
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
การประยุกต์ใช้ไอโอทีและการสื่อสารข้อมูลไร้สายด้วยเครือข่ายลอราในโรงเรือนเกษตรอัจฉริยะระบบปิด
ผู้ช่วยศาสตราจารย์อัตถ์ อัจฉริยมนตรี
คณะเทคโนโลยีการเกษตร
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
1587-65-AGRI-TSRI
บทคัดย่อ
การประยุกต์ใช้ไอโอทีและการสื่อสารข้อมูลไร้สายด้วยเครือข่ายลอราในโรงเรือนเกษตรอัจฉริยะระบบปิด เป็นการส่งเสริมให้เกิดเทคโนโลยีสำหรับการทำเกษตรอัจฉริยะที่จะเข้ามาช่วยสนับสนุนการทำเกษตร และช่วยให้สามารถเปลี่ยนการเกษตรแบบดั้งเดิมไปสู่การเกษตรสมัยใหม่ งานวิจัยนี้ได้ทำการพัฒนาบอร์ดอิเล็กทรอนิกส์ที่โดยการใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ ขนาดเล็กเป็นหน่วยประมวลผลที่สามารถทำงานร่วมกันกับเซ็นเซอร์ เช่น เครื่องวัดความชื้นในดิน เซ็นเซอร์วัดค่าการนำไฟฟ้า โซลินอยด์วาล์ว และมิเตอร์น้ำ เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาบริหารจัดการควบคุมการให้น้ำ และการระบายอากาศภายในโรงเรือนเกษตร นอกจากนี้ในงานวิจัยยังได้เสนอแนวคิดการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารระยะไกล และระบบควบคุมอัตโนมัติผ่านเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตทุกสรรพสิ่ง (Internet of things) ที่สามารถทำให้ผู้ใช้ติดตาม และควบคุมโรงเกษตรผ่านเว็บแอปพลิเคชันได้ โดยที่ระบบมีความเสถียรสูงถึงแม้จะอยู่ในพื้นที่ห่างไกล จากผลการทดลองแสดงให้ทราบว่าการส่งข้อมูลระยะไกลมีความผิดพลาดเพียง 7.7% ระบบยังสามารถลดการใช้น้ำได้มากถึง 60% นอกจากนี้ผลการทดสอบจากแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้งานต่อระบบโดยรวม ยังแสดงให้ทราบความพึงพอใจมากของผู้ใช้โดยมีคะแนนความพึงพอใจอยู่ที่ 4.17 คะแนน จากคะแนนโดยรวม 5 คะแนน
Abstract
The application of IoT and wireless data communication with the LoRa network in closed-System Greenhouse is fostering technologies for smart farming that will support farming and enable the transition from traditional agriculture to modern agriculture. In this research, an electronic board was developed using small microcontroller to be a processor that can work together with sensors such as soil moisture sensor, EC sensor, solenoid valve, and water meter. After that, the obtained information was used to manage and control the water supply. and ventilation within agricultural greenhouses. In addition, the research also presents a concept of using remote communication technology and automatic control system through internet of things technology that can enable users to monitor and control agricultural plants through a web application. The system is highly stable even in remote areas. From the experimental results, it showed that the transmission of long-distance data has only 7.7% error. The system was able to reduce water consumption by up to 60%. In addition, the test results from the user satisfaction questionnaire on the overall system showed high satisfaction of users with a satisfaction score of 4.17. Score out of 5 total scores.
ไฟล์งานวิจัย
ข้อมูลการตีพิมพ์
ชื่อบทความ :
แหล่งที่ตีพิมพ์ :การประชุมสัมมนาวิชาการรูปแบบพลังงานทดแทนสู่ชุมชนแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 15 (TREC-15)
ปีที่ตีพิมพ์ :2565
ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์
5 19 ส.ค. 2565

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ชั้น 14 อาคาร เอส เอ็ม ทาวเวอร์ 979/17-21 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
02 278 8200
callcenter@trf.or.th, webmaster@trf.or.th