ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

ผลกระทบทางด้านจิตวิทยาสังคมจากการระบาดของเชื้อโควิด-19 ที่มีผลต่อการเรียนออนไลน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่


อาจารย์ ดร.สิวลี รัตนปัญญา

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

เลขทะเบียน :

1624-65-SCI-CMRU

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบทางด้านจิตวิทยาสังคมจากการระบาดของเชื้อโควิด 19 ที่มีผลต่อการเรียนออนไลน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างในครั้งนี้ คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีทุกชั้นปี ของ 5 คณะ 2 วิทยาลัย ได้แก่ คณะครุศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาลัยนานาชาติ และวิทยาลัยแม่ฮ่องสอน ที่ผ่านการเรียนรูปแบบออนไลน์มาในปีการศึกษา 2563 - 2564 จำนวน 489 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามออนไลน์ และวิเคราะห์โดยใช้สถิติการถดถอยโลจิสติกส์ 
ผลการศึกษา พบว่า เป็นนักศึกษาหญิงมากกว่านักศึกษาชาย ส่วนใหญ่ศึกษาอยู่ในคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ คณะครุศาสตร์ ตามลำดับ ที่กำลังศึกษาในชั้นปีที่ 2 และชั้นปีที่ 3 ในวิทยาเขตเวียงบัว (ในเมือง) เรียนออนไลน์ในหอพัก/อาพาร์ทเมนต์ โดยใช้สมาร์ทโฟนผ่านระบบอินเตอร์เน็ตของโทรศัพท์มือถือโดยตรง อุปสรรคในการเรียนออนไลน์ 3 อันดับแรก ได้แก่ ความเสถียรของสัญญาณอินเตอร์เน็ต ความไม่พร้อมของอุปกรณ์ในการเรียนออนไลน์ และการรบกวนจากบุคคลที่อยู่ร่วมกันขณะเรียนออนไลน์ ปัจจัยทางด้านจิตวิทยา พบว่า นักศึกษามีความวิตกกังวลในการเรียนออนไลน์รวมเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง มีเจตคติที่มีต่อการเรียนออนไลน์รวมเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง และมีการปรับตัวต่อการเรียนออนไลน์รวมเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ปัจจัยทางด้านสังคม พบว่า อิทธิพลจากคนรอบข้างที่มีต่อการเรียนออนไลน์รวมเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก สภาพแวดล้อมทางกายภาพที่มีต่อการเรียนออนไลน์รวมเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และการรับรู้บรรทัดฐานทางสังคมที่มีต่อการเรียนออนไลน์รวมเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง และพฤติกรรมการเรียนออนไลน์รวมเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง 
ผลกระทบทางด้านจิตวิทยาสังคมจากการระบาดของเชื้อโควิด-19 ที่มีผลต่อพฤติกรรมการเรียนออนไลน์ของนักศึกษา พบว่า ปัจจัยทางด้านจิตวิทยาทั้ง 3 หัวข้อย่อย ได้แก่ ความวิตกกังวลในการเรียนออนไลน์ การปรับตัวต่อการเรียน และเจตคติที่มีต่อการเรียนออนไลน์มีผลต่อพฤติกรรมการเรียนออนไลน์ของนักศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.01, ≤ 0.001, และ 0.05, ตามลำดับ) และปัจจัยทางด้านสังคมทั้ง 3 หัวข้อย่อย ได้แก่ อิทธิพลจากคนรอบข้าง ได้แก่ เพื่อนร่วมชั้น อาจารย์ ครอบครัว สภาพแวดล้อมทางกายภาพ และ การรับรู้บรรทัดฐานทางสังคม มีผลต่อพฤติกรรมการเรียนออนไลน์ของนักศึกษามีผลต่อพฤติกรรมการเรียนออนไลน์ของนักศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.05, 0.003, และ 0.01 ตามลำดับ) และผลกระทบทางด้านจิตวิทยาสังคมจากการระบาดของเชื้อโควิด-19 ที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์การศึกษาของนักศึกษา พบว่า การปรับตัวต่อการเรียนเพียงปัจจัยเดียวที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์การศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.01) 
 

Abstract

This cross-sectional research was to study the sociopsychological impact of the COVID-19 pandemic on online learning of Chiang Mai Rajabhat University students.     The participates were undergraduate students from all years of 5 faculties and 2 colleges, including, Faculty of Education, Faculty of Agricultural Technology, Faculty of Humanities and Social Sciences, Faculty of Management Sciences, Faculty of Science and Technology, International college, and Mae Hong Son College, who have completed online learning in the academic year 2020 - 2021, totaling 489 students. The research tool was an online questionnaire. Data were analyzed using binary data were analyzed using descriptive statistics. 
The results of the study revealed that female students were more than male students. Most of them study in the Faculty of Humanities and Social Sciences, Faculty of Science and Technology, and Faculty of Education, respectively.  They are studying in the 2nd year and 3rd year in Wiang Bua Campus. They studied online in a dormitory/apartment by using a smartphone through the internet of a mobile phone directly. The top 3 online learning barriers are internet signal instability, unavailability of equipment for online learning, and interference from people who live together while studying online. Psychological factors found that students' anxiety in online learning was at a moderate level. The average level of attitude towards online learning was at moderate level and adaptation to online learning was at a high level. As for social factors, it was found that the influence of peers on online learning was on average at a high level. The average physical environment towards online learning was at a high level. The perception of social norms toward online learning was at a moderate level. The average overall online learning behavior was at a moderate level. 
Sociopsychological impact of the COVID-19 pandemic effect on the online learning behavior of students found that the psychological factors in all 3 sub topics were students' anxiety in online learning, attitude towards online learning, and adaptation to online learning had a statistically significant effect on the online learning behavior of students. (p-value = 0.01, ≤ 0.001, and 0.05, respectively). Meanwhile, social factors in 3 sub-topics: influence of peers on online learning, physical environment towards online learning, and perception of social norms had a statistically significant effect on the online learning behavior of students (p-value = 0.05, 0.003, and 0.01 respectively). Moreover, Sociopsychological impact of the COVID-19 pandemic effect on the online learning behavior of students found that adaptation to online learning was the only factor that had a statistically significant effect on academic achievement (p-value = 0.01). 
 

ไฟล์งานวิจัย

เล่มสมบูรณ์ สิวลี รัตนปัญญา_watermark.pdf

ข้อมูลการตีพิมพ์

ชื่อบทความ :

แหล่งที่ตีพิมพ์ :วารสารสังคมศาสตร์ ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2566 หน้า 126 - 138

ปีที่ตีพิมพ์ :2566

4 18 ส.ค. 2565

กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 503000

http://www.cmru.ac.th

053-88-5555

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่