ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

การพัฒนาหลักสูตรส่งเสริมความรอบรู้ทางการเงินสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู


อาจารย์พิมพาพัญ ทองกิ่ง

คณะครุศาสตร์

เลขทะเบียน :

1746-66-EDU-CMRU

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาหลักสูตรส่งเสริมความรอบรู้ทางการเงินสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู 2) เพื่อพัฒนาหลักสูตรส่งเสริมความรอบรู้ทางการเงินสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู และ 3) เพื่อศึกษาผลการใช้หลักสูตรส่งเสริมความรอบรู้ทางการเงินสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) นักศึกษาวิชาชีพครูสาขาการประถมศึกษา               คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ชั้นปีที่ 1-4 จำนวน 180 คน 2) ผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านหลักสูตรและการสอน ด้านการเงิน และด้านวิชาชีพครู จำนวน 6 คน และ 3) นักศึกษาวิชาชีพครูสาขาการประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ชั้นปีที่ 3 จำนวน 30 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามความต้องการจำเป็นในการพัฒนาหลักสูตรส่งเสริมความรอบรู้ทางการเงินสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู 2) แบบประเมินหลักสูตรส่งเสริมความรอบรู้ทางการเงินสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู และ 3) แบบประเมินความรอบรู้ทางการเงินของนักศึกษาวิชาชีพครู สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง (Modified Priority Needs Index; PNIModified) และค่า t-test แบบ paired samples test 
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพความรอบรู้ทางการเงินของนักศึกษาวิชาชีพครูในปัจจุบัน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (X ̅ = 2.75, S.D. = 0.73) ความคาดหวังในการพัฒนาความรอบรู้ทางการเงินของนักศึกษาวิชาชีพครู โดยรวมอยู่ในระดับมาก (X ̅ = 4.47, S.D. = 0.58) และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาความรอบรู้ทางการเงินของนักศึกษาวิชาชีพครู โดยรวมดัชนีค่าความต้องการจำเป็นเท่ากับ 0.38 2) ผลการประเมินหลักสูตรส่งเสริมความรอบรู้ทางการเงินสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครูด้านหลักสูตร โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (X ̅ = 4.56, S.D. = 0.53) และผลการประเมินหลักสูตรส่งเสริมความรอบรู้ทางการเงินสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครูด้านหน่วยการเรียนรู้ โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (X ̅ = 4.56, S.D. = 0.48) และ 3) หลังจากการเรียนรู้โดยใช้หลักสูตรส่งเสริมความรอบรู้ทางการเงินสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู พบว่า ผลการประเมินความรอบรู้ทางการเงินด้านความรู้ทางการเงิน ด้านทัศนคติทางการเงิน และด้านพฤติกรรมทางการเงิน โดยรวมนักศึกษามีผลคะแนนเฉลี่ย                     หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  
 

Abstract

The objectives of this research are 1) to study the needs and necessity of developing a curriculum to promote financial literacy for Pre-Service teacher. 2) To develop a curriculum to promote financial literacy for Pre-Service teachers. and 3) to study the results of using a curriculum to promote financial literacy for Pre-Service teachers. The sample groups used in the research are: 1) Pre-Service teachers in the field of primary education, Faculty of Education, Chiang Mai Rajabhat University, years 1-4, totaling 180 people. 2) 6 experts in curriculum and instruction, finance, and teaching profession. and 3) 30 third-year Pre-Service teachers in the field of primary education, Faculty of Education, Chiang Mai Rajabhat University, were drawn by purposive sampling. The tools used in the research were: 1) a questionnaire on needs needed in developing a curriculum to promote financial literacy for Pre-Service teachers, 2) an evaluation form for the curriculum promoting financial literacy for Pre-Service teachers and 3) an evaluation form for financial literacy for Pre-Service teachers. Statistics used in data analysis include mean, standard deviation. Modified Priority Needs Index (PNIModified) and paired samples t-test. 

The results of the research found that 1) The state of financial literacy of current teaching professional students. Overall, it was at a moderate level (X ̅ = 2.75, S.D. = 0.73).  Expectations for developing financial literacy among teaching students. Overall, it is at a high level (X ̅ = 4.47, S.D. = 0.58) and there is a need for developing financial literacy among teaching students Overall, the essential needs index was equal to 0.38. 2) Results of the evaluation of the curriculum to promote financial literacy for teaching professional students, curriculum aspect. Overall, it was appropriate at the highest level (X ̅ = 4.56, S.D. = 0.53) and the results of the evaluation of the curriculum to promote financial literacy for teaching professional students, learning unit. Overall, it was appropriate at the highest level (X ̅ = 4.56, S.D. = 0.48). and 3) after learning using the curriculum to promote financial literacy for teaching students, it was found that results of the financial literacy assessment in financial knowledge financial attitude and financial behavior Overall, students had average scores. After studying higher than before studying Statistically significant at the .05 level. 
 

ไฟล์งานวิจัย

รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (ลายน้ำ).pdf

7 01 พ.ค. 2566

กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 503000

http://www.cmru.ac.th

053-88-5555

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่