ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

นวดไทยเพื่อสุขภาพ : การยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยและสุขลักษณะเพื่อรองรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพสู่วิถีปกติใหม่ (New Normal) จังหวัดเชียงใหม่


อาจารย์ศิโรช แท่นรัตนกุล

คณะวิทยาการจัดการ

เลขทะเบียน :

1579-65-MGT-TSRI

บทคัดย่อ

งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินภาพลักษณ์ของอุตสาหกรรมนวดไทยเพื่อสุขภาพในยุควิถีปกติใหม่ (New Normal) และเพื่อพัฒนาการจัดการมาตรฐานความปลอดภัยและสุขลักษณะของอุตสาหกรรมนวดไทยเพื่อสุขภาพในวิถีปรกติใหม่ (New Norm) จังหวัดเชียงใหม่ รวมถึงเพื่อนำเสนอแผนและถ่ายทอดแบบจำลองการบริหารจัดการมาตรฐานความปลอดภัยและสุขลักษณะของอุตสาหกรรมนวดไทยเพื่อสุขภาพในวิถีปรกติใหม่ (New Norm) จังหวัดเชียงใหม่ โดยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed-Method Research) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ใช้บริการ จำนวน 400 คน ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการถดถอยเชิงพหุคูณ และเก็บรวมรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ที่เกี่ยวข้องกับสถานประกอบการนวดไทยเพื่อสุขภาพจำนวน 15 คน

ผลการวิจัยพบว่า ภาพลักษณ์ของอุตสาหกรรมนวดไทยเพื่อสุขภาพในยุควิถีปกติใหม่ (New Normal) ในมุมมองผู้ใช้บริการส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง  โดยความคิดเห็นที่มีต่อมาตรฐานด้านสุขลักษณะของสถานประกอบการและความปลอดภัยในการเข้ารับบริการ รวมถึงมาตรฐานการให้บริการของสถานประกอบการนวดไทยเพื่อสุขภาพในยุควิถีปกติใหม่ทั้ง 3 คุณลักษณะ อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนผลการทดสอบอิทธิของคุณลักษณะที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์ของอุตสาหกรรมนวดไทยเพื่อสุขภาพในยุควิถีปกติใหม่ของจังหวัดเชียงใหม่ พบว่า มี 2 คุณลักษณะที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์ของอุตสาหกรรมนวดไทยในยุควิถีปกติใหม่ คือ มาตรฐานด้านสุขลักษณะของสถานประกอบการ และ มาตรฐานความปลอดภัยในการเข้ารับบริการ  โดยสามารถร่วมกันพยากรณ์ได้ คิดเป็นร้อยละ 20.30

ส่วนการพัฒนาการจัดการมาตรฐานความปลอดภัยและสุขลักษณะของอุตสาหกรรมนวดไทยเพื่อสุขภาพในวิถีปรกติใหม่ (New Norm) จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า การบริหารจัดการมาตรฐานความปลอดภัยและสุขลักษณะของอุตสาหกรรมนวดไทยเพื่อสุขภาพ ประกอบด้วยหลักการสำคัญ 5 ประการ ต่อไปนี้ 1) การจัดโครงสร้างทางการจัดการ (Management Structure) 2) การวางแผนการจัดการ (Management Planning) 3) การจัดการการสื่อสารความเสี่ยงและภาวะวิกฤต (Risk & Crisis Communication Management)  4) การควบคุมการจัดการ (Management Control) และ 5) การประเมินผลการจัดการ (Management Assessment) โดยการจัดการมาตรฐานความปลอดภัยและสุขลักษณะของอุตสาหกรรมนวดไทยเพื่อสุขภาพตามโครงสร้างดังกล่าวสามารถลดความเสี่ยงและการเกิดวิกฤตด้านภาพลักษณ์ให้กับสถานประกอบการนวดไทยเพื่อสุขภาพในวิถีปรกติใหม่ (New Norm) ได้เป็นอย่างดี

Abstract

This research is aimed 1) to assess the image of the Thai massage industry for health in the New Normal era, 2) to develop the management of safety and hygiene standards of the Thai massage industry in the New Normal era, and 3) to present a plan and transfer knowledge, a management model for safety and hygiene standards of the Thai massage industry for health in the New Normal era, in Chiang Mai Province. This research is a Mixed-Method Research between Quantitative Research and Qualitative Research. Data was collected from 400 service users and analyzed by multiple regression statistics. and collected data from in-depth interviews with 15 entrepreneurs            The results showed that the image of the Thai massage industry for health in the New Normal era from the perspective of most service users was at a moderate level. The opinions on the sanitary standards of the workplace and the safety of receiving services, including the management standards of Thai massage establishments for health in the New Normal era, three characteristics, were at a moderate level. Furthermore, the results of testing the influence of factors affecting the image of the Thai massage industry for health in the new average era of Chiang Mai. It was found that two characteristics affected the idea of the Thai massage industry in the latest middle period: he hygienic standards of the establishments and the safety standards for receiving services, which could be predicted together, accounting for 20.30 percent.           The management model for of safety and hygiene standards of the Thai massage industry in the New Normal era, consists of five principles: 1) structure management 2) planning management 3) media and communication management 4) controlling management and 5) Assessment management.

ไฟล์งานวิจัย

1.ปก.pdf

2.ปกใน.pdf

3.-กิตติกรรมประกาศ-.pdf

4.-บทคัดย่อ.pdf

5.-Abstract.pdf

5.-Abstract-.pdf

6.-สารบัญ-.pdf

7.-บทที่-1-บทนำ-.pdf

8.-บทที่-2-แนวคิดทฤษฎี-.pdf

9.-บทที่-3-วิธีดำเนินงานวิจัย-.pdf

10.-บทที่-4-ผลการวิจัย-.pdf

11.-บทที่-5-สรุป-อภิปรายผล-และข้อเสนอแนะ-.pdf

12.-บรรณานุกรม-.pdf

13.-ภาคผนวก-.pdf

14.-ประวัติผู้วิจัย-อ.ดร.ศิโรช.pdf

ข้อมูลการตีพิมพ์

ชื่อบทความ :

แหล่งที่ตีพิมพ์ :วารสารการสื่อสารมวลชน คณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2565 หน้า 120-150

ปีที่ตีพิมพ์ :2565

14 19 ส.ค. 2565

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ชั้น 14 อาคาร เอส เอ็ม ทาวเวอร์ 979/17-21 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400

https://www.tsri.or.th/

02 278 8200

callcenter@trf.or.th, webmaster@trf.or.th

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่