ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

การวิเคราะห์ปัญหาและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่


อาจารย์จารุณี นาคเจริญ

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

เลขทะเบียน :

1611-65-HUSO-CMRU

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัญหาในการอ่านเชิงวิเคราะห์ 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ 3) แนวทางในการพัฒนาความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ กลุ่มอย่างคือ นักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ชั้นปีที่ 3 และ 4 จำนวน 125 คน ได้มาโดยวิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) และแบบสมัครใจ (Non-random voluntary method) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่าน           เชิงวิเคราะห์ 2) แบบสอบถามปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ และ              3) แบบสัมภาษณ์ความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติเชิงพรรณนา (Description statistics) ที่ประกอบด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการใช้สถิติ     ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation coefficient) และค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยพหุคูณ (Multiple regression analysis)

          1. นักศึกษามีคะแนนเฉลี่ยในการทำแบบทดสอบเท่ากับ 17.47 คะแนน ส่วน 30 คะแนน หรือคิดเป็นร้อยละ 59 จากนั้นเมื่อใช้เกณฑ์ร้อยละ 80 เพื่อจำแนกระดับความสามารถของนักศึกษา พบว่า    มีผู้ผ่านเกณฑ์จำนวน 15 คน (ร้อยละ 12) และไม่ผ่านเกณฑ์จำนวน 110 คน (ร้อยละ 88) อีกทั้ง        เมื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ทั้ง 5 ทักษะ ทักษะการสรุปอ้างอิง (Making inferences) (ร้อยละ 53) และการประเมินและตัดสินสิ่งที่อ่าน (Evaluating and judging the context) (ร้อยละ 51) มีระดับคะแนน น้อยที่สุด

          2. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ คือ แรงจูงใจ ทัศนคติ และบทบาทผู้สอน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับคะแนนการอ่านของนักศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนปัจจัยเกี่ยวกับกลวิธีการอ่านและกรอบความคิดเติบโตมีความสัมพันธ์ทางลบกับคะแนนการอ่านของนักศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยเมื่อวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณระหว่างกลุ่มปัจจัยทั้งหมดที่ส่งผลต่อระดับคะแนนความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักศึกษาคือ ปัจจัยเกี่ยวกับกลวิธีการอ่านและแรงจูงใจ ที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

          3. แนวทางในการพัฒนาความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ของผู้เรียนที่ควรส่งเสริม คือ กลวิธีการอ่าน กรอบความคิดเติบโต บทบาทผู้สอน แรงจูงใจ และทัศนคติ

Abstract

This research aimed to investigate: 1) the challenges pertaining to critical reading abilities of English major students in Chiang Mai Rajabhat University, 2) the factors affecting these students’ critical reading abilities, and 3) approaches to enhance the students’ critical reading abilities. The sample group in this study consisted of 125 English major students in their 3rd and 4th years in the Faculty of Humanities and Social Sciences at Chiang Mai Rajabhat University. Purposive sampling and non-random voluntary methods were applied to select the participants of this study. The research instruments consisted of 1) a critical reading test, 2) a questionnaire, and 3) an interview. Quantitative data were then analyzed with descriptive statistics (percentage, mean, standard deviation), and correlation coefficient and multiple regression analysis were also deployed in the process. The results revealed the following:

          1. The participants’ average score was 17.47 out of 30, or 59%. Based on                 an evaluation criterion of 80%, only 15 students (12%) achieved the highest level, and   the majority, or 110 students (88%) performed below this requirement. Among the five major areas of critical reading abilities, the participants scored the lowest in “Making inferences” (53%) and “Evaluating and judging the context” (51%).

          2. The positive factors affecting the participant’s critical reading abilities appeared to have been motivation, attitude and the role of the instructors at a 0.01 significance level. Those factors with adverse impacts included reading techniques and growth mindset, also at a 0.01 significance level. The multiple regression analysis revealed that reading techniques and motivation appeared to significantly impact the participants’ critical reading abilities at a significance level of 0.05.

          3. The study determined that effective approaches to nurture the participant’s critical reading abilities should incorporate reading techniques, promote a growth mindset, and consider the role of the instructors as well as motivation and the participants’ attitudes.

ไฟล์งานวิจัย

กิตติกรรมประกาศ.pdf

บทคัดย่อ.pdf

บทที่ 1.pdf

บทที่ 2.pdf

บทที่ 3.pdf

บทที่ 4.pdf

บทที่ 5.pdf

บรรณานุกรม.pdf

ประวัติผู้วิจัย.pdf

ภาคผนวก.pdf

สารบัญ.pdf

10 18 ส.ค. 2565

กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 503000

http://www.cmru.ac.th

053-88-5555

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่