
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อพัฒนาเป็นห่วงโซ่มูลค่าใหม่และโมเดลธุรกิจที่เหมาะสมภายใต้รูปแบบชีวิตวิถีใหม่ของอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่
ผู้ช่วยศาสตราจารย์จิตติคุณ นิยมสิริ
วิทยาลัยนานาชาติ
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
1576-65-IC-TSRI
บทคัดย่อ
รายงานการวิจัย เรื่อง การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อพัฒนาเป็นห่วงโซ่คุณค่าใหม่และโมเดลธุรกิจที่เหมาะสมภายใต้รูปแบบชีวิตวิถีใหม่ของอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.วิเคราะห์ลักษณะของห่วงโซ่อุปทานการท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ชุมชนในปัจจุบันของอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ 2.พัฒนาห่วงโซ่คุณค่าการท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ชุมชนใหม่ของอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ และ 3.สร้างโมเดลธุรกิจที่เหมาะสมภายใต้รูปแบบชีวิตวิถีใหม่ของอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่
ผลการวิจัยพบว่าลักษณะของห่วงโซ่อุปทานการท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ชุมชนในปัจจุบันของอำเภอพร้าวยังไม่ได้มีการประสานงานกับในระหว่างต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ รวมถึงยังขาดความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดห่วงโซ่อุปทานและการดำเนินงานร่วมกันกับธุรกิจในส่วนต่าง ๆ ทำให้การดำเนินงานเป็นไปโดยมีการเชื่อมโยงระหว่างธุรกิจค่อนข้างต่ำ ในส่วนของการพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าการท่องเที่ยวนั้น ผู้วิจัยได้นำเสนอ 7A Model เพื่อเป็นแนวทางในการเพิ่มมูลค่าตลอดทั้งกระบวนการท่องเที่ยว ด้านการพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าผลิตภัณฑ์ได้ทำการศึกษาผลิตภัณฑ์ข้าวหลามแม่อ่อนศรี และได้จัดทำโมเดลห่วงโซ่คุณค่าขึ้น เพื่อนำเสนอวิธีการในการเพิ่มประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์จากแนวคิด Economies of Scale และผู้วิจัยได้นำเสนอโมเดลทางธุรกิจ Business Model Canvas เพื่อพัฒนาการบริหารจัดการธุรกิจข้าวหลามให้เกิดต้นทุนที่เหมาะสม เพิ่มกำไร สร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการทำธุรกิจ
Abstract
This research: Analysis of the tourism supply chain and local wisdom products to develop a new value chain and business model under the new normal of Phrao District, Chiang Mai Province intended for 1. Analyze the current characteristics of tourism and community products supply chain 2. Develop tourism and new community products value chain and 3. Create a business model canvas of community products of Phrao District, Chiang Mai Province.
The results showed that the characteristics of the supply chain of tourism and community products at present in Phrao District are not coordinated with the upstream, midstream and downstream areas, including lack of understanding of supply chain concepts and operations. Low collaboration between businesses. As for the development of the tourism value chain, researchers have proposed the 7A model as a guide to the value-added of the entire tourism process. In terms of product value chain development, Kao Larm Mae-On-sri products were studied and a value chain model was created. In order to propose ways to improve business efficiency, economies of scale theory were applied. Moreover, researchers have proposed a business model canvas to improve business management and to achieve reasonable costs, profits, and customer satisfaction. Therefore, gaining business sustainability at the end.
ไฟล์งานวิจัย
รายงานวิจัย ปี 65_จิตติคุณ_มีลายน้ำ.pdf
ข้อมูลการตีพิมพ์
ชื่อบทความ :
แหล่งที่ตีพิมพ์ :The Journal of Spatial Innovation Development (JSID) Vol. 5No.1January-April 2024 pp.92-108
ปีที่ตีพิมพ์ :2567
ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์
5 19 ส.ค. 2565

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ชั้น 14 อาคาร เอส เอ็ม ทาวเวอร์ 979/17-21 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
02 278 8200
callcenter@trf.or.th, webmaster@trf.or.th