ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

การพัฒนาเครื่องตรวจวัดสีและแอปพลิเคชันสำหรับควบคุมการปฏิบัติงานด้วยโทรศัพท์มือถือเพื่อการควบคุมคุณภาพของผลกาแฟและเมล็ดกาแฟคั่ว


รองศาสตราจารย์ ดร.สราวุฒิ สมนาม

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

เลขทะเบียน :

1599-65-SCI-TSRI

บทคัดย่อ

เครื่องวัดสีแบบพกพาได้และราคาประหยัดได้ถูกพัฒนาขึ้นโดยใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ ESP32 และเซ็นเซอร์สี TCS34725 สำหรับตรวจสอบระดับการคั่วกาแฟ เครื่องวัดสีแสดงผลความเข้มของสีในระบบสี RGB ค่าสีที่ได้สามารถแสดงบนหน้าจอ LCD แบบจอสัมผัสบนตัวเครื่องและยังสามารถส่งข้อมูลค่าสีแบบเรียลไทม์ผ่านสัญญาณ WiFi เพื่อเก็บไว้ในฐานข้อมูล MySQL โดยใช้แอปพลิเคชันที่ติดตั้งบนสมาร์ทโฟนที่พัฒนาด้วยแพลตฟอร์ม MIT App Inventor เครื่องวัดสีใช้แบตเตอรี่ลิเธียมฟอสเฟตแบบชาร์จได้ (3.7 V 2000 mAh) เป็นแหล่งจ่ายพลังงาน ความสม่ำเสมอของการคั่วกาแฟถูกควบคุมโดยการกำหนดค่ามาตรฐานค่าสี RGB ของเมล็ดกาแฟคั่ว 5 ระดับ (อ่อน อ่อน-กลาง  กลาง-เข้ม และเข้ม) ด้วยแอปพลิเคชัน เพื่อใช้เทียบกับตัวอย่างกาแฟที่นำมาตรวจสอบในภายหลัง เครื่องตรวจวัดสีมีความเที่ยงตรงสูง โดยมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานสัมพัทธ์น้อยกว่า 4.2 % นอกจากนี้ เครื่องวัดสียังใช้สำหรับการตรวจสอบระดับความสุกของผลเชอรี่ได้อีกด้วย

Abstract

A low-cost and portable colorimeter was developed based on ESP32 microcontroller and TCS34725 color sensor for monitoring the coffee roast levels. The device detected the color recognition resulted in RGB color intensity. The obtained color values could display on TFT LCD touchscreen of the device and the colorimetric data also real-time sent via WiFi to store in MySQL database using a smartphone app that was created with MIT App Inventor platform. A rechargeable lithium phosphate battery (3.7 V 2000 mAh) was employed as the power supply for the colorimeter. The consistency of coffee roasting was controlled by setting standardized RGB color values for five levels of roasting (light, light-medium, medium, medium-dark, and dark) using the app, in order to compare with the tested coffee samples later on. The color detection was highly precise with a relative standard deviation less than 4.2 %. The colorimeter was also applied for on-site monitoring of the ripeness degree of the coffee cherry.

ไฟล์งานวิจัย

1. ปก.pdf

2. บทคัดย่อ.pdf

3. กิตติกรรมประกาศ.pdf

4. สารบัญ.pdf

5. บทที่ 1.pdf

6. บทที่ 2.pdf

7. บทที่ 3.pdf

8. บทที่ 4.pdf

9. บทที่ 5.pdf

10. บรรณานุกรม.pdf

11. ภาคผนวก.pdf

12. ประวัติผู้วิจัย.pdf

ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์

13 19 ส.ค. 2565

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ชั้น 14 อาคาร เอส เอ็ม ทาวเวอร์ 979/17-21 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400

https://www.tsri.or.th/

02 278 8200

callcenter@trf.or.th, webmaster@trf.or.th

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่