ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

ฤทธิ์ต้านเอนไซม์อะซิติลโคลีนเอสเตอเรสและต้านอนุมูลอิสระของสมุนไพรไทยในวงศ์ Amaryllidaceae


อาจารย์สุพัตร์ หลังยาหน่าย

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

เลขทะเบียน :

1627-65-SCI-CMRU

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาพืชสมุนไพรไทยในวงศ์ Amaryllidaceae จำนวน 5 ชนิด          โดยทำการแยกส่วนสกัดเป็น ส่วนหัว ส่วนดอก ส่วนราก และ ส่วนใบ รวมเป็น 20 ตัวอย่าง นำมาศึกษาฤทธิ์ต้านการเกิดโรคอัลไซเมอร์ โดยอาศัยกลไกการต้านเอนไซม์อะซิติลโคลีนเอสเตอเรส (AChE) และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH radical scavenging assay ผลการวิจัยพบว่าสารสกัดด้วยเอทานอลของพืชทั้ง 5 ชนิดประกอบด้วย 1. พลับพลึงขาว 2. พลับพลึงแดง 3. ว่านมหาลาภ 4. ว่านแสงอาทิตย์ และ 5. ว่านสี่ทิศ มีฤทธิ์ในการต้านเอนไซม์ AChE ได้เป็นอย่างดี โดยแสดงค่าการต้านเอนไซม์ AChE ที่ 81.70±1.31 - 91.96±1.44 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับ Galantamine ซึ่งเป็นสารอ้างอิงมาตรฐานที่มีเปอร์เซ็นต์การต้านเอนไซม์เท่ากับ 96.05±0.97 สำหรับผลการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ พบว่าส่วนใบ ของว่านมหาลาภ เพียงตัวอย่างเดียวที่แสดงผลการต้านอนุมูลอิสระที่ดีที่สุดโดยมีค่า EC50 เท่ากับ 3.45  µg/ml เมื่อเทียบกับสารมาตรฐาน L-ascorbic acid (EC50 = 1.58 µg/ml) จะเห็นได้ว่า สมุนไพรในวงศ์ Amaryllidaceae ที่นำมาศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีฤทธิ์ที่ดีในการต้านเอนไซม์ AChE และบางชนิดก็มีผลการฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ที่ดีด้วย ควรที่จะนำมาศึกษาทางพฤกษเคมีเพื่อสกัดแยกหาสารบริสุทธิ์ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาในรูปแบบผลิตภัณฑ์อาหารเสริมหรือยาสำหรับรักษาผู้ป่วยอัลไซเมอร์ต่อไป 

Abstract

This research was study about 5 medicinal plants in Amaryllidaceae family. This study was separated the part of sample plants for extraction as buds, flowers, rhizomes and laves; there are 20 samples for extraction. All of samples have to assay    the efficacy of plants to against Alzheimer’s disease with the mechanism of acetylcholinesterase (AChE) enzyme inhibition by Ellman’s colorimetric method in        96-welled microplates. The results revealed that the ethanol extracted of Crinum asiaticum L., Crinum amabile Donn., Eucrosia bicolor Ker Gawl, Haemanthus multiflorus and Hippeastrum johnsonii Bury exhibited good enzyme inhibitory activity with percent inhibition of 81.70±1.31 - 91.96±1.44; this result was compared with percent inhibition of reference standard, the Galantamine was 96.05±0.97. The study antioxidant activity used 1,1-diphenyl- 2-picrylhydrazyl (DPPH) radical scavenging assay. From this assay found that the leaf of Eucrosia bicolor Ker Gawl exhibited the most potent inhibitory activity with an EC50 value of 3.45 µg/ml, which was compared to that of the positive control,   L-ascorbic acid (EC50 = 1.58 µg/ml). These results provide the basis data for phytochemical study of pure compounds and useful guidance for further research and development of the potential medicinal plants for the prevention and treatment of Alzheimer’s disease.

ไฟล์งานวิจัย

เนื้อหา(ลงลายน้ำ).pdf

ปก(ลงลายน้ำ).pdf

33 18 ส.ค. 2565

กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 503000

http://www.cmru.ac.th

053-88-5555

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่