ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

ผลของการเสริมขิงเพื่อการเจริญเติบโตของปลาดุก


อาจารย์วชิรนนท์ แก้วตาปี

คณะเทคโนโลยีการเกษตร

เลขทะเบียน :

1609-65-AGRI-CMRU

บทคัดย่อ

การศึกษาผลการใช้ขิงในอาหารปลาดุกอัฟริกัน วางแผนการทดลองแบบสุ่มตลอด (Completely Randomized Design) ปลาดุกอัฟริกันน้ำหนักเฉลี่ยเริ่มต้น  5.22±0.04 กรัม   แบ่งชุดการทดลองเป็น 4 ชุดการทดลองคือ การใช้ขิงในอาหารปลาดุกอัฟริกันที่ระดับแตกต่างกัน คือ 0, 5, 10, และ 15 กรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม แต่ละชุดการทดลองมี 4 ซ้ำ ในระยะเวลาการเลี้ยง 90 วัน ผลการศึกษาพบว่าการใช้ขิงในอาหารของปลาดุกอัฟริกันมีผลต่ออัตราการเจริญเติบโตของปลาดุกอัฟริกันดังนี้ ค่าเฉลี่ยน้ำหนัก ค่าเฉลี่ยน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น อัตราการการเจริญเติบโตต่อวันเฉลี่ย และอัตราการเจริญเติบโตจำเพาะเฉลี่ย อัตราการแลกเนื้อเฉลี่ย มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิต (P<0.05) โดยผลการใช้ขิงในอาหารปลาดุกแอฟริกันที่ระดับ 10 กรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม ให้ค่าการเจริญเติบโตดีที่สุดเมื่อเทียบกับการใช้ขิงในอาหารปลาดุกแอฟริกันที่เพิ่มขึ้น   ผลการตรวจค่าวัดคุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์เหมาะสมต่อการเลี้ยงปลาดุกอัฟริกัน 

Abstract

This work was carried out to study the effect of Zingiber officinale experimental feeding of   on African catfish (Clarias gariepinus) using Completely Randomized Design (CRD). Mean  weights of fish stocking was 5.22 ± 0.04 g. Fish were feed with  as supplement at different of 0, 5,10 and 15 g. for 90 days. The results showed that growth performances and feed utilization were significant differences (p<0.05) in all groups. The average weight, average weight gain, average daily growth, average specific growth rate, feed conversion ratio were highest at 10 g. supplementation of Zingiber officinale. The results of the water quality measurement were within the appropriate criteria for raising African catfish.

ไฟล์งานวิจัย

เล่่มสมบูรณ์ โครงการวิจัยเสริมขิงเพื่อการเจริญเติบโตของปลาดุก.pdf

6 18 ส.ค. 2565

กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 503000

http://www.cmru.ac.th

053-88-5555

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่