ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

การพัฒนาระบบสื่อสารออนไลน์ด้วยเครือข่ายลอราระหว่างเครื่องจักรกับเครื่องจักรและฐานข้อมูลมหัตแบบผสมผสานสำหรับการทำเกษตรอัจฉริยะ


วรจิตต์ เศรษฐพรรค์

วิทยาลัยพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีชุมชนแห่งเอเชีย

เลขทะเบียน :

1586-65-ADIC-TSRI

บทคัดย่อ

การพัฒนาระบบสื่อสารออนไลน์ด้วยเครือข่ายลอรา ระหว่างเครื่องจักรกับเครื่องจักรโดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตทุกสรรพสิ่ง (Internet of Things) เข้ามาช่วยบริหารจัดการการทำเกษตรกรรมในรูปแบบที่เหมาะสมเพื่อสร้าง Big Data นั้น มีความจำเป็นอย่างมากในการประมวลผลและควบคุมสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมแก่การเจริญเติบโตของพืช การสร้างฐานข้อมูลขนาดใหญ่ส่วนมากต้องการสัญญาณอินเทอร์เน็ตที่มีความเสถียรสูง ทำให้ไม่สามารถขยายผลไปใช้ในพื้นที่ที่ไม่มีสัญญาณอินเทอร์เน็ตได้ การพัฒนาระบบสื่อสารออนไลน์ด้วยเครือข่าย LoRa เป็นทางออกที่ดีในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว งานวิจัยนี้ได้ทำการทดลองส่งข้อมูลไปยังระบบ Internet ด้วยขนาดข้อความ 64 bytes ผ่านระบบสื่อสารออนไลน์ด้วยเครือข่าย LoRa จำนวน 1,000 ครั้ง พบว่าเกิดข้อผิดพลาดน้อยมากเพียง 16 ครั้ง หรือคิดเป็น 1.60 % สามารถใช้รับส่งข้อมูลไปยังระบบ Cloud ได้อย่างดี นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาระบบ Cloud โดยใช้ชุดโปรแกรมออนไลน์ที่ทำงานแบบ Real-Time Server-Side Script มาช่วยประมวลผล เพื่อช่วยป้องกันความผิดพลาดในการสื่อสาร รวมถึงการนำ Server Side Script ที่สื่อสารกันผ่าน MQTT Protocol เข้ามาบันทึกฐานข้อมูลแบบ Time-Serial Database ทำให้สามารถเก็บข้อมูลและเรียกข้อมูลขนาดใหญ่ได้อย่างรวดเร็วเหมาะกับการทำงานร่วมกับเครือข่าย LoRa จากการทดลองดึงข้อมูลจำนวน 10,000 ชุดข้อมูล พบว่า Time-Serial Database ใช้เวลาเฉลี่ยเพียง 4.914 วินาที ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าการออกแบบพัฒนาระบบสื่อสารไร้สายแบบ LoRa และการพัฒนาระบบฐานข้อมูลแบบผสมผสานจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานฐานข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถยกระดับการเกษตรด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลที่เหมาะสม

Abstract

Developing a machine-to-Machine Online Communication System with LoRa Network by applying internet of things technology to help manage farming in a suitable way to create Big Data is very necessary to process and control the environment suitable for plant growth. Building large databases mostly requires a very stable internet signal, making it impossible to expand to areas where there is no internet signal. Developing an online communication system with the LoRa network is a good solution to this problem. In this research, the data was sent to the Internet with a message size of 64 bytes via the online communication system using the LoRa network for 1000 times. It was found that the error was very low, only 16 times or representing 1.60%. It can be used to transmit data to the Cloud system as well. There is also the development of the Cloud system by using an online program that works in the form of Real-Time Server-Side Script to help process it. To help with communication errors, including the introduction of Server Side Script that communicates with the MQTT Protocol to record the Time-Serial Database, it can store and retrieve large data quickly, suitable for working with the LoRa network. From the experiment to retrieve 10,000 data sets, it was found that the Time-Serial Database took an average of only 4.914 seconds. The results show that the design, development of LoRa wireless communication systems and the development of an integrated database system can effectively optimize database applications and enhance agriculture with appropriate digital technology.

ไฟล์งานวิจัย

15.2-รายงานฉบับสมบูรณ์.pdf

ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์

7 19 ส.ค. 2565

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ชั้น 14 อาคาร เอส เอ็ม ทาวเวอร์ 979/17-21 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400

https://www.tsri.or.th/

02 278 8200

callcenter@trf.or.th, webmaster@trf.or.th

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่