
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
การพัฒนารูปแบบความรอบรู้สุขภาพเกี่ยวกับพฤติกรรมการจัดการสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุในตำบลป่าตุ้ม อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่
อาจารย์ ดร.วิทญา ตันอารีย์
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
1633-65-SCI-CMRU
บทคัดย่อ
ความรอบรู้ด้านสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญต่อความสำเร็จของการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความรอบรู้สุขภาพ เพื่อพัฒนา ทดลองใช้และประเมินรูปแบบความรอบรู้สุขภาพเกี่ยวกับพฤติกรรมการจัดการสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ โดยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสถานการณ์และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความรอบรู้สุขภาพ ด้วยการสัมภาษณ์บุคลากรหน่วยงานในพื้นที่ และรวบรวมข้อมูลความรอบรู้สุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพและการจัดการตนเองของผู้สูงอายุด้วยแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง 245 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา การเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ และข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ระยะที่ 2 พัฒนาและทดลองใช้รูปแบบความรอบรู้สุขภาพเกี่ยวกับพฤติกรรมการจัดการสุขภาพตนเอง ด้วยการจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ 6 ด้าน ประกอบด้วย ด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสุขภาพและการป้องกันโรค การเข้าถึงข้อมูลสุขภาพ การสื่อสารข้อมูลสุขภาพ การตัดสินใจเกี่ยวกับสุขภาพ การจัดการตนเองเกี่ยวกับสุขภาพ และการรู้เท่าทันสื่อสุขภาพ กับกลุ่มตัวอย่าง 50 คน ระยะที่ 3 การประเมินรูปแบบ วิเคราะห์เปรียบเทียบความรอบรู้สุขภาพเกี่ยวกับพฤติกรรมการจัดการสุขภาพตนเอง ด้วยสถิติ วิเคราะห์ความแปรปรวนที่มีการวัดซ้ำ ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการสุขภาพผู้สูงอายุระดับพื้นที่ มีการกำหนดเป้าหมายและวางแผนการดำเนินงานโดยบูรณาการหลายหน่วยงานในการขับเคลื่อน ทั้งนี้ควรมีการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง เสริมปัจจัยทางเลือกสุขภาพ จัดเวทีแลกเปลี่ยนภูมิปัญญาการดูแลสุขภาพให้กับผู้สูงอายุ 2) กลุ่มตัวอย่างมีความรอบรู้สุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง โดยปัจจัยอายุ ความสามารถในการอ่านและการเขียนมีความสัมพันธ์กับความรอบรู้สุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และมีพฤติกรรมสุขภาพและการจัดการตนเองโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 3) กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการพัฒนาความรอบรู้สุขภาพเกี่ยวกับพฤติกรรมการจัดการตนเอง อยู่ในระดับปานกลาง 4) หลังการทดลองใช้รูปแบบ กลุ่มตัวอย่างมีความรอบรู้สุขภาพเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 5) หลังการทดลองใช้รูปแบบ กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมสุขภาพและการจัดการสุขภาพตนเองดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ทั้งนี้ผลการศึกษาสามารถนำไปใช้ในการยกระดับความรอบรู้สุขภาพของผู้สุงอายุได้
Abstract
Health literacy is important for the success of health promotion for the elderly. This research were conducted to study: situations and factors related to health literacy; to develop, test and evaluated a health literacy model on self-management behaviors of the elderly. The research were divided into 3 phases. First phases; Study situations and factors related to health literacy were collected by in-depth interview with local institution personnel; Health literacy, Health behaviors and Self-management data were collected by questionnaires from 245 subjects. Quantitative data were analyzed by descriptive statistics, t-test, correlation and qualitative data were analyzed by content analysis. Second phase; The model was implemented to develop Health Literacy Model about Self-Management Behaviors of Elders, to manage 6 interventions with 50 samples; knowledge and understanding of health and disease prevention, access to health information, health communication, health decisions, health self-management and health media literacy. Third phase; Health Literacy Model about Self-Management Behaviors of Elders was evaluated. Before-after and follow intervention, there were comparing elders’s health literacy about self- management behaviors by using Repeated measures ANOVA. The findings revealed that : 1) Health management for the elderly were targeted and plan operations by integrating many institution for management; Ongoing activities, Supplement the health alternative factor, Organized a forum to exchange health care wisdom for the elderly.; 2) The samples were overall health literacy moderate level, age and ability to read and write factors were correlated health literacy with statistically significant at .05, health behaviors and self-management were overall moderate levels.; 3) The samples were overall satisfied Health Literacy Model about Self-Management Behaviors moderate level.; 4) After implementing the model, The samples had high health literacy with statistically significant at .05.; 5) After implementing the model, The samples had better health behavior and health self- management with statistically significant at .05. The results of the study can be used to develop a health literate for elderly.
ไฟล์งานวิจัย
5 18 ส.ค. 2565

กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 503000
053-88-5555