางเครือข่ายสังคมออนไลน์ ได้พยายามเพิ่มกลุ่มคนรุ่นใหม่เข้ามาเสริมเติมต่อยอดให้เข้าทางความคิดสร้างสรรค์ พร้อมกับเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ ตลอดจนการพัฒนารูปแบบการให้บริการนวดสปา ที่มีสมุนไพรช่วยผ่อนคลาย และการประยุกต์ใช้เครือข่ายออนไลน์ในการประชาสัมพันธ์อย่างเข้มข้นมากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้เกิดความยั่งยืนต่อไป
Abstract
This research aimed to1) study and analyze the potential of personnel in tourism management with participation of tourism and community products 2) develop tourism operators and tourism networks 3) strengthen the competitiveness of tourism operators And tourism networks in the community of Phrao District, Chiang Mai Province. The research method collected data from in-depth interviews, group discussion and related documents, data analysis uses content analysis. The results showed that Phrao District has many interesting selling points. There are ethnic and cultural diversity, local wisdom in terms of arts and culture, traditions, natural resources, agriculture and good environment. There are a coexistence of relatives, friendship, a variety of products and services of the community products. The leaders of community business entrepreneurs are determined, patient, trying, and eager to learn about development in order to extend to sustainability. However there are still some problems of operation because the community business enterprise tend to be good at producing their own products and services. The marketing vision is unclear. Most of them are elderly people who have problems with their competency in using technology, lack of creativity to create attractiveness of community products. Therefore, in order to raise the potential of entrepreneurs, training has been provided and training workshops on potential development to develop products and services based on the concept of community business entrepreneurs. A new generation of community enterprises got knowledge, experience, took advice from training to apply to the operation to suit the situation and context. By joining the training, a group of community business entrepreneurs began to awaken in terms of concepts, a vision of seeing opportunities in the changing state of the environment. The development of community products to be more creative and new to the market, taking into account the target consumer group, mutual learning exchange. The idea was to develop a sales channel, creation of packaging that is suitable and attracts more groups of consumers. In particular, the Ban Nong Khrok community enterprise group in San Sai Sub-district has developed wicker products in a more modern form. The product was not focusing only on daily use. It has been applied for more decoration, develop a product or product model provide a variety of needs and increase distribution channels through online social networks. The local enterprise head has tried to add up new generation members to the creative path, along with new technologies and innovations, as well as the development of spa massage services. They used local herbs to help relax and the application of online networks in public relations more intensely which will contribute to further sustainability.
ไฟล์งานวิจัย
3.-บทคัดย่อภาษาไทยและอังกฤษ.pdf
4.-สารบัญ-สารบัญตาราง-สารบัญภาพ.pdf
บทที่-1-5-พร้อมภาคผนวกและประวัติ-อ.-อาชวิน-อ. (1).pdf
ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์
4 19 ส.ค. 2565

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ชั้น 14 อาคาร เอส เอ็ม ทาวเวอร์ 979/17-21 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
02 278 8200
callcenter@trf.or.th, webmaster@trf.or.th