
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง หน่วยเสียงในภาษาไทยและความรู้พื้นฐานเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน สำหรับนักศึกษาต่างชาติ
คณินวรธันญ์ ไชยรบ
วิทยาลัยนานาชาติ
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
1636-65-IC-CMRU
บทคัดย่อ
การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง หน่วยเสียงในภาษาไทยและความรู้พื้นฐานเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน สำหรับนักศึกษาต่างชาติ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ
1) เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผล และ
3) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้เรียน โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาจีนในวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จำนวน 30 คน
ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาขึ้นบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนี้มีกระบวนการ 4 ขั้นตอน คือ (1) วิเคราะห์ (2) ออกแบบ (3) พัฒนา และ (4) ประเมินผล ในส่วนของเนื้อหานั้นประกอบด้วยหน่วยการเรียนจำนวน 4 หน่วย ได้แก่ หน่วยที่ 1 เรื่องหน่วยเสียงวรรณยุกต์ หน่วยที่ 2 เรื่องหน่วยเสียงสระ หน่วยที่ 3 เรื่องหน่วยเสียงพยัญชนะ และหน่วยที่ 4 เรื่องการใช้คำเพื่อการสื่อสาร
ในชีวิตประจำวัน
สำหรับประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน E1/E2 มีค่าเท่ากับ 84.92/89.50และประสิทธิผล Epost - Epre เท่ากับ 70.50 ด้านความพึงพอใจของผู้เรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.80 เป็นความพึงพอใจในระดับมากที่สุด ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
Abstract
The Development of computer Assisted instruction on Thai Phonemes and Fundamentals of Daily Communication for International Students aims 1) to develop computer assisted instruction (CAI) 2) to evaluate efficiency and effectiveness of CAI and 3) to evaluate the learners’ satisfaction towards the CAI. The sample group was 30 Chinese students in an international college, Chiang Mai Rajabhat University.
The research results was shown that “this CAI” is a 4-steps process:
(1) analysis, (2) design, (3) development, and (4) evaluation. As for the content,
it consists of 4 chapters: Unit 1 Thai Tones, Unit 2 Thai Tones, Unit 3 Thai consonants, and Unit 4 The using words for communication in daily life.
For the efficiency of CAI, E1/E2 is 84.92/89.50, and effectiveness Epost - Epre is 70.50 Student satisfaction had an average of 4.80. It is a high level of satisfaction which is in accordance with the assumptions set.
ไฟล์งานวิจัย
5 19 ส.ค. 2565

กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 503000
053-88-5555