ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

การศึกษาอัตลักษณ์มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ สู่การสร้างสรรค์การแสดง ชุดราชภัฏ 100 ปี ศรีเชียงใหม่


อาจารย์ชัพวิชญ์ ใจหาญ

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

เลขทะเบียน :

1616-65-HUSO-CMRU

บทคัดย่อ

งานสร้างสรรค์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาและอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ อีกทั้งคณะต่าง ๆ ทั้ง 5 คณะ 1 วิทยาลัย สู่การสร้างสรรค์การแสดง ชุด ราชภัฏ 100 ปี ศรีเชียงใหม่ เพื่อเป็นการแสดงเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จากการศึกษาข้อมูลด้านเอกสารวิชาการ การลงพื้นที่ภาคสนาม การสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้องสู่การวิเคราะห์ออกแบบองค์ประกอบของการแสดง โดยมีแนวคิดการแสดงออกเป็น 3 ช่วง ได้แก่ ช่วงที่ 1 เสนอถึงการก่อตั้งมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ในปี พ.ศ. 2467 ช่วงที่ 2 เสนอถึง
อัตลักษณ์ของคณะที่เปิดสอนทั้ง 5 คณะ 1 วิทยาลัย ช่วงที่ 3 เสนอถึงการรวมกันเป็นหนึ่งเดียวของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ในการเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปี เพลงประกอบการแสดงเป็นดนตรีพื้นบ้านภาคเหนือผสมผสานเครื่องดนตรีสากลประกอบบทร้อง ใช้นักแสดงหญิง 12 คน 
เครื่องแต่งกายและทรงผมนักแสดงมาจากการแต่งกายของหญิงล้านนาในอดีต รวมทั้งการออกแบบท่ารำในรูปแบบของนาฏศิลป์ล้านนาร่วมสมัย โดยมีท่ารำหลักทั้งหมด 13 ท่า

การแสดง ชุด ราชภัฏ 100 ปี ศรีเชียงใหม่ เป็นการแสดงที่มีกระบวนการศึกษาข้อมูล 

เพื่อนำมาออกแบบองค์ประกอบการแสดงที่เสนออัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่และเป็นการประชาสัมพันธ์คณะต่าง ๆ ที่ได้เปิดสอนในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ให้กับผู้ที่สนใจศึกษาต่อในรูปแบบการแสดงผ่านสื่อออนไลน์รูปแบบต่าง ๆ อีกทั้งสามารถเป็นแนวทางให้กับผู้ที่สนใจ

ในการออกแบบสร้างสรรค์การแสดงประจำสถาบันการศึกษาอื่นต่อไป 

Abstract

This research study aimed to explore the history and identity of Chiang Mai Rajabhat University, other five faculties, and one college to creatively produce a creative performance, entitled “Rajabhat 100 years Sri Chiang Mai”. This creative performance was purposively created as the 100th Anniversary of Chiang Mai Rajabhat University celebration. According to the studies from academic documents, field notes, and interviews from those related individuals, the performing elements were designed and initiated. The main concept of the performing could be divided into three parts; (1) the first part presents about the foundation of Chiang Mai Rajabhat University in 1924, (2) the second part illustrates on the university’s identity, brought from the five faculties and one college, and (3) the last part depicts the unification of Chiang Mai Rajabhat University and its 100th Anniversary celebration. The performing show employed a song, orchestrated between the local Thai Northern and international musical instruments. There were twelve female performers, dressing in the historical and local Thai Northern costumes and hair styles. The dancing design was composed based on the contemporary local Thai Northern styles, including thirteen forms of dancing.

This performing art, “Rajabhat 100 years Sri Chiang Mai”, was created based on the systematical research of data to design and create the elements which can meaningfully represent Chiang Mai Rajabhat University identity, and widely publicize about the information of each faculty in Chiang Mai Rajabhat University. In doing these, it would benefit those who are interested in studying with Chiang Mai Rajabhat University in obtaining the information through many online digital platforms. In addition, this research study could possibly be considered as an inspiration for those who want to create a unique performing arts for their educational institution in the near future.

ไฟล์งานวิจัย

01-หน้าปก.pdf

02-ส่วนหน้า.pdf

03-สารบัญ.pdf

04-บทที่ 1.pdf

05-บทที่ 2.pdf

06-บทที่ 3.pdf

07-บทที่ 4.pdf

08-บทที่ 5.pdf

09-เอกสารอ้างอิง.pdf

10-ภาคผนวก.pdf

ข้อมูลการตีพิมพ์

ชื่อบทความ :

แหล่งที่ตีพิมพ์ :การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ศิลปกรรมวิจัย ประจำปี 2565 3-4 กันยายน 2565 ณ อุทยาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ปีที่ตีพิมพ์ :2565

10 18 ส.ค. 2565

กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 503000

http://www.cmru.ac.th

053-88-5555

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่