
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
การศึกษาแนวทางในการพัฒนานักบริหารทรัพยากรมนุษย์สู่ตลาดแรงงานในจังหวัดเชียงใหม่
ธัญญ์ฐิตา สถิรไชยวิทย์
คณะวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
1620-65-MGT-CMRU
บทคัดย่อ
งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับ นักบริหารทรัพยากรมนุษย์ และนำเสนอแนวทางการพัฒนานักบริหารทรัพยากรมนุษย์ ให้มีสมรรถนะพร้อมเข้าสู่ตลาดแรงงานในจังหวัดเชียงใหม่ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ รวบรวมข้อมูลจากการวิเคราะห์เอกสารมาตราฐานอาชีพ สาขาวิชาชีพบริหารงานบุคคล จากการสัมภาษณ์นักบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ปฏิบัติงานในสถานประกอบการเอกชน พื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 12 คน และจากการสัมภาษณ์นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จำนวน 10 คน ใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาในการวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการวิจัยพบว่า นักบริหารทรัพยากรมนุษย์ ระดับปฏิบัติการ ที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงาน จังหวัดเชียงใหม่ ควรมีสมรรถนะหลักที่จำเป็น 7 สมรรถนะ ได้แก่ 1) มีจรรยาบรรณในการปฏิบัติงานวิชาชีพ 2) คิดวิเคราะห์ และประมวลผล 3) ความยืดหยุ่น และความสามารถในการปรับตัว 4) การมีมนุษยสัมพันธ์ 5) การสื่อสาร และการประสานงาน 6) การให้คำปรึกษา และ 7) การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการปฏิบัติงาน นอกจากนี้นักบริหารทรัพยากรมนุษย์ยังต้องมีความรู้ทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่สามารถนำมาใช้ในการปฏิบัติงาน และทัศนคติที่ดี ที่เป็นเชิงบวกในการปฏิบัติงานในทุกสมรรถนะด้วย แนวทางการพัฒนานักบริหารทรัพยากรมนุษย์ควรอยู่ในรูปแบบของการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ ที่มุ่งเน้นที่ตัวบุคลากรเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ กระบวนการพัฒนาควรประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การประเมินความต้องการในการพัฒนา 2) การออกแบบแผนกิจกรรมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งวิธีการที่ควรนำมาใช้แบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก คือ การพัฒนาที่องค์กรจัดให้ และการเรียนรู้ด้วยตนเอง 3) การดำเนินโครงการ และ 4) การประเมินผลโครงการ
Abstract
The purpose of this research was to explore opinions regarding competencies required for human resource practitioners and present guidelines for the development of human resource practitioners to have competencies ready to enter the labor market in Chiang Mai Province. Qualitative research was conducted. The occupational standard for the professional field of human resource management was reviewed. 12 participants working as human resource practitioners in private organizations in Chiang Mai Province and 10 participants majoring in human resource management at the Faculty of Management Sciences at Chiang Mai Rajabhat University were interviewed. Content analysis was applied for data analysis.
The findings of this research revealed that human resource practitioners at the operational level should have seven essential core competencies, including: 1) having a code of ethics in human resource management 2) analytical thinking and processing 3) flexibility and adaptability 4) having human relations 5) communication and coordination 6) consulting, and 7) using information technology in work. In addition, human resource practitioners must have knowledge of human resource management that can be used in their work, and a positive working attitude. Guidelines for developing human resource practitioners should be in the form of adult learning that focuses on personnel as the center of learning. The development process should consist of four steps: 1) assessing development needs 2) designing a human resource development activity plan, the methods that should be used should be divided into two main types: development that the organization provides and self-learning 3) implementing programs, and 4) evaluating programs.
ไฟล์งานวิจัย
7 18 ส.ค. 2565

กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 503000
053-88-5555