ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

การพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอเชิงสร้างสรรค์จากกากกาแฟเหลือทิ้งในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่


อาจารย์จิราพร ชุมชิต

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

เลขทะเบียน :

1591-65-SCI-TSRI

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์งานวิจัยคือ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนาสีย้อมและสีพิมพ์จากกากกาแฟเหลือทิ้ง 2)เพื่อออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอเชิงสร้างสรรค์จากกากกาแฟเหลือทิ้ง 3) เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และนวัตกรรมการผลิตสิ่งทอเชิงสร้างสรรค์สู่ชุมชนเป้าหมาย และ 4) เพื่อทดสอบการยอมรับของผู้บริโภคที่มีต่อต้นแบบผลิตภัณฑ์ พบว่า การย้อมเส้นด้ายฝ้ายเฉพาะสีสกัดกากกาแฟทำให้เส้นด้ายมีสีน้ำตาล-ส้ม ซึ่งเมื่อเพิ่มปริมาณกากกาแฟมีผลให้ความสว่างของเส้นด้ายสูงขึ้น แต่ค่าสีแดงและค่าสีเหลืองจะลดลง การใช้น้ำขี้เถ้าเป็นสารช่วยย้อมส่งผลให้เส้นด้ายมีค่าสีแดงและสีเหลืองสูงที่สุด โดยเฉพาะวิธีการย้อมพร้อมซึ่งมีค่า a* สูงสุดเท่ากับ 9.87 และค่า b* สูงสุดเท่ากับ 15.04 ส่วนน้ำมะขามเปียกมีผลให้เส้นด้ายมีค่าสีแดงต่ำที่สุด ด้านการพิมพ์พบว่าไคโตซาน 2% ส่งผลให้ผ้าพิมพ์มีค่าสีแดง (a*) สูงที่สุดเท่ากับ 5.83 และค่าสีเหลือง (b*) สูงสุดเท่ากับ 22.97 เมื่อใช้กากกาแฟ 3 กิโลกรัมต่อน้ำ 6 ลิตร เมื่อนำผลการย้อมมาประยุกต์ใช้กับการออกแบบและพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์จำนวน 3 รูปแบบ นำไปสอบถามกลุ่มตัวอย่างจำนวน 50 คน พบว่า ค่าเฉลี่ยรวมการยอมรับผลิตภัณฑ์เท่ากับ 4.05 อยู่ในระดับมาก ซึ่งยอมรับมากที่สุดในต้นแบบผลิตภัณฑ์รูปแบบที่ 3 การถ่ายทอดองค์ความรู้สู่กลุ่มเป้าหมาย พบว่า กลุ่มแม่บ้านรวมใจข่วงเปาหมู่ที่ 9 ข่วงเปา ตำบลข่วงเปา อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ได้ตอบแบบสอบถามจำนวน 40 คน พึงพอใจโดยรวมในการเข้าร่วมกิจกรรมระดับมากที่สุด ที่ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.38 ซึ่งมีความต้องการให้จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมอาชีพเช่นนี้อีกต่อไปในอนาคต 

Abstract

Objectives of research were to 1) to study the development of dyes and printing pigments from waste coffee grounds. 2) to design and develop creative textile products from waste coffee grounds, 3) to transfer knowledge and innovation in creative textile production to target communities, and 4) to test consumer acceptance of product prototypes. We found that dyeing cotton yarn only with coffee grounds extract makes the yarn brown-orange. which, when increasing the amount of coffee grounds, resulted in higher yarn brightness but the red and yellow values ​​are reduced. The use of ash water as a dyeing agent resulted in the highest red and yellow yarn values. Specifically, the ready dyeing method had the highest a* value of 9.87 and the highest b* value of 15.04. The tamarind juice resulted in the lowest red yarn value. For the printing aspect, it was found that 2% chitosan resulted in the printed fabric having the highest red value (a*) of 5.83 and the highest yellow value (b*) of 22.97 when using 3 kg of coffee grounds per 6 liters of water. When the dyeing results were applied to the design and development of 3 product prototypes, 50 samples were asked. It was found that the total mean of product acceptance was 4.05, at a high level. which was most accepted as the 3rd product prototype The knowledge transfer to target groups was found that Ruamjai Khuangpao Housewives Group, Village No. 9, Khuangpao, Khuangpao Subdistrict, Jomthong District, Chiang Mai Province. 40 people answered the questionnaire. Overall satisfaction in participating in the activities was the highest level. The mean was 4.38, which needed to organize activities that promote occupation like this longer in the future.

ไฟล์งานวิจัย

รายงานวิจัย_จิราพร ชุมชิต.pdf

ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์

14 19 ส.ค. 2565

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ชั้น 14 อาคาร เอส เอ็ม ทาวเวอร์ 979/17-21 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400

https://www.tsri.or.th/

02 278 8200

callcenter@trf.or.th, webmaster@trf.or.th

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่