ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

การพัฒนาสมรรถนะของบรรณารักษ์แห่งยุคศตวรรษที่ ๒๑ ในมหาวิทยาลัยราชภัฏ


นางธญา ตันติวราภา

สำนักหอสมุด

เลขทะเบียน :

1644-65-LIB-CMRU

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การพัฒนาสมรรถนะของบรรณารักษ์แห่งยุคศตวรรษที่ 21 ในมหาวิทยาลัยราชภัฏ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นบรรณารักษ์ต่อการพัฒนาสมรรถนะของบรรณารักษ์ และเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะของบรรณารักษ์มหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ

             กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ บรรณารักษ์ห้องสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ จำนวน  38 แห่ง จำนวน 140 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถามปลายปิดและปลายเปิด วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

             ผลการวิจัยพบว่า บรรณารักษ์ห้องสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏส่วนใหญ่สังกัดมหาวิทยาลัย
ราชภัฏ กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สังกัดงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ มีวุฒิการศึกษาสูงสุดสาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ ปริญญาตรี มีตำแหน่งทางวิชาชีพระดับ ปฏิบัติการ และมีประสบการณ์ในการทำงานช่วง 11-15 ปี

             ความคิดเห็นของบรรณารักษ์ต่อการพัฒนาสมรรถนะของบรรณารักษ์ยุคศตวรรษที่ 21 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ พบว่า โดยรวมสมรรถนะทุกด้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก สมรรถนะด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ คือ บรรณารักษ์มีการรักษา และแสวงหามิตรภาพระหว่างผู้ร่วมงาน และผู้ร่วมวิชาชีพ สมรรถนะด้านทักษะ พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ด้านทักษะการทำงานเป็นทีม คือ บรรณารักษ์ให้ความร่วมมือในการทำงานร่วมกันเป็นทีมเพื่อให้งานบรรลุเป้าหมายเดียวกัน และสมรรถนะด้านความรู้ พบว่า บรรณารักษ์ที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ด้านความรู้ทรัพยากรสารสนเทศ คือ บรรณารักษ์มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทรัพยากรสารสนเทศ ประเภท และแหล่งทรัพยากรสารสนเทศ

             แนวทางการพัฒนาสมรรถนะของบรรณารักษ์ยุคศตวรรษที่ 21 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ แยกตามกลุ่มงาน โดยรวมมีแนวทางการพัฒนาสมรรถนะทุกด้าน อยู่ในระดับ มาก ซึ่งพบว่า บรรณารักษ์งานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ ให้ความสำคัญต่อแนวทางการพัฒนาสมรรถนะของบรรณารักษ์มหาวิทยาลัยราชภัฏ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด สมรรถนะด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ คือ การยกย่องและนับถือผู้ร่วมอาชีพทุกระดับที่มีความรู้ ความสามารถ และประพฤติดี สมรรถนะด้านทักษะ พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านทักษะการทำงานเป็นทีม คือ สามารถปรับตัวให้ปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่นได้ และสมรรถนะด้านความรู้ พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านความรู้ทรัพยากรสารสนเทศ คือ มีความรู้ความเข้าใจการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ และการบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศ และมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทรัพยากรสารสนเทศ ประเภท และแหล่งทรัพยากรสารสนเทศ

Abstract

This research aims to study the opinions of librarians on the development of librarian competencies in the 21st century at Rajabhat universities in Thailand. The research sample consists of 140 librarians from 38 Rajabhat university libraries across the country. Closed-ended and open-ended questionnaires were used as research tools. The data analysis included the calculation of percentages, means, and standard deviations.

             The findings of the research indicate that the majority of librarians worked in Rajabhat university libraries located in the northeastern region of Thailand. They possess a bachelor's degree in Library and Information Science and hold professional positions at the operational level. On average, they have 11-15 years of work experience. Regarding the perspective of librarians on the development of librarian competencies in the 21st century, the research reveals that overall competencies in all areas are at a high level. Personal attributes demonstrate the highest average score, followed by professional ethics, skills, teamwork, and knowledge competencies. For professional ethics, librarians prioritize maintaining and seeking friendships among colleagues and professionals. Skill competency is highly developed, and librarians collaborate effectively as a team to achieve goals. Knowledge competencies are also at a high level, with librarians displaying knowledge related to information resources, types, and sources. Based on the findings, this research proposes development strategies for academic librarian competencies in the 21st century, categorized by tasks. Overall, the development strategies for all competencies are highly rated by the librarians. They demonstrate a high level of awareness regarding competency development. Personal attributes, professional ethics, skills, and teamwork all receive high average scores. The knowledge competencies attribute garners the highest score, with librarians revealing extensive knowledge in information resource development and management, as well as knowledge of information resources, types, and sources.

ไฟล์งานวิจัย

1 Cover.pdf

2 Abstract.pdf

3 Content.pdf

4 Chapter 1.pdf

5 Chapter 2.pdf

6 Chapter 3.pdf

7 Chapter 4.pdf

8 Chapter 5.pdf

9 Reference.pdf

10 Appendix.pdf

11 Curriculum vitae.pdf

ข้อมูลการตีพิมพ์

ชื่อบทความ :

แหล่งที่ตีพิมพ์ :วารสารวิทยสารสนเทศและเทคโนโลยี ปีที่ 5 ฉบับที่ี่ 1 เดือนมกราคม - มิถุนายน 2567

ปีที่ตีพิมพ์ :2567

6 19 ส.ค. 2565

กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 503000

http://www.cmru.ac.th

053-88-5555

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่