
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
การพัฒนาระบบสารสนเทศศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
นายปรัชญารัก เวียงสงค์
คณะครุศาสตร์
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
1750-66-EDU-CMRU
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการระบบสารสนเทศศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
2) เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 3) เพื่อประเมินประสิทธิภาพและความพึงพอใจของระบบสารสนเทศศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ดำเนินการวิจัยและพัฒนาระบบตามวงจรการพัฒนาระบบ (System Development life Cycle: SDLC) ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการวิเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการระบบสารสนเทศ ศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ระบบการทำงานมีการมุ่งเน้นด้านเอกสาร การจัดเก็บและ การปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันยังไม่เป็นระบบ การจัดส่งข้อมูลมีความล่าช้า ทำให้การจัดการ ด้านข้อมูลที่เกี่ยวข้องล่าช้าและมีการใช้ทรัพยากรสิ้นเปลือง ดังนั้น จึงมีความต้องการระบบงาน ที่สนับสนุนด้านการจัดการข้อมูลและการนำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบ สามารถปรับปรุงและนำเสนอข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2) ผลการประเมินประสิทธิภาพการทำงานของระบบระบบสารสนเทศศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 24 คน ด้วยการประเมิน 5 ด้านได้แก่ ด้านการทดสอบความต้องการการทำงาน มีความเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (¯("x" )) = 88.89 ด้านการทดสอบการทำงานมีความเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (¯("x" )) = 95.83 ด้านการทดสอบการใช้งานมีความเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (¯("x" )) = 86.81 ด้านการทดสอบประสิทธิภาพ
มีความเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (¯("x" )) = 93.05 และด้านการทดสอบความปลอดภัย มีความเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (¯("x" )) = 90.27 3) ผลการประเมินความพึงพอใจต่อการ ใช้งานระบบระบบสารสนเทศศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู จากผู้ใช้งานจำนวน 625 คน ด้วยการประเมิน 3 ด้านได้แก่ด้านรูปแบบมีความเห็นอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย (¯("x" )) = 4.37 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ("S.D." ) = 0.67 ด้านข้อมูลมีความเห็นอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย (¯("x" )) = 4.26 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ("S.D." ) = 0.69 และด้านการใช้งานมีความเห็นอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย (¯("x" )) = 4.31 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ("S.D." ) = 0.71
Abstract
The study's goal was 1) to analyze the problems and information system requirements of the Professional Experience Training Center for Teachers at the Faculty of Education, Chiang Mai Rajabhat University. 2) To develop the information system for the Professional Experience Training Center for Teachers at the Faculty of Education, Chiang Mai Rajabhat University. 3) Evaluate the effectiveness and satisfaction of the information system at the Professional Experience Training Center for Teachers at the Faculty of Education, Chiang Mai Rajabhat University. The research follows the System Development Life Cycle (SDLC).
According to the study, 1) Analysis revealed that the existing system focused on document management, data storage, and updates were not systematic. Data delivery was delayed, causing inefficiencies in data management and resource wastage. Hence, there was a need for a comprehensive system supporting data management and efficient data presentation. 2) The evaluation of the system's performance by
24 experts indicated high satisfaction levels in testing requirements, with an average score of 88.89. Testing operations received the highest rating with an average score of 95.83. Usability testing, performance testing, and security testing also received high satisfaction scores of 86.81, 93.05, and 90.27, respectively. 3) User satisfaction with the information system, based on evaluations from 625 users, indicated high satisfaction levels in terms of system design (average score = 4.37, standard deviation = 0.67), data management (average score = 4.26, standard deviation = 0.69), and usability (average score = 4.31, standard deviation = 0.71).
ไฟล์งานวิจัย
เล่มสมบูรณ์ ปรัชญารัก ลายน้ำ.pdf
ข้อมูลการตีพิมพ์
ชื่อบทความ :
แหล่งที่ตีพิมพ์ :การประชุมวิชาการรัดับชาติ มสธ. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 14 The 14th STOU National Research Conference (O-SS 032)
ปีที่ตีพิมพ์ :2567
14 04 เม.ย. 2566

กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 503000
053-88-5555