
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
Socrative: เครื่องมือประเมินความพร้อมก่อนการทำปฏิบัติการฟิสิกส์แบบเรียลไทม์
นางสาวกมลพรรณ เมืองมา
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
1632-65-SCI-CMRU
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ Socrative เป็นเครื่องมือในการประเมินความพร้อมของนักศึกษาก่อนการทำปฏิบัติการฟิสิกส์พื้นฐาน และศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการใช้ Socrative กลุ่มเป้าหมายคือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 จำนวน 80 คน ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาฟิสิกส์พื้นฐาน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 และ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 การวิเคราะห์ผลได้วิเคราะห์จากคำตอบของนักศึกษาที่ตอบแบบทดสอบซึ่งแบ่งกลุ่มเนื้อหาออกเป็น 5 ด้านคือ ด้านที่ 1 ความเข้าใจเกี่ยวกับจุดประสงค์ของการทำปฏิบัติการ ด้านที่ 2 ความเข้าใจเกี่ยวกับเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับปฏิบัติการ ด้านที่ 3 ความเข้าใจเกี่ยวกับการแยกแยะตัวแปรและการคำนวณด้านที่ 4 ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือในการทดลอง ด้านที่ 5 ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดกระทำกับข้อมูลและการวิเคราะห์ผลจากการทดลอง และคำตอบจากแบบสำรวจความพึงพอใจที่มีต่อการใช้ Socrative จากการวิจัยพบว่า (1) กลุ่มเป้าหมาย มีคะแนนเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ด้านที่ 5 ซึ่งเป็นเนื้อหาที่มีความยากมากที่สุด มีคะแนนเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านที่ 1 ซึ่งเป็นเนื้อหาส่วนที่ง่ายที่สุด (2) นักศึกษาให้ผลตอบรับในเชิงบวกที่ระดับคะแนนเฉลี่ย 4.58 และผลตอบรับในเชิงลบที่ระดับคะแนนเฉลี่ย 1.84 แปรผลได้ว่านักศึกษามีความพึงพอใจมากที่สุด ผลที่ได้แสดงให้เห็นว่า Socrative มีความเหมาะสมสำหรับใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินความพร้อมของนักศึกษาก่อนการทำปฏิบัติการฟิสิกส์พื้นฐานสำหรับวิทยาศาสตร์สุขภาพ
Abstract
The purposes of this research were to study the use of socrative as a tool for formative assessment of students’ readiness in fundamental physics laboratory and students’ satisfaction of using socrative. The target group consisted of 80 freshmen, enrolling in the Fundamental Physics laboratory in the second semester of the academic year 2021 and the first semester of the academic year 2022. The analytic data came from the student’s responses towards 5 aspects of questionnaires, which consisted of 1. Understand of the experiment purposes 2. Understand of the concepts that related to experiments 3. Understand of identifying the variables that must be measured and calculated 4. Understand of the tool’s specification and how to use it 5. Understand of determining and analyzing the data and the students’ responses of the satisfaction survey. From this study was found that (1) the target group has the lowest score in the fifth aspect which is the most difficult and the highest score in the first aspect which is the easiest. (2) Students’ responses to positive attitude with the average score 4.58 and 1.84 for negative attitude. That is suggested that the students were very satisfied. This study has highlighted that socrative serves as a suitable tool for formative assessment of students’ readiness in fundamental physics laboratory.
ไฟล์งานวิจัย
เล่มวิจัยฉบับสมบรูณ์_กมลพรรณ65.pdf
ข้อมูลการตีพิมพ์
ชื่อบทความ :
แหล่งที่ตีพิมพ์ :วารสารสหวิทยาการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ปีที่ 13 ฉบับที่ 1 (2023): มกราคม-มิถุนายน 2566
ปีที่ตีพิมพ์ :2567
4 18 ส.ค. 2565

กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 503000
053-88-5555