
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
การสร้างสรรค์ดนตรีพื้นเมืองล้านนาสู่ความร่วมสมัย
อาจารย์นิรุตร์ แก้วหล้า
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
1612-65-HUSO-CMRU
บทคัดย่อ
การสร้างสรรค์ดนตรีพื้นเมืองล้านนาสู่ความร่วมสมัย (Creative music from Lanna Folk music Contemporary.) เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้ระเบียบวิจัยทางด้านดนตรีชาติพันธุ์วิทยา นำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์ โดยวัตถุประสงค์ของโครงการวิจัยเพื่อศึกษา และวิเคราะห์ดนตรีพื้นเมืองล้านนา และเพื่อประดิษฐ์สร้างสรรค์ดนตรีร่วมสมัยจากดนตรีพื้นเมืองล้านนา
การศึกษาพบว่า พบว่าระบบเสียงของดนตรีพื้นเมืองล้านนาเป็นแบบ 5 เสียง (Major Pentatonic) และมีระบบ 7 เสียงในบางบทเพลง รูปแบบจังหวะของดนตรีพื้นเมืองล้านนาจะถูกกำหนดโดยผู้บรรเลงแต่ส่วนใหญ่นั้นจะมีการใช้รูปแบบโน้ตเขบ็ต 2 ชั้น ร่วมกับเขบ็ต 1 ชั้น
การประดิษฐ์สร้างสรรค์ดนตรีร่วมสมัยจากดนตรีพื้นเมืองล้านนา ผู้วิจัยนำบทเพลงต้นฉบับ 10 เพลง ได้แก่ เพลงล่องแม่ปิง เพลงปราสาทไหว เพลงฤาษีหลงถ้ำ เพลงพม่า เพลงสร้อยเวียงพิงค์ เพลงปุมเหม้นหรือปุมเป้ง เพลงเสเลเมา เพลงปั่นฝ้าย เพลงกุหลาบเชียงใหม่ และ เพลงอื่อ ใช้วิธีการนำทำนองบทเพลงต้นฉบับมาบันทึกเสียงใหม่ในกรอบของดนตรีสากลนั่นคือจังหวะแบบต่างๆ เช่น จังหวะ Fusion จังหวะ S. Soul จังหวะ Funk อีกทั้งใช้แนวคิดออกแบบให้บทเพลงที่คัดสรรมาเป็นรูปแบบการบรรเลงแบบ Jazz มีการใช้ Intro เกลิ่นนำบทเพลง มีทำนองหลักบทเพลงบรรเลงโดยใช้เครื่องดนตรีล้านนา และช่วงด้นสด (Improvisation) ของกีตาร์ และเครื่องดนตรีล้านนา จากนั้นจะลงจบด้วยทำนองหลักของเครื่องดนตรีล้านนา อีกทั้งใช้เครื่องดนตรีสังเคราะห์ผสมกับเครื่องดนตรีจริงที่บันทึกเสียงเข้าไปตามหลักทางการเรียบเรียงดนตรี และการออกแบบดนตรีสากล
Abstract
The research project aims to create contemporary music from Lanna Folk music, emphasizing qualitative research methods and utilizing ethnomusicological frameworks. The objective of the study is to explore and analyze Lanna Folk music and develop innovative and contemporary compositions based on this traditional music.
The study reveals that the sound system of Lanna Folk music consists of a 5-tone scale (Major Pentatonic) and, in some songs, a 7-tone scale. The rhythmic patterns of Lanna Folk music are predominantly determined by the performers, with the prevalent use of a Sixteenth note pattern accompanied by a Eighth note pattern.
In the process of creating contemporary music from Lanna Folk music, the researcher recorded new sound renditions of 10 original songs, including "Long Mae Ping Song," "Prasat Wai Song," "Rasi Long Tham Song," "Pama Song," "Soi Wiang Ping Song," "Pum Men or Pum Peng Song," "Selemao Song," "Pan Faai Song," "Kulap Chiang Mai Song," and "Uea Song." These compositions incorporated various rhythmic styles such as Fusion, S.Soul, and Funk. The researcher employed an approach that combined elements of jazz in the arrangement, including the use of introductory motifs and improvisational sections performed on traditional Lanna musical instruments, particularly the guitar and Lanna instruments. The compositions concluded by reverting to the main melody of the Lanna musical instruments. Additionally, synthesized instruments were blended with musical instruments during the recording process, following the principles of music arrangement and designing a global music sound.
ไฟล์งานวิจัย
1.10 บทที่ 1 บทนำ (Introduction).pdf
1.11 บทที่ 2 แนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่กี่ยวข้อง (Review of Related Literature).pdf
1.12 บทที่ 3 วิธีการดำเนินกำรวิจัย (Research Design).pdf
1.13 บทที่ 4 ผลการวิจัย Final 19 มี (22 มีค).pdf
4 18 ส.ค. 2565

กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 503000
053-88-5555