ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

การประเมินคุณภาพการระบายอากาศสำหรับห้องปฏิบัติการภายใต้แนวคิดความปกติใหม่ กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ศูนย์เวียงบัว


พัสสนันท์ แสงโสดา

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

เลขทะเบียน :

1630-65-SCI-CMRU

บทคัดย่อ

ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 คือ การแพร่กระจายผ่านทางละอองฝอยสู่อากาศ ดังนั้นการระบายอากาศจึงมีความสำคัญต่อลดการแพร่กระจายของเชื้อ COVID-19 งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อประเมินการระบายอากาศของห้องปฏิบัติการ และ 2) เพื่อเสนอแนวทางการปรับปรุงการใช้ห้องปฏิบัติการภายใต้แนวคิดความปกติใหม่ กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ศูนย์เวียงบัว งานวิจัยทำการศึกษาการระบายอากาศภายในห้องปฏิบัติการ จำนวน 42 ห้อง จาก 6 อาคาร โดยจำแนกรูปแบบการระบายอากาศของห้องออกเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่ การระบายอากาศด้วยวิธีธรรมชาติ การระบายอากาศด้วยเครื่องจักร และการระบายอากาศด้วยวิธีผสม เพื่อวิเคราะห์อัตราการหมุนเวียนอากาศที่เหมาะสมในห้องปฏิบัติการ เก็บข้อมูลผ่านเครื่องมือวัดค่าความเข้มข้น CO2 ชนิด nondispersive infrared (NDIR) โดยกำหนดค่าความเข้มข้น CO2 ที่แนะนำในสภาวะคงที่คือ ไม่เกิน 800 ppm ในการวิเคราะห์ เนื่องจากเป็นค่าที่ลดความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายของเชื้อ COVID-19 อย่างมีนัยสำคัญ (Aguilar et al., 2022) (Eykelbosh, 2021) และต้องมีค่าอัตราการหมุนเวียนของอากาศ (Air Change Rate) อย่างน้อย 3.5 ACH เพื่อสะท้อนเงื่อนไขที่ว่า เมื่อผู้ใช้งานสวมใส่หน้ากากอนามัยเข้าใช้งานภายในห้องดังกล่าวจะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ COVID-19 ไม่เกิน 0.5% (Dai & Zhao, 2020)

ผลการศึกษา พบว่า ห้องปฏิบัติการที่มีการระบายอากาศด้วยวิธีผสมทั้ง 2 ห้อง เป็นรูปแบบของห้องปฏิบัติการที่เหมาะสมภายใต้แนวคิดความปกติใหม่มากที่สุด กล่าวคือ มีอัตราการหมุนเวียนอากาศเหมาะสมและมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ COVID-19 ไม่เกิน 0.5% เพราะมีอัตราการหมุนเวียนอากาศภายในห้องมากกว่า 3.5 ACH และ มีความเข้มข้นของ CO2 ไม่เกิน 800ppm รองลงมาคือ ห้องปฏิบัติการที่มีการระบายอากาศด้วยเครื่องจักร พบว่า มีเพียง 2 ห้อง จาก 17 ห้อง ที่มีอัตราการหมุนเวียนอากาศเหมาะสม ในส่วนของห้องปฏิบัติการที่มีการระบายอากาศด้วยวิธีธรรมชาติจำนวน 23 ห้อง พบว่า ทั้ง 23 ห้อง มีอัตราการหมุนเวียนอากาศไม่เพียงพอภายใต้แนวคิดความปกติใหม่ห้องปฏิบัติการที่มีอัตราการหมุนเวียนอากาศไม่เพียงพอภายใต้แนวคิดความปกติใหม่ จำเป็นต้องเพิ่มอัตราการหมุนเวียนอากาศจากพัดลมระบายอากาศ ในปริมาณที่เหมาะสมตามแนวทางการปรับปรุงการใช้ห้องปฏิบัติการภายใต้แนวคิดความปกติใหม่ที่ผู้วิจัยนำเสนอ

Abstract

Indoor airborne transmission of COVID-19 is the crucial affecting to the COVID-19 pandemic. Therefore, indoor air ventilation is important to reduce the spread of COVID-19. The objectives of this research are 1) to evaluate ventilation in the laboratory and 2) to propose guidelines for improving the use of the laboratory under the new normal concept; case study of Chiang Mai Rajabhat University, Wiang Bua campus. The scope of research is to study the ventilation in 42 laboratories from 6 buildings, by classifying the type of ventilation into 3 types; Natural ventilation, Mechanical ventilation, and Mixed method ventilation to analyze the appropriate air change rate per hour (ACH) in the laboratory. Research data were collected by CO2 nondispersive infrared (NDIR) device in order to analyze CO2 concentration in laboratory. By CO2 concentration not exceeding 800 ppm, the value represent significantly reduces the risk of the spread of COVID-19 (Aguilar et al., 2022) (Eykelbosh, 2021). Moreover, air change rate per hour must be at least 3.5 ACH to indicate conditions that the risk of COVID-19 infection is not more than 0.5%, if all users wearing face masks while using the laboratory. (Dai & Zhao, 2020).

The results show that 2 laboratories with Mixed method ventilation present the most appropriate ventilation under the new normal concept. With the condition of a risk of infected COVID-19 under 0.5%, air change rate per hour must greater than 3.5 ACH and the CO2 concentration must not exceed 800 ppm. Furthermore, two out of seventeen Mechanical ventilation laboratories had appropriate ACH. In addition, there are 23 laboratories with Natural ventilation demonstrate insufficient ACH under the new normal concept. Laboratories with insufficient ACH, is necessary to increase the air change rate per hour by using exhaust fan, in an appropriate quantity according to the guidelines for improving ACH in laboratory under the new normal concept.

ไฟล์งานวิจัย

เล่มวิจัยฉบับสมบูรณ์ (มีลายน้ำ).pdf

5 18 ส.ค. 2565

กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 503000

http://www.cmru.ac.th

053-88-5555

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่