ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

การปรับตัวของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวภายใต้สถานการณ์โควิด-19 ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน


อาจารย์พริ้มไพร วงค์ชมภู

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

เลขทะเบียน :

1595-65-SCI-TSRI

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาศักยภาพของภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในจังหวัดแม่ฮ่องสอนภายใต้สถานการณ์โควิด-19, 2) เพื่อสำรวจประเมินคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน (SHA) ในการบริการของภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยว, 3) เพื่อเพิ่มทักษะด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษแก่บุคลากรผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง, และ 4) เพื่อสร้างแผนปฏิบัติการในการปรับตัวของภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) มีประชากร คือ ผู้ประกอบการในด้านการบริการของภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในจังหวัดแม่ฮ่องสอน และกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มผู้ประกอบการด้านการบริการของภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ในแต่ละอำเภอ ทั้ง 7 อำเภอ โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Random Sampling) เพื่อเข้ารับการประเมินตามเกณฑ์มาตรฐาน SHA ใน 10 ประเภทกิจการ รวมทั้งสิ้น 814 ผู้ประกอบการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ (1) แบบสอบถามสถานประกอบการในการเตรียมความพร้อมสู่ มาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย (SHA) และ (2) แบบสอบถามความพึงพอใจผู้เข้าร่วมอบรมเพิ่มทักษะด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษของบุคลากรผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ผลการศึกษา พบว่า (1) ศักยภาพของผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในจังหวัดแม่ฮ่องสอนสามารถเรียงลำดับร้อยละจากมากไปหาน้อยของแต่ละอำเภอได้ดังนี้ อ.เมืองแม่ฮ่องสอน, อ.ขุนยวม, อ.แม่สะเรียงและอ.ปาย, อ.แม่ลาน้อย,อ.สบเมย,และ อ.ปางมะผ้า คิดเป็นร้อยละ 33.8, 23.1, 13, 8, 5.8,และ 3.2 ตามลำดับ, (2) ผลการสำรวจประเมินคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน (SHA) พบว่า โดยภาพรวมเป็นไปตามข้อกำหนดมาตรฐานเบื้องต้น SHA คิดเป็นร้อยละ 76.9 - ร้อยละ 85.5 และผลการประเมินคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน (SHA) แยกตาม 10 ประเภทกิจการ ส่วนใหญ่เป็นไปตามข้อกำหนดมาตรฐาน SHA  ยกเว้น ประเภทบริษัทนําเที่ยว,ประเภท กีฬาเพื่อการท่องเที่ยว และ ประเภทกิจการ/จัดกิจกรรม/อีเวนท์ ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดมาตรฐานจึงควรได้รับการปรับปรุง, (3) ค่าความพึงพอใจของผู้เข้าอบรมฯ เพิ่มทักษะด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษ จำนวน 113 คน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x=4.25, S.D.=0.39) และ (4) แผนปฏิบัติการในการปรับตัวของภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ฯ ทั้ง 7 อำเภอ จึงได้นำเสนอรายนามผู้ประกอบการภายใต้แต่ละประเภทกิจการเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 กลุ่มผู้ประกอบการที่พร้อมสมัครเข้าร่วมโครงการ SHA และ กลุ่มที่ 2 กลุ่มผู้ประกอบการที่เตรียมตัวเข้าร่วมตรวจประเมิน SHA ทั้งนี้รายนามในกลุ่มที่ 1 ควรได้รับการส่งเสริม สนับสนุนและผลักดันจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ได้รับมาตรฐาน SHA อย่างเร่งด่วน เพราะเป็นแนวทางหนึ่งในการพลิกฟื้นอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและเศรษฐกิจของจังหวัดแม่ฮ่องสอนให้ดีขึ้นอย่างรวดเร็ว

Abstract

          The objectives of this PAR were 1) to study the potential of the tourism industry in Mae Hong Son Province during the COVID-19 pandemic, 2) to assess the quality standards (SHA) of tourism industry services, 3) to increase English communication skills for relevant personnel, and 4) to prepare an action plan for adapting the tourism industry. The population comprises entrepreneurs in the service sector of the tourism industry in Mae Hong Son Province. The sample group was a group of service entrepreneurs in the tourism industry in all 7 districts using simple random sampling to assess quality standards (SHA) in 10 types of businesses, totaling 814 entrepreneurs. The research tools were divided into two parts: (1) a questionnaire on the establishments in preparation for the Amazing Thailand Safety & Health Administrator (SHA), and (2) a satisfaction questionnaire to improve the English communication skills of personnel involved in the tourism industry in Mae Hong Son Province. The results of the study revealed that (1) the potential of entrepreneurs in the tourism industry in Mae Hong Son Province can be arranged in descending percentage order of each district as follows: Mueang Mae Hong Son District, Khun Yuam District, Mae Sariang District and Pai District, Mae La Noi District, Sop Moei District, and Pang Mapha District accounted for 33.8%, 23.1%, 13%, 8%, 5.8%, and 3.2%, respectively. (2) The results of the standardized quality assessment (SHA) showed that the overall standards met the preliminary requirements of SHA, with value of 76.9% - 85.5%, and the standardized quality assessment results (SHA) were separated into 10 categories. Most businesses meet the requirements of the SHA standard, except travel agency type, type Sports for tourism and type of business/activity/event does not meet the standard requirements, therefore should be improved, (3) The overall level of satisfaction of 113 participants in English communication skill enhancement training was at a high level (x=4.25, S.D.=0.39), and (4) action plans for adjusting the tourism industry in all seven districts. Therefore, entrepreneurs in each type of business are divided into two groups: group1, groups of entrepreneurs ready to apply for the SHA project, and group2, groups of entrepreneurs preparing to participate in the SHA assessment. Listings in group1 should be encouraged and supported by relevant authorities to achieve the SHA standards urgently. It is a way to quickly revitalize the tourism industry and economy of Mae Hong Son Province.

ไฟล์งานวิจัย

FULL_ATI65-พริ้มไพร-edit290366.pdf

ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์

15 19 ส.ค. 2565

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ชั้น 14 อาคาร เอส เอ็ม ทาวเวอร์ 979/17-21 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400

https://www.tsri.or.th/

02 278 8200

callcenter@trf.or.th, webmaster@trf.or.th

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่