ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

แนวทางป้องกันการกลายเป็นคนจนเมืองของแรงงานฟรีแลนซ์ ภายใต้ชีวิตวิถีใหม่ของอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่


อาจารย์ฐากูร ข่าขันมาสี

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

เลขทะเบียน :

1614-65-HUSO-CMRU

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่อง แนวทางป้องกันการกลายเป็นคนจนเมืองของแรงงานฟรีแลนซ์ภายใต้ชีวิตวิถีใหม่ ของอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงบรรยาย ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิเคราะห์เนื้อหา เพื่อนำเสนอปฏิบัติการของแรงงานฟรีแลนซ์ และแนวทางป้องกันการกลายเป็นคนจนเมืองของแรงงานฟรีแลนซ์ภายใต้ชีวิตวิถีใหม่ ของอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

ผลการวิจัยพบว่า สถานภาพของแรงงานฟรีแลนซ์สามารถแบ่งออกได้สองกลุ่มคือ กลุ่มแรงงานฟรีแลนซ์มั่นคง และกลุ่มแรงงานฟรีแลนซ์เปราะบาง โดยตัวชี้วัดสถานภาพของแรงงาน      ฟรีแลนซ์คือ อำนาจในการต่อรอง โดยปฏิบัติการของแรงงานฟรีแลนซ์ มีการนำทุนทางเศรษฐกิจ ทุนทางสังคม ทุนทางวัฒนธรรม และทุนทางสัญลักษณ์ มาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างอำนาจในการต่อรองกับ ผู้จ้างงาน ช่วงชิงโอกาสจากการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ชีวิตวิถีใหม่ และต่อสู้กับโครงสร้างความเหลื่อมล้ำที่จะนำไปสู่การเป็นคนจนเมือง เพราะฉะนั้นงานวิจัยนี้จึงต้องการนำเสนอแรงงานฟรีแลนซ์ในฐานะผู้กระทำการทางสังคม (active actor) ผ่านปฏิบัติการในการต่อสู้ ต่อรอง เพื่อไม่ให้ตนเองตกเป็นคนจนเมือง และเพื่อให้แรงงานฟรีแลนซ์ที่มีเงื่อนไขในปฏิบัติการที่แตกต่างหลากหลาย จึงได้นำเสนอแนวทางอย่างเหมาะสม ทั้งในทางส่งเสริม และ ป้องกันการกลายเป็นคนจนเมืองของแรงงานฟรีแลนซ์ภายใต้ชีวิตวิถีใหม่ ของอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

Abstract

The research focuses on the guidelines for preventing of becoming to urban poverty of freelancer workers under the New Normal in Mueang District, Chiang Mai Province. It is a qualitative research study that utilizes research methodology and content analysis to present the practices of freelance workers and the guidelines for preventing of becoming to urban poverty of freelancer workers under the New Normal in Mueang District, Chiang Mai Province.

The research findings indicate that the status of freelance workers can be divided into two groups: stable freelance workers and vulnerable freelance workers. The indicators of the status of freelance workers include negotiation power. Freelance workers utilize economic, social, cultural, and symbolic capital to exert negotiation power with employers. This occurs during the transition into the New Normal and in the struggle against the structures of inequality that lead to urban poverty. Therefore, this research aims to present freelance workers as active social actors through practices of resistance and negotiation to prevent them from falling into urban poverty. It also provides appropriate strategies for promoting and preventing the transition into urban poverty of freelance workers under the New Normal in Muang District, Chiang Mai Province.

ไฟล์งานวิจัย

งานวิจัยฉบับสมบูรณ์ อ ฐากูร.pdf

6 18 ส.ค. 2565

กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 503000

http://www.cmru.ac.th

053-88-5555

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่