
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
นวัตกรรมการสื่อสารอัตลักษณ์และเรื่องราวท้องถิ่นเพื่อเพิ่มมูลค่าการท่องเที่ยวชุมชนช่างโบราณ จังหวัดเชียงใหม่
อาจารย์ ดร.อุไร ไชยเสน
คณะวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
1582-65-MGT-TSRI
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์การวิจัยคือ 1) เพื่อศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับอัตลักษณ์และเรื่องราวท้องถิ่นของชุมชนช่างโบราณ จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อพัฒนานวัตกรรมการสื่อสารอัตลักษณ์และเรื่องราวท้องถิ่นเพื่อเพิ่มมูลค่าการท่องเที่ยวชุมชน ช่างโบราณ จังหวัดเชียงใหม่ และ 3) เพื่อถ่ายทอดและนำนวัตกรรมการสื่อสารอัตลักษณ์และเรื่องราวท้องถิ่นไปใช้ประโยชน์เพื่อเพิ่มมูลค่าการท่องเที่ยวชุมชนช่างโบราณ จังหวัดเชียงใหม่ ศึกษาจากผู้นำชุมชน 25 คน จากชุมชนช่างโบราณชุมชนหมื่นสารบ้านวัวลาย ชุมชนวัดศรีสุพรรณ ชุมชนวัดนันทาราม ชุมชนพวกแต้ม และชุมชนศรีปันครัว และศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับอัตลักษณ์และเรื่องราวของแต่ละชุมชน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมและแบบสัมภาษณ์กลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า องค์ความรู้เกี่ยวกับอัตลักษณ์และเรื่องราวท้องถิ่นของชุมชนช่างโบราณ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นองค์ความรู้ที่เชื่อมโยงกับอาชีพและภูมิปัญญา คือ เครื่องเงิน เครื่องเขิน คัวตอง เครื่องเขินไม้ไผ่ขด มีความเป็นมา มีครูช่าง มีสถานที่ แต่ขาดการสานต่อจากคนรุ่นใหม่ ผลการศึกษาพบว่า ชุมชนช่างโบราณมีการพัฒนานวัตกรรมการสื่อสารสื่อสารอัตลักษณ์และเรื่องราวท้องถิ่นเพื่อเพิ่มมูลค่าการท่องเที่ยวชุมชน ให้สอดคล้องและเข้ากันได้กับบริบทการสื่อสารเดิมที่ชุมชนมีอยู่ และภายใต้ความเป็นไปได้ของการนำไปใช้ประโยชน์ ในรูปแบบของ อีบุ๊ก คลิปวิดีโอ และอินโฟกราฟิก ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ อัตลักษณ์ในอดีต ที่คงอยู่และต้องการสืบทอด ปฏิทินกิจกรรมชุมชน และขั้นตอนการทำชิ้นงาน ผลการศึกษาพบว่า ชุมชนช่างโบราณมีการนำนวัตกรรมการสื่อสารอัตลักษณ์และเรื่องราวท้องถิ่นของแต่ละชุมชน 1) สื่อสาร ณ จุดสถานที่ท่องเที่ยวของชุมชน 2) ใช้สื่อบุคคลให้มีส่วนช่วยในการสื่อสาร 3) สื่อสารไปยังกลุ่มไลน์ต่าง ๆ 4) สื่อสารบนหน้าเพจ และ 5) สื่อสารกับกิจกรรมที่มีบุคคลภายนอกมาร่วมทำ
Abstract
This research is a qualitative research. The purposes are 1) to examine the knowledge pertaining to the identity and local narratives of the traditional artisan communities in Chiang Mai province., 2) to foster innovation in identity and local narrative communication to enhance the value of community tourism in the traditional artisan communities of Chiang Mai province 3) to disseminate and apply innovations in identity and local narrative communication for the purpose of increasing the value of community tourism in the traditional artisan communities of Chiang Mai province. This research conducted data from 25 25 community leaders from various traditional artisan communities, including Muang Sa Ban Wat Lai, Wat Sri Suphan, Wat Nantha Ram, Pak Taem, and Sri Pun Kraw. Additionally, it incorporated an examination of documents related to the identity and narratives of each community. The research methods employed encompassed non-participatory observations and group interviews.
The research findings reveal that the knowledge concerning the identity and local narratives of the traditional artisan communities in Chiang Mai province is intricately linked with their professions and cultural wisdom. This includes items such as silverware, ceramics, traditional clothing, bamboo weaving tools, cultural origins, master craftsmen, and significant locations, albeit with a gap in transmission to younger generations.
Furthermore, the study uncovered that the traditional artisan communities have initiated innovations in identity and local narrative communication. These innovations aim to align with and complement the existing communication context within these communities. These innovations are being applied with the potential to benefit the communities through formats such as e-books, video clips, and infographics. These materials contain content related to the enduring identity and the need for heritage preservation, community event calendars, and the process of crafting.
In conclusion, the research establishes that the traditional artisan communities have embraced innovations in identity and local narrative communication. These innovations encompass: 1)Communication at community tourism sites 2) The utilization of personal media for communication assistance. 3) Communication through various Line groups. 4) Communication via community web pages. 5)Communication with external individuals participating in community activities.
ไฟล์งานวิจัย
ff65_urai_เล่มสมบูรณ์มีลายน้ำ.pdf
ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์
4 19 ส.ค. 2565

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ชั้น 14 อาคาร เอส เอ็ม ทาวเวอร์ 979/17-21 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
02 278 8200
callcenter@trf.or.th, webmaster@trf.or.th