
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
การพัฒนาแบบประเมินความสามารถในการเข้าใจความรู้สึกผู้อื่นสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
อาจารย์จุฑารัตน์ เปลวทอง
คณะครุศาสตร์
เลขทะเบียน :
1748-66-EDU-CMRU
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบประเมินความสามารถในการเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่นสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จำนวน 380 คน ซึ่งได้จากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบโควตา (Quota sampling) โดยแบ่งสัดส่วนนักศึกษาจากทุกคณะ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบประเมินความสามารถในการเข้าใจความรู้สึกผู้อื่น วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนรายข้อ (Corrected Item Correlation) และการหาค่าความเชื่อมั่นของแบบประเมินด้วยวิธีการหาสัมประสิทธิ์อัลฟ่าครอนบาค (Cronbach’s coefficient alpha)
ผลการวิจัยพบว่า 1) แบบประเมินความสามารถในการเข้าใจความรู้สึกผู้อื่นสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มีข้อคำถาม จำนวน 25 ข้อ จำแนกเป็น 5 องค์ประกอบ คือ ด้านการตอบสนองความรู้สึก ด้านการตระหนักรู้ในตนเองและผู้อื่น ด้านการควบคุมอารมณ์ ด้านการเปิดรับมุมมองผู้อื่น และ ด้านการมีทัศนคติในการเข้าใจความรู้สึกผู้อื่น โดยแบบประเมิน แบ่งเป็นมาตรวัด 6 ระดับ 2) มีค่าดัชนีความสอดคล้องของความตรงเชิงเนื้อหาโดยการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านจิตวิทยาจำนวน 4 ท่าน ได้ผลว่าทุกข้อมีค่าเท่ากับ 0.50 – 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับอยู่ในระดับสูงคือ .907
Abstract
This study is the developmental research. The purposes of this research were to development of the Empathy Assessment for Student of Chiangmai Rajabhat University. The sample were 380 students in quota sampling by dividing the proportion of students from each faculty. The data was analyzed by finding the content validity, the corrected item correlation between individual item scores, and the reliability of the assessment form using Cronbach's coefficient alpha.
The results of the study were as follows: 1) the Empathy Assessment for Student of Chiangmai Rajabhat University has 25 items classified into 5 components: affective response, self-other awareness, emotion regulation, perspective taking and empathic attitudes. The assessment form uses a 6-point rating scale. 2) The content validity was validated by 3 psychology experts’ opinion; with the Index of Item Objective Congruence (IOC) index of all items was between 0.50 - 1.00. The overall reliability of the assessment form was high, with a Cronbach's alpha coefficient of 0.907
ไฟล์งานวิจัย
11_ภาคผนวก ก รายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ.pdf
12_ภาคผนวก ข แบบประเมินความสามารถในการเข้าใจความรู้สึกผู้อื่น.pdf
6 01 พ.ค. 2566

กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 503000
053-88-5555