ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

การพัฒนาแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลแบบมีส่วนร่วมสำหรับเด็กพิเศษ ในภาวะการระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ๒๐๑๙ : ศูนย์พัฒนามนุษย์และบุคคลที่มีความพิการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่


อาจารย์อทิตยา ใจเตี้ย

คณะครุศาสตร์

เลขทะเบียน :

1645-65-EDU-CMRU

บทคัดย่อ

        การศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี  มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินประสิทธิผลแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลสำหรับเด็กพิเศษในภาวะการระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 โดยการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้อง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ จำนวน 8 คน เครื่องมือการวิจัยเป็นแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลสำหรับเด็กพิเศษ และแบบประเมินพัฒนาเด็กที่มีความต้องการพิเศษ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบ Wilcoxon Signed Rank Test ผลการวิจัย พบว่า ค่าคะแนนพัฒนาการทั้ง 6 ด้านเฉลี่ยหลังทดลองใช้แผนเพิ่มขึ้นก่อนทดลองใช้แผนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 (p – value = 0.012) จึงอาจสรุปได้ว่าแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลสำหรับเด็กพิเศษที่พัฒนาขึ้นอาจจะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการของเด็กพิเศษในภาวะการระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ได้

Abstract

The mixed method design was to develop individualized education program (IEP) during novel coronavirus 2019 outbreak of children with special needs. The sampling group of study were 8 students. The tools consist the individualized education program and child development assessment with special needs .The descriptive and wilcoxon signed rank test were used for analysis. The result showed that the comparison of child development the post achievement score was higher than the pre score (p - value = 0.12). It is possible, to conclude IEP activity could increase child development of children with special needs.

ไฟล์งานวิจัย

เอกสารอ้างอิง.pdf

บทที่-1.pdf

บทที่-2.pdf

บทที่-3.pdf

บทที่-4.pdf

บทที่-5.pdf

ปก.pdf

ภาคผนวก.pdf

ส่วนหน้า.pdf

5 19 ส.ค. 2565

กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 503000

http://www.cmru.ac.th

053-88-5555

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่