ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

การพัฒนาความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษและทักษะทางสังคมของนักศึกษาในรายวิชาการเขียนเรียงความด้วยการเขียนแบบร่วมมือโดยใช้โปรแกรม Google Docs


อาจารย์ ดร.วรศิริ บุญซื่อ

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

เลขทะเบียน :

1755-66-HUSO-CMRU

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการเขียนภาษาอังกฤษและทักษะทางสังคมของนักศึกษาก่อนและหลังการเขียนแบบร่วมมือและร่วมกันผลิตงานเขียนแบบเผชิญหน้าและผลิตงานเขียนโดยใช้โปรแกรม Google Docs กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จำนวน 34 คน ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาการเขียนระดับย่อหน้า (ENG 2211) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 เครื่องมือวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการเขียนภาษาอังกฤษ และ แบบสอบถามเกี่ยวกับทักษะทางสังคม วิเคราะห์ข้อมูลจากความสามารถด้านการเขียนโดยหาค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่า t-test วิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามเกี่ยวกับทักษะทางสังคมโดยหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถด้านการเขียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาที่เขียนแบบร่วมมือและผลิตงานเขียนโดยใช้โปรแกรม Google Docs สูงกว่ากลุ่มที่ผลิตงานเขียนแบบเผชิญหน้า โดยมีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 2) ทักษะทางสังคมของนักศึกษาที่เขียนแบบร่วมมือและผลิตงานเขียนโดยใช้โปรแกรม Google Docs สูงกว่ากลุ่มที่กันผลิตงานเขียนแบบเผชิญหน้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.005)

Abstract

This study aimed at comparing English writing abilities and social skills of undergraduate students learning English writing through collaborative writing in a face-to-face setting and in a Google Docs setting. A sample of 34 Chiang Mai Rajabhat University undergraduate students enrolling in the Paragraph Writing course (ENG 2211) in semester 1 academic year 2023 were randomly selected. The research instruments were lesson plans, a writing test, and a social skills questionnaire. Data collected from the writing test was analyzed by percentage, mean, standard deviation, and t-test. Data collected from questionnaires were analyzed by mean and standard deviation.

The results showed that 1) the writing abilities of students taught through collaborative writing who worked in the Google Docs setting were higher than those working in the face-to-face setting with no significant difference; 2) the social skills of students taught through collaborative writing working in the Google Docs setting were higher than those worked in the face-to-face setting at 0.005 level of significant.

ไฟล์งานวิจัย

ggd complett submitted_watermark.pdf

4 01 พ.ค. 2566

กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 503000

http://www.cmru.ac.th

053-88-5555

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่